ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

รศ. ดร.วิโรฒ ศรีสุโร (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย)

รศ. ดร.วิโรฒ ศรีสุโร

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรฒ ศรีสุโร เกิดที่อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อปี 2551 ที่จังหวัดขอนแก่น ท่านสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนครกรุงเทพมหานคร ระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย เริ่มต้นทำงานที่วิทยาลัยเทคโนโลยีนครราชสีมาเป็นผู้ก่อตั้งสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังเกษียรได้ไปรับตำแหน่งคณบดีคณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตท่านมีผลงานการออกแบบทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นประยุกต์จำนวนมาก ผลการออกแบบทางสถาปัตยกรรมของท่านได้รับการยกย่องและได้รับรางวัลจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์และมูลนิธิเสถียรโกเศศ-นาคะประทีป ในการออกแบบแนวบุกเบิกอาคารศาสนาดีเด่น ที่วัดศาลาลอย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ พ.ศ.2516 นอกจากนั้นยังได้ออกแบบและตกแต่งทางอาคารศาสนาอีกหลายแห่ง เช่น พระธาตุศรีมงคลจังหวัดสัดสกลนคร เจดีย์พิพิธภัณฑ์อาจารย์ฟั่น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร มหาเจดีย์นกเมทนีดล จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น และสถาปัตยกรรมของหน่วยงานราชการต่างๆ เช่นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จังหวัดเลย อาคารหอศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น อาคารสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรมอีสานประยุกต์อย่างก้าวหน้าต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรฒ ศรีสุโร เป็นศิลปินและนักวิจัย ผู้เดินทางศึกษาศิลปหัตถกรรมและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ทั่วภูมิภาคอีสาน จนสามารถนำความรู้มาสร้างสรรค์5ผลงานสถาปัตยกรรมจนเป็นที่เลื่องลือนามไปในระดับสกล ด้านวิชาการท่านมีผลงานวิจัยหลายเรื่อง อาทิ เรื่องสิมอีสาน ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานวิจัยดีเยี่ยมแห่งชาติ จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ วิจัยเรื่อง ธาตุอีสาน สถาปัตยกรรมกลุ่มชนสายวัฒนธรรมไต-ลาว เป็นต้น และยังมีผลงานทางด้านการถ่ายภาพ คือ บันทึกอีสานผ่านเลนส์ ผลงานการเขียนกลอนและลายเส้นในเบิ่งฮูป แต้มคำ 1และ2 ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลงาน ที่ได้รับการยอมรับจากสถาปนิก นักวิจัย นักระวัติศาสตร์ ศิลปิน และประชาชนทั่วไป นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนอีกด้วยผลจากการทุ่มเททำงานโดยมาตลอด ทำให้ได้รับการยกย่องเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมสขางานช่างฝีมือ ในปี พุทธศักราช 2529 และได้รับดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับพระราชทานประกาศเกรียติคุณสถาปนิกดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปีพุทธศักราช 2437