ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน สืบสาน วัฒนธรรมสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ดำเนินการจัดงานเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๖๓ ภายใต้ชื่องาน “เชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและวัฒนธรรมสัมพันธ์ ปี ๒๕๖๓” ซึ่งจัดขึ้นในวันจันทร์ ที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ณ ห้องประชุมสิริคุณากร ๓ ชั้น ๒ ตึกสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้เลื่อนมาจากปีที่แล้ว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ภายในงานได้รับเกียรติจากนายศรัทธา คชพลายุกต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และรศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นตัวแทนมอบโล่เชิดชูเกียรติ โดยมีรายชื่อผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติแบ่งเป็นการเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน จำนวน ๙ รายชื่อ และผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ จำนวน ๑๐ รายชื่อ และ ๒ กลุ่ม ดังนี้

ศิลปินมรดกอีสาน
อมรศิลปินมรดกอีสาน
๑. บุญถม นามวันทา (หมอลำเรื่องต่อกลอน)
ทัศนศิลป์
๑. สุรพล ปัญญาวชิระ (สาขา สื่อผสม)
๒. กัญญา เจริญศุภกุล (สาขา ภาพพิมพ์)
๓. สมาน คลังจัตุรัส (สาขา จิตรกรรม)
๔. สุวัฒน์ สุทธิประภา (สาขา ประติมากรรมพื้นบ้าน)
วรรณศิลป์
๑. วิชชา ลุนาชัย (สาขา วรรณศิลป์)
ศิลปะการแสดง
๑. กานดา ส่องศรี “หมอลำบุญยัง สุภาพ” (สาขา หมอลำกลอน)
๒. บุญถือ หาญสุริย์ (สาขา หมอลำเรื่องต่อกลอน)
๓. พัชรี พาพินิช (สาขา หมอลำกลอนประยุกต์)

ผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์
สาขาหัตถกรรม
๑. สมใจ ปัจตะชารี
สาขานิเวศน์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
๑. สีหา มงคลแก้ว
๒. พระนิเทศศาสนคุณ (หลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ)
สาขาวิสาหกิจชุมชน
๑. กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านห้วยเสือเต้น
๒. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านห้วยบง
สาขาศิลปกรรม
๑. เลิศนภา สิงห์วงศ์
๒. รัศมี อาลัยรัก
๓. สุวิทย์ สารเงิน
สาขาศาสนาและประเพณี
๑. พระภัทรธรรมสุธี (พระครูกิตติสารสุมณฑ์)
สื่อสารวัฒนธรรม
๑. พระครูธรรมาภิสมัย
๒. จักรพงศ์ เพ็ชรแสน
๓. ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ

การจัดงานเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ นอกจากเป็นขวัญกำลังใจอย่างดีให้กับศิลปินผู้สร้างผลงานแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอีสานให้คงอยู่ และสร้างความเข้มแข็งให้สังคมในเชิงวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชนรุ่นหลังได้ศึกษาสืบไป

]]>