ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ในพื้นที่ภาคอีสานของไทยพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นก่อตัวเป็นวัฒนธรรมไท-ลาวที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นครอบครองพื้นที่ในอีสาน สะท้อนออกมาตามองค์ประกอบสำคัญของพระพุทธศาสนาคือพระรัตนตรัย ได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ กล่าวคือ ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานเป็นตัวแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์และสะท้อนถึงพระรัตนตรัย เช่น พระไม้อีสาน และพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในยุคต่างๆ มีการนำเรื่องราวในพุทธประวัติและนิทานชาดกมาเป็นตำนานท้องถิ่น เพื่ออธิบายสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม เช่น ตำนานอุรังธาตุหรืออุรังคนิทาน วรรณคดีเรื่องสินไซเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องมือทางศิลปะและวัฒนธรรมอันนำไปสู่การเรียนรู้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ในส่วนของพระสงฆ์ก็เป็นที่ประจักษ์ว่าดินแดนอีสานของไทยนั้นมีพระสงฆ์ที่ถึงพร้อมด้วยปริยัติและปฏิบัติผู้วางรากฐานของพระพุทธศาสนาให้กับสังคมและวัฒนธรรมอีสาน มีพระสงฆ์ที่เป็นผู้ปฏิบัติดีและปฏิบัติชอบ เป็นที่พึงในทางปฏิบัติและเป็นที่พึ่งพาของสังคมและชุมชนในการอนุรักษ์สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้

พระพุทธรูปในอีสานตอนบน

bcdeae_20cba5a98b014528b700aac44022cfbf_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระแสง” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระแสง วัดศรีเทพประดิษฐารามถนนศรีเทพ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านช้างมีขนาดหน้าตักกว้าง ๔๙ นิ้ว

 

ประวัติการสร้าง
หลวงพ่อพระแสง ประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถวัดศรีเทพประดิษฐาราม สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๒ ตำนานเล่าว่าสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ล้านช้าง พร้อมกับพระสุกและหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคายพระแสง เป็นพระประธานที่โบสถ์วัดศรีเทพประดิษฐาราม ประวัติจากการบอกเล่าของพระราชสุทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดศรีเทพฯ ว่าสร้างโดยพระราชธิดาแห่งอาณาจักรลานช้าง มีทั้งหมด ๔ องค์ คือ พระเสริม พระสุก พระใส พระแสง ในสมัยที่เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์หนีข้าศึกล่องลงไปทางใต้โดยนำพระสุก และพระแสงลงไปด้วยปรากฏว่าเรือที่พระสุกประดิษฐานอยู่ได้จมลงที่เวินพระสุก ในเขตอำเภอโพนพิสัย เจ้าอนุวงศ์จึงได้นำแต่พระแสงมาจนถึงเมืองนครพนม ภายหลังได้นำไปซ่อนไว้ในถํ้าในเมืองมหาชัยก่องแก้ว แขวงคำม่วน ต่อมาทางกรุงเทพมหานครสืบทราบ จึงให้เจ้าเมืองนครพนมนำส่งกรุงเทพมหานคร แต่เกวียนที่นำไปไม่สามารถนำไปได้ จึงประดิษฐานไว้ที่วัดป่า ต่อมาจึงย้ายมาที่วัดศรีเทพประดิษฐารามจวบจนปัจจุบันนี้

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง
พระแสงมีความศักดิ์สิทธิ์มาก เมื่อเกิดเหตุเภทภัยฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลชาวบ้านจะทำพิธีบนบานต่อหลวงพ่อพระแสงโดยมีการจัดไหลเรื่อไฟถวายเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ทางวัดศรีเทพประดิษฐารามเปิดให้พุทธศาสนิกชนเข้านมัสการพระแสงได้เฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์และวันพระเท่านั้น

[/ultimate_modal]
bcdeae_ac084e6532ea46b9ab75be99eefa4f9f_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระเจ้าองค์หลวง” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

หลวงพ่อพระองค์แสน วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนครเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะเชียงแสน มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูง ๓.๒ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

หลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน ขัดสมาธิราบ ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูงจากฐานถึงพระเมาลี ๓.๒๐ เมตรประทับนั่งบนแท่นสูง ๑.๓๕ เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก หันพระปฤศฎางค์เข้าหาองค์ หลวงพ่อพระองค์แสนเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนครคู่มากับพระธาตุเชิงชุม ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในพระวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มากอีกองค์หนึ่งของประเทศจากตำนาน หลวงพ่อพระองค์แสนสร้างขึ้นราวพุทธศักราช ๑๘๐๐ เพื่อแทนหลวงพ่อสุวรรณแสนองค์จริงที่เป็นทองคำทั้งองค์ (สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๓) คือในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เกิดศึกสงครามหลายครั้ง จึงย้ายเมืองไปอยู่ที่นครธม
ก่อนย้ายได้นำพระสุวรรณแสนทองคำไปซ่อนไว้ในนํ้า ไม่สามารถนำไปได้ด้วยเหตุว่ากลัวข้าศึกจะมาแย่งชิงในระหว่างทาง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้สร้างหลวงพ่อ พระองค์แสน (องค์ปัจจุบัน) แทนไว้ให้ ทำด้วยหินเหล็กเส้นชนิดสี่เหลี่ยมเป็นโครง (ผูกลวด) แล้วฉาบด้วยทรายผสมปูนขาวแช่นํ้าเปลือกไม้ (ยางบง) นํ้าแช่หนัง มะขาม นํ้าอ้อย และเถาฝักกรูด ลงรักปิดทอง มีพุทธลักษณะเท่าเดิมภายในก็บรรจุเครื่องราง ของขลังสมัยก่อนไว้มาก ให้นามว่า “หลวงพ่อพระองค์แสน” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ต่อมามีการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง

ในอดีต เมื่อมีการเฉลิมฉลองสมโพธิ์ราชธานีครบ ๒๐๐ ปีตามประกาศรัฐบาล จะมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ขยายโบสถ์โดยตรงทุบองค์หลวงพ่อออก แล้วสร้างองค์ใหม่ไว้ข้างหลังแทน เมื่อการบูรณะเริ่มขึ้นช่างชาวญวน พยายามทุบองค์พระ และลอกทองที่หุ้มออกแต่พอทุบไปครั้งใด ก็ได้ยินแต่เสียงหัวเราะดังกังวานออกมา จนภายหลังถึงกับต้องล้มป่วยไป ด้วยเหตุนี้จึงต้องล้มเลิกการบูรณะเอาหลวงพ่อออก จากเหตุดังกล่าวเมื่อท่านมาสักการะหลวงพ่อพระองค์แสน จะเห็นมีหลวงพ่อซ้อนกันอยู่ ๒ องค์องค์หน้าคือหลวงพ่อองค์เดิม ส่วนองค์หลังเป็นองค์ใหม่ที่จะสร้างขึ้นมาแทน จากคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่ากล่าวว่า พระองค์จริงคือหลวงพ่อพระสุวรรณแสนที่จมอยู่ในหลุมใต้นํ้า เคยมีชาวบ้านออกหาปลาแล้วพบว่าตนเองเหยียบอยู่บนไหล่ของพระพุทธรูป แต่ในปัจจุบันเวลาผ่านมาหลายปี ตะกอนต่างๆทับถมกันสูงขึ้นทุกวัน จึงไม่มีคนพบเห็นอีก ด้วยเหตุนี้ชาวสกลนครจึงถือว่าหนองหานเป็นหนองนํ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดด้วย

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

หลวงพ่อพระองค์แสนเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสกนครพุทธศาสนิกชนจะหลั่งไหลมาสักการะหลวงพ่อพระองค์แสนอย่างคับคั่ง โดนเฉพาะในงานสักการะพระธาตุเชิงชุม ซึ่งจัดขึ้นในช่วงวันเพ็ญเดือนยี่ นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลสำคัญทางประพุทธศาสนา เช่นวันสงกรานต์ ชาวพุทธและนักท่องเที่ยวก็ให้ความสำคัญเดินทางมาสักการะกันเนืองแน่น ไม่แพ้ในช่วงงานประจำปีเลย

[/ultimate_modal]
bcdeae_b748842cf6844a77bf57c47d90ebbe4e_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงพ่อพระใส” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านช้าง มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒ คืบ ๘ นิ้ว สูง ๔ คืบ ๑ นิ้ว

 

ประวัติการสร้าง

หลวงพ่อพระใส มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ “หลวงพ่อเกวียนหัก” หล่อด้วยทองสีสุก พุทธลักษณะงดงามมาก ประดิษฐานอยู่ตามตำนานเล่ากันว่า พระธิดาสามองค์ของกษัตริย์ล้านช้าง (เชื่อกันว่าเป็นธิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช) ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปประจำองค์ขึ้นมา ๓ องค์ คือพระสุก พระเสริม พระใส มีขนาดลดหลั่นกันลงไปตามลำดับ พระใสเป็นของธิดาองค์สุดท้ายเลยมีขนาดเล็กที่สุด เล่ากันว่า มีพิธีทางบ้านและทางวัดร่วมกันสร้าง มีคนสูบเตาหลอมทองอยู่ตลอดเวลา นับเป็นเวลากว่า ๗ วัน และก่อนจะสร้างพระพุทธรูปทั้งสามองค์เสร็จ มีหลวงตากับเณรน้อยเป็นผู้สูบเตาหลอมอยู่ มีชีปะขาวตนหนึ่งมาช่วยทำ ตนจึงได้โอกาสขึ้น ศาลาไปฉันเพล ชาวบ้านที่มาถวายเพลมองลงไปเห็นชีปะขาวจำนวนมากกำลังช่วยกันเททองหลอม แต่หลวงตารูปนั้นกลับเห็นชีปะขาวแค่ตนเดียว เมื่อฉันเพลเสร็จเดินกลับไปดู ก็เกิดอัศจรรย์ใจที่ทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้งสามแล้ว แต่กลับไม่เห็นชีปะขาวตนนั้น
เมื่อสร้างพระพุทธรูปทั้งสามองค์เสร็จแล้ว ได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่อาณาจักรล้านช้างเพื่อให้ประชาชนได้สักการะ เมื่อถึงคราวที่เกิดเหตุสงครามก็จะนำไปซ่อนไว้ สงครามสงบแล้วจึงจะอัญเชิญกลับตามเดิม พระพุทธรูปทั้งสามองค์ไปประดิษฐานอยู่ที่เวียงจันทน์ตั้งแต่เมื่อไรไม่มีผู้ใดทราบ แต่เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ยกทัพไปกำราบ และเมื่อสงครามสงบจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสามองค์กลับมายังฝั่งไทย ในการอัญเชิญนั้นเดินทางด้วยแพ เมื่อถึงแม่นํ้าโขงตรงบริเวณปากนํ้างึม ได้เกิดพายุพัดโหมกระหนํ่า พระสุกได้แหกแพจมลงนํ้าไป แล้วเหตุการณ์ก็กลับสู่ปกติอย่างน่าอัศจรรย์ บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า “เวินพระสุก” มานับแต่นั้น และโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปสององค์ที่เหลือไปยังกรุงเทพมหานคร แต่ก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้นอีกครั้ง เมื่อเดินทางมาถึงหนองคาย เกวียนที่ประดิษฐานพระใสหักลง แม้จะเปลี่ยนเกวียนใหม่ก็ไม่สามารถลากต่อไปได้ จึงประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ชาวบ้านเรียกขานพระใสว่า “หลวงพ่อเกวียนหัก” ส่วนพระเสริมได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครจนถึงปัจจุบัน

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

ทุกวันตรุษสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ ๑๓- ๑๗ เมษายนของทุกปี จะมีพิธีสมโภชหลวงพ่อพระใส ประชาชนชาวพุทธจากสองฟากฝั่งแม่นํ้าโขงจะมาร่วมพิธีกันเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นจะอัญเชิญแห่รอบเมืองอย่างยิ่งใหญ่ มีขบวนบวงสรวงอย่างสวยงาม ในช่วงกลางคืนจะมีการละเล่นและมหรสพให้คนที่มาร่วมงานได้เที่ยวชม

[/ultimate_modal]
bcdeae_f4a57de2d28e4ea48820ce2326ccde16_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงพ่อพระไชยเชษฐาธิราช” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

หลวงพ่อพระไชยเชษฐาธิราช วัดถํ้าสุวรรณคูหา บ้านคูหาพัฒนา ตำบลนาสี อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นพระพุทธรูป
ปางนาคปรกศิลปะล้านช้าง มีฐานกว้างประมาณ ๒ เมตร สูงจากฐาน ๑ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

หลวงพ่อพระไชยเชษฐาธิราช เป็นพระพุทธรูปปางมุจลินท์ (ปางนาคปรก) หน้าตักกว้างประมาณ ๒ เมตร สูง ๑ เมตร สร้างจากปูนสะพายเพชร ซึ่งเป็นปูนโบราณ มีส่วนผสมมาจาก ปูนขาว ๑ ส่วน ทราย ๕ ส่วน นํ้ามันยาง ๑ ส่วน และนํ้ามะขาม ๒ ส่วนเมื่อเวลาแห้งจะแข็งตัวมาก ทำให้สะดวกในการทำลวดลาย ไม่ต้องกลัวแตก หลวงพ่อพระไชยเชษฐาธิราชประดิษฐานอยู่ที่วัดถํ้าสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นพระประธานในวิหารคูหา ที่ประชาชนชาวหนองบัวลำภูและชาวอุดรธานีที่ใกล้เคียง ให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างมาก สร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศักราช ๒๑๐๖ เป็นเวลากว่า ๔๕๐ ปีมาแล้วในสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช โอรสของพระเจ้าโพธิสาร มีความต้องการขยายอาณาเขตเมืองหลวงพระบาง และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เวียงจันทน์ เนื่องจากถูกรุกรานจากพม่าบริเวณโดยรอบเมืองหลวงพระบาง และนครเวียงจันทน์เองก็มีทำเลที่เหมาะสมแก่การทำการเกษตร อีกทั้งมีผู้คนอาศัยอยู่จำนวนมาก จึงได้ตกลงตั้งเมืองใหม่ที่เวียงจันทน์ ในปีพุทธศักราช ๒๑๐๓ และได้มีการขยายประชากรมาทางทิศใต้ของลุ่มนํ้าโขง คือทางอีสานตอนบนและตอนกลาง ประชากรมาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มนํ้าพองและนํ้าชี จึงทำให้เกิดบ้านเมือง และวัดวาอารามขึ้นจำนวนมาก และหนึ่งในนั้นคือ วัดถํ้าวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู ถํ้าแห่งนี้มีพระมหาเถระและกษัตริย์ล้านช้างมาพำนักอยู่บ่อยครั้ง พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงได้สร้างพระพุทธรูปนาคปรกขึ้น ในปี ๒๑๐๖ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชา ชื่อหลวงพ่อพระไชยเชษฐาธิราช เป็นชื่อที่ชาวบ้านตั้งให้ในภายหลัง ตามพระนามของผู้สร้าง

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

ในวันขึ้น ๑๓-๑๔ คํ่า เดือน ๓ ของทุกปี อำเภอสุวรรณคูหา ร่วมกับเทศบาลตำบลสุวรรณคูหา จะจัดงานบวงสรวงพระไชยเชษฐาธิราชเป็นประจำทุกปี โดยจะมีชาวบ้านร่วมนำข้าวเปลือก ข้าวสาร ผลิตผลทางการเกษตรมาถวาย จัดขบวนแห่รำฟ้อนอย่างสวยงาม สิ่งที่ถือปฏิบัติมิได้ขาดเป็นประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ คือ การที่ชาบ้านในสมัยก่อนในนาจังหัน เมื่อนำสิ่งของมาถวายเพื่อทำนุบำรุงรักษาวัด ซึ่งอยู่ในช่วง ๑๔-๑๕ คํ่า เดือน ๓ ที่มีอากาศหนาวเย็น มักจะนำข้าวเหนียวนึ่งมาปั้นย่างไฟเป็นข้าวจี่มีการร่วมวงกินร่วมกันและสนทนาพาทีกัน เรียกกันว่าร่วมบุญข้าวจี่ ก่อนจะรับประทาน ต้องถวายพระสงฆ์เป็นภัตตาหาร ได้ถือปฏิบัติมาช้านานจนปัจจุบันกลายเป็นประเพณีบุญข้าวจี่ ซึ่งคณะกรรมการจัดงานก็ได้จัดสร้างข้าวจี่ยักษ์ขนาดใหญ่ ถวายหลวงพ่อพระไชยเชษฐา ก่อนจะแจกจ่ายให้ประชาชนที่มาร่วมงานได้รับประทาน ถือเป็นการรับบารมีหลวงพ่อพระไชยเชษฐา ที่มีประชาชนมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมากในทุกปี

[/ultimate_modal]
bcdeae_4f7a5e5607ee433dbd0a92797fb3012d_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระเจ้าก่ำ” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระเจ้ากํ่า วัดมัชฌิมาวาส ตำบลอุ่มจาน อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะขอมโบราณ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๘๒ เซนติเมตร สูง ๑๒๓ เซนติเมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระเจ้ากํ่า เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีอายุกว่า ๑,๓๐๐ ปี สูง ๑๒๓ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๘๒ เซนติเมตรที่ฐานมีตัวอักษรสลักไว้เป็นภาษาไทยน้อย มีใจความว่า “ศักราช ๗๑ ปีกัดเป้า เดือนเจียง วัน ๔ ขึ้น ๔ คํ่า แสนสุขาพร้อมด้วยทายาทเป็นผู้สร้าง” แปลตามภาษาไทยได้ความดังนี้ ศักราช ๗๑ ตัว เทียบเท่ากับ พุทธศักราช ๑๒๕๒ ปีกัดเป้า ตรงกับปีฉลู เดือนเจียงตรงกับเดือน ๑ วันที่ ๔ ตรงกับวันพุธขึ้น ๔ คํ่า แสนสุขา อาจจะเป็นตำแหน่งหรือทักษิณาทางการปกครองในสมัยนั้น คนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย เล่าว่า คนสมัยโบราณยุคขอมโบราณ เขาพากันไปสร้างพระธาตุพนม ตามตำนานที่ว่า สร้างเป็นอุโมงค์บรรจุพระอุรังคธาตุหลังจากพระพุทธองค์ทรงปรินิพพานแล้ว หลังจากนั้นพอสร้างเสร็จก็มีการเดินทางไปตามเส้นทางบริเวณนี้ ต่อมาเกิดเกวียนล่มและมีเหตุการณ์หยุดพักซ่อมแซม พวกคนโบราณจึงมีการก่อสร้างสิม และพระธาตุ สันนิษฐานว่าได้แก่วัดโนนธาตุในปัจจุบัน ส่วนที่เป็นหมู่บ้านดอนคงก็เป็นเส้นทางที่คนสมัยโบราณได้พากันขนศิลาแลงจะไปสร้างพระธาตุพนม แต่พอรู้ข่าวว่าพระธาตุพนมสร้างเสร็จแล้วก็เลยพากันมาสร้างสิมและพระธาตุที่บริเวณวัดมัชฌิมาวาสในปัจจุบันนี้นั่นเอง ส่วนอีกที่หนึ่งที่อยู่ใกล้กันปัจจุบันเรียกว่าวัดดอนพระผู้ที่พบเจอหลวงปู่กํ่าเป็นคนแรก คือ แม่ตู้ชาดา จันทรเสนา ท่านพบพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์พระเปรอะเปื้อนคราบตะไคร่นํ้ามากจนออกสีเขียวคลํ้าไปทั้งองค์ ชาวบ้านจึงเรียกว่า หลวงปู่กํ่า ลักษณะของหลวงปู่กํ่า เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์เรียบ ลักษณะเส้นต่างเด่นชัด พระเนตรนูน พระโอษฐ์เล็ก และทรงแย้มสรวล เม็ดพระศก พระเกศาแหลมคม พระเกศลักษณะเป็นเปลวเพลิง พระโสตใหญ่ และยาวปรกลงมาเกือบถึงพระอังสะ พระศอสูง ลักษณะพระสรีระได้สัดส่วน สังฆาฏิพาดยาวจากบ่าซ้ายลงมากึ่งกลางลำตัวจนถึงสะดือ แขนซ้ายมีเส้นจีวรพาดที่บริเวณเหนือข้อพระหัตถ์ ประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาควํ่าลงวางบนพระชานุ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้นวางบนพระเพลา ประดิษฐานอยู่บนฐานสองชั้น ฐานแรกเป็นฐานเขียง ซึ่งหล่อเป็นชั้นเดียวกับหลวงปู่กํ่าไม่สูงมากนัก ตั้งอยู่บนฐานส่วนล่างซึ่งเป็นบัวควํ่าบัวหงายโบราณ ซึ่งมีความสูงพอสมควร นับว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณที่มีความสวยงามประณีตมากองค์หนึ่ง และเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองที่สาธุชนให้ความเคารพบูชา ซึ่งหลวงปู่กํ่าจะให้ความคุ้มครองป้องกันภัย อันตรายต่างๆ แก่ลูกหลานที่มากราบไหว้

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระเจ้ากํ่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ เชื่อกันว่าหลวงปู่จะให้ความคุ้มครองป้องภัยแก่ลูกหลานและหากในปีใดที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านเดือดร้อนไม่มีนํ้าทำนา จะรวมกันมาขอฝนจากหลวงปู่ และก็ได้สมดังปรารถนาในวันพระหรือเทศกาลสำคัญทางพุทธศาสนา ชาวบ้านจะเดินทางมาสักการะ ปิดทององค์หลวงปู่ เพื่อเป็นสิริมงคล ให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป

[/ultimate_modal]
bcdeae_b6e2526ebbd74a5bb82d13dce780733c_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระเจ้าองค์แสน” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระเจ้าองค์แสน (พระพุทธรูปฝนแสนห่า) วัดโพธิ์ชัยบ้านนาพึง บ้านนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านช้าง มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๓ นิ้ว สูง ๒๔ นิ้ว

 

ประวัติการสร้าง

พระเจ้าองค์แสน เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ศิลปะล้านช้าง มีอายุกว่า ๔๐๐ ปี สร้างขึ้นที่เมืองเชียงแสน พระเจ้าองค์แสน เดิมประทับอยู่ที่เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า ต่อมาได้ย้ายมา ประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดลำพูน จากเมืองลำพูนไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และจากเมืองหลวงพระบาง เสด็จมาประทับที่วัดโพธิ์ชัยบ้านนาพึง ตามประวัติของพระเจ้าองค์แสน ได้เล่าสืบทอดต่อกันมาว่า พระเจ้าองค์แสน เมื่อไปประดิษฐาน ณ ที่แห่งใด จะมีฝนตกต้องตามฤดูกาล นํ้าท่า
อุดมสมบูรณ์ เมื่อครั้งที่ พระเจ้าองค์แสน ประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ได้เสด็จมาทางอากาศ ขณะที่เสด็จมานั้นได้นำฆ้องน้อยห้อยที่ศอก และปืนห้อยศอกมาด้วยหนึ่งกระบอก พร้อมกับมีพระพุทธรูปองค์เล็กติดตามมาด้วยสององค์ มีชื่อว่า พระเจ้าแก้ว หรือชาวบ้านเรียกว่า ลูกพระเจ้าองค์แสน

เมื่อพระเจ้าองค์แสนเหาะมาประทับที่วัดโพธิ์ชัยบ้านนาพึง ก็เกิดความอัศจรรย์แก่คนในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก และได้นำเอาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ ทำให้ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้สร้างพระเจ้าองค์แสนอีกองค์หนึ่ง คู่กับพระเจ้าองค์แสนเรียกชื่อว่า “พระเจ้าองค์แสนเทียม” นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่า หากแยกพระเจ้าองค์แสนกับพระเจ้าองค์แสนเทียมออกจากกัน จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ในอดีตกล่าวกันว่าพระเจ้าองค์แสนเสด็จมาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยบ้านนาพึง บางครั้งก็เสด็จไปประทับที่อื่นบ้าง โดยใช้แก้วที่อยู่พระเกศนำพาเสด็จ แต่เมื่อครั้งที่ไฟไหม้พระอุโบสถวัดโพธิ์ชัยนาพึง พระเจ้าองค์แสนได้เสด็จออกมาและเกิดเหตุไปชนกับประตูโบสถ์ ทำให้เกศแก้วหัก แก้วที่อยู่บนเกศเสด็จไปอยู่ที่ใต้ต้นโพธิ์ภายในวัด พอถึงวันสำคัญก็จะส่องแสงสว่างไปทั่ววัดเป็นเวลา ๓ เดือน ต่อมาก็หายไป พระเจ้าองค์แสน ก็ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยบ้านนาพึงตั้งแต่นั้นมา โดยไม่ได้เสด็จไปไหนอีกเลย อภินิหารอย่างหนึ่งของพระเจ้าองค์แสน คือ ทางเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาวได้สืบค้นหาพระเจ้าองค์แสน จนทราบว่าท่านได้เสด็จมาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยบ้านนาพึง ทางเจ้าเมืองหลวงพระบาง จึงมาอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนกลับเมืองหลวงพระบาง โดยจัดขบวนช้างมาอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนกลับ แต่ไม่สามารถนำกลับไปได้ เนื่องจากช้างไม่ยอมก้าวเดินจึงต้องอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนประทับอยู่ที่เดิม และเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของบ้านนาพึงมาจนถึงทุกวันนี้

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระเจ้าองค์แสน มีความศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกันว่าถ้าเสด็จไปที่ใดจะทำให้ที่นั่นมีความอุดมสมบูรณ์ ฟ้าฝนตกต้องตามฤดู นำความผาสุกมาสู่ ในเดือนเมษายนของทุกปี จะมีการนำพระเจ้าองค์แสนออกมาสรงนํ้า เพื่อให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล ชาวนาชาวไรมีนํ้าท่าอุดมสมบูรณ์ในการทำการเกษตร

[/ultimate_modal]
bcdeae_7f5db28f60fc4a33a41a5fdc2a35312b_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระเจ้าองค์หลวง” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระเจ้าองค์หลวง วัดศรีมงคลใต้ ถนนสำราญชายโขงใต้ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหารเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านช้าง ขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๒ เมตร สูง ๒ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระเจ้าองค์หลวง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ เป็นศิลปะแบบล้านช้าง สร้างด้วยวัสดุก่ออิฐถือปูน นับเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดมุกดาหาร ชาวบ้านเชื่อกันว่าภายในองค์พระเป็นพระพุทธรูปทองคำ ปัจจุบันนี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีมงคลใต้ จังหวัดมุกดาหาร

ตามตำนานเมืองมุกดาหารได้บันทึกประวัติพระเจ้าองค์หลวงไว้ว่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ เจ้ากินรี ซึ่งเป็นเจ้าเมืองโพนสิม(ปัจจุบันเป็นบริเวณพระธาตุอิงฮัง เมืองคันธะบุรี แขวงสุวรรณเขต) เป็นบุตรชายของเจ้าจันทรสุริยวงศ์ ได้อพยพผู้คนจากเมืองโพนสิมเพื่อจะแสวงหาที่ตั้งเมืองขึ้นใหม่ วันหนึ่งนายพราน จากเมืองโพนสิม ได้ข้ามแม่นํ้าโขงมาล่าสัตว์ตรงปากห้วยมุก ได้พบต้นตาลต้นหนึ่งมี ๗ ยอด และกองอิฐปรักหักพังอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งสันนิษฐานว่าคงเป็นบ้านเมืองในสมัยโบราณมาก่อน เจ้ากินรีมาตรวจดูเห็นว่ามีทำเลเหมาะสมที่จะตั้งบ้านเมือง จึงได้ชักชวนพรรคพวกมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ ขณะที่เจ้ากินรีกำลังคุมบ่าวไพร่หักร้างถางพงอยู่ใกล้ต้นตาล ๗ ยอด ก็ได้พบพระพุทธรูป ๒ องค์ องค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนมีลักษณะสง่างาม สูง ๒ เมตร องค์เล็กเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยเหล็กอย่างดีอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ๒ ต้น จึงสร้างวิหารขึ้นครอบ พระพุทธรูปทั้ง ๒ องค์ แล้วตั้งชื่อว่าวัดศรีมงคล เมื่อพุทธศักราช ๒๓๑๓ เพื่อเป็นมงคลแก่ชาวเมือง ปรากฏมีอภินิหารเกิดขึ้นถึงสองครั้ง คอพระเหล็กได้เสด็จมาอยู่ที่ใต้ต้นโพธิ์ตรงจุด
เดิม จึงอัญเชิญกลับพระวิหาร ต่อมาพระเหล็ก องค์นั้นก็เสด็จหนีมาอยู่ตรงจุดเดิมอีกเป็นครั้งที่สอง คราวนี้ได้ฝังองค์จมลงในดินเหลือแต่เพียงพระเกศ ท้าวกินรีจึงสร้างแท่นสักการะบูชาไว้ ณ ที่นั้นและถวายนามว่า “พระหลุบเหล็ก” ต่อมานํ้าท่วมบริเวณนั้นพระเหล็กจึงได้จมนํ้าหายไป ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่คงประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดศรีมงคลใต้ ต่อมาชาวเมืองมุกดาหารได้ถวายนามว่า “พระเจ้าองค์หลวง”

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระเจ้าองค์หลวง เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวมุกดาหารและพุทธศาสนิกชนทั่วไป เป็นที่เลื่องลือทั้งในด้านความศักดิ์สิทธิ์และพุทธานุภาพ คุ้มครองให้ผู้สักการะบูชาอยู่เย็นเป็นสุข แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง ตลอดจนช่วยดลบันดาลให้ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาในทางที่ดีงาม ในวันพระและเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวเมืองมุกดาหารจะหลั่งไหลมาที่วัดศรีมงคลใต้เพื่อสักการะบูชาพระเจ้าองค์หลวง

[/ultimate_modal]
bcdeae_0282cdbf3e024992a9ddcd70d01a21ad_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระเจ้าองค์ตื๊อ” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระเจ้าองค์ตื้อ วัดศรีชมภูองค์ตื้อ บ้านนํ้าโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านช้าง
มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓.๒๙ เมตร สูง ๔ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้างหนัก ๑ ตื้อ ขนาดหน้าตักกว้าง ๓.๒๙ เมตร สูง ๔ เมตร สร้างด้วยทองสำริดพระพุทธรูปองค์นี้ได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มีพุทธศิลป์งดงามน่าเลื่อมใส สร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชครองเมืองเวียงจันทร์เมื่อพุทธศักราช ๒๑๐๕ เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของพระนางยอดคำทิพย์ พระบรมราชชนนีของพระเจ้าไชยเชษฐาษธิราชโดยพระสงฆ์ในวัดศรีชมภูองค์ตื้อได้ประชุมปรึกษาหารือกัน ลงมติจะหล่อพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นในบ้านนํ้าโมง เพื่อเป็นที่เคารพสักการะแก่อนุชนรุ่นหลัง เมื่อตกลงกันแล้วจึงได้ชักชวนบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพื่อเรี่ยไรทองเหลืองบ้าง ทองแดงบ้าง ตามแต่ผู้ที่มีจิตศรัทธาจากท้องที่อำเภอและจังหวัดใกล้เคียง ได้ทองหนักตื้อหนึ่ง (มาตราโบราณภาคอีสานถือว่า ๑๐๐ ชั่งเป็นหมื่น ๑๐ หมื่นเป็นแสน ๑๐ แสนเป็นล้าน ๑๐ ล้านเป็นโกฏิ ๑๐ โกฏิเป็นหนึ่งกือ ๑๐ กือเป็นหนึ่งตื้อ) พระสงฆ์และชาวบ้านจึงพร้อมกันหล่อ เป็นส่วน ๆ ในวันสุดท้ายเป็นวันหล่อพระเกศ ในตอนเช้าได้ยกเบ้าเทแล้วแต่ไม่ติด เมื่อเอาเบ้าเข้าเตาใหม่ ทองยังไม่ละลายดีก็พอดีเป็นเวลาจวนพระจะฉันเพล พระทั้งหมดจึงทิ้งเบ้าเข้าเตาหรือทิ้งเบ้าไว้ในเตาแล้วก็ขึ้นไปฉันเพลบนกุฏิ ฉันเพลเสร็จแล้วลงมาหมายจะเทเบ้าที่ค้างไว้กลับปรากฏเป็นว่ามีผู้เทติดและตอนพระเกศสวยงามกว่าที่จะเป็นจนน่าอัศจรรย์ สืบถามได้ความว่า มีชายผู้หนึ่งนุ่งห่มผ้าขาวมายกเบ้านั้นเทจนสำเร็จ แต่ด้วยเหตุที่เบ้านั้นร้อนเมื่อเทเสร็จแล้ว ชายผู้นั้นจึงวิ่งไปทางเหนือบ้านนํ้าโมง มีผู้เห็นยืนโลเลอยู่ริมหนองนํ้าแห่งหนึ่งแล้วหายไป (หนองนํ้านั้นภายหลังชาวบ้านเรียกว่าหนองโลเลมาจนถึงปัจจุบันนี้ และชายผู้นั้นก็เข้าใจกันว่าเป็นเทวดามาช่วยสร้าง) มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่แห่งเมืองเวียงจันทร์เที่ยวบ้านนํ้าโมงสองท่านชื่อว่า ท่านหมื่นจันทร์ กับ ท่านหมื่นราม ทั้งสองท่านนี้ได้เห็นพระเจ้าองค์ตื้อก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสที่จะช่วยเหลือ จึงได้ช่วยกันก่อฐาน และทำราวเป็นการส่งเสริมศรัทธาของผู้สร้าง ครั้นเมื่อขุนนางทั้งสองได้กลับถึงเมืองเวียงจันทร์แล้ว ได้กราบทูลพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชซึ่งครองเมืองเวียงจันทร์ในเวลานั้น พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้เสด็จมาทอดพระเนตรก็ทรงเกิดศรัทธา จึงได้สร้างวิหารประดิษฐานพร้อมแบ่งปันเขตแดนให้เป็นเขตข้าทาสบริวารของพระเจ้าองค์ตื้อ

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และเป็นที่เคารพของพุทธศาสนิกชน โดยทั่วไปในประเทศและต่างประเทศ เมื่อถึงประเพณีสมโภชพระเจ้าองค์ตื้อของทุกๆปี ในวันขึ้น ๑๕ คํ่าไปจนถึงแรม ๑ คํ่าเดือน ๔ โดยจะมีการเวียนเทียนรอบวิหารหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ ชาวบ้านนิยมเรียกว่าบุญเดือน ๔ หรือบุญผะเหวด และมีอีกงานวันสงกรานต์จะมีผู้คนจากทั่วสาระทิศหลั่งไหลมาในงานอย่างมากมาย

[/ultimate_modal]
bcdeae_ed1b1e2af3a247daa2b340a79a5a8dd5_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระติ้ว พระเทียม” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระติ้ว พระเทียม วัดโอกาสศรีบัวบานอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เป็นพระพุทธรูปไม้ปางมารวิชัยศิลปะล้านช้าง มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓๙ เซนติเมตร สูง ๖๐ เซนติเมตร เท่ากันทั้งสององค์

 

ประวัติการสร้าง

พระติ้ว พระเทียม เป็นพระพุทธรูปไม้ ปางมารวิชัย สร้างในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ซึ่งมีราชธานีตั้งอยู่สองฝั่งแม่นํ้าโขงเล่ากันว่าพระเจ้าศรีโคตรบูรณ์หลวงสั่งให้นายช่างชาวบ้านกองลอ ในประเทศลาว ไปดำเนินการหาไม้มาต่อเรือ ช่างเดินทางข้ามแม่นํ้าโขงมายังดงเซกา ได้พบไม้ตะเคียนจึงลงมือขุดเจาะเป็นรูปเรือแล้วเตรียมชักลากลงสู่แม่นํ้า ให้ลูกมือไปหาไม้ท่อนที่ดงติ้วมาหนุนเป็นล้อเพื่อชักลาก เมื่อชักลากเรือไปจนถึงท่านํ้าบ้านโพธิ์ ซึ่งปัจจุบันคือวัดโอกาส ในขณะนั้นไม้ท่อนหนึ่งกระเด็นออกมา ไม่ยอมให้เรือทับทำให้คนลากเรือได้รับบาดเจ็บไปตามๆ กัน นายช่างได้นำความไปกราบทูลฯ พระเจ้าศรีโคตรบูรณ์หลวงทรงทราบ เห็นว่าไม้ท่อนนี้เป็นพญาไม้จึงไม่ยอมให้เรือทับ โปรดให้นายช่างนำไม้ท่อนนั้นไปแกะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๓๐ เซนติเมตร สูง๖๐ เซนติเมตร แล้วลงรักปิดทอง ตรงกับวันอังคาร เดือน ๗ แรม ๘ คํ่า ปีกุน พุทธศักราช ๑๓๒๘ และโปรดให้มีพุทธาภิเษกสมโภชพระพุทธรูปเป็นพระมิ่งบ้านมิ่งเมือง

ในสมัยพระเจ้าขัตติยวงศาบุตรมหาฤาชัยไตรทศฤาเดชเชษฐบุรีศรีโคตรบูรณ์หลวง เกิดไฟไหม้หอพระและพระวิหารไม่สามารถนำพระติ้วออมาได้ จึงโปรดให้สร้างองค์ใหม่ขึ้นแทนองค์เดิม แต่สองสามปีต่อมาชาวบ้านออกทอดแหกลางแม่นํ้าโขง เกิดพายุพัดกระหนํ่าและพบพระติ้วที่สำคัญว่าไฟไหม้ไปแล้วลอยยุกลางนํ้าวน จึงนำพระติ้วขึ้นกราบทูลฯ เจ้าเมืองจึงมอบทองหนัก ๓๐ บาทเพื่อลงรักปิดทองทั่วทั้งองค์พระ ได้มีการจารึกอักษรธรรมที่ลานเงินบอกวันเดือนปี พร้อมผู้สร้างรอบเอวองค์พระ ประทานนามพระองค์เดิมว่า “พระติ้ว” แล้วประทานนามองค์ที่สร้างขึ้นใหม่ว่า “พระเทียม” ต่อมาพระพรหมราชาพรหมา ผู้ครองเมืองศรีโคตรบูรณ์มีพระราชศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์สำนักสงฆ์วัดศรีบัวบาน และได้อัญเชิญพระติ้วพระเทียมจากบ้านสำราญมาประดิษฐานที่วัดศรีบัวบาน ในปีพุทธศักราช ๒๒๘๑ รับสั่งให้ชาวบ้านสำราญเป็น “ข้าโอกาส”คอยปรนนิบัติรักษาพระติ้ว พระเทียม พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อวัดใหม่จากวัดศรีบัวบานเป็นวัดโอกาส ดังที่ทราบกันในปัจจุบันนี้

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระติ้ว พระเทียม เป็นพระมิ่งบ้านมิ่งเมืองที่ชาวบ้านต่างเคารพศรัทธา ถ้าหากมีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นที่เมืองใด เมื่ออัญเชิญพระติ้ว พระเทียมไปบ้านเมืองนั้น โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายก็จะหายไป ด้วยอำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของพระติ้ว พระเทียมทำให้ชาวบ้านต่างมีความเลื่อมใสศรัทธามาจนปัจจุบัน ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๖ ของทุกปี ชาวเมืองนครพนมจะจัดงานนมัสการสรงนํ้าขอพรพระติ้ว พระเทียม เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัว

[/ultimate_modal]
bcdeae_18651ef5765441d6a33ba57ae3d99473_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระบาง” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระบาง วัดมหาชยั บ้านห้วยเชียง ตำบลลำภู อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู มี ๒ องค์ เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ หรือปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปศิลปะลาว มีความสูงประมาณ ๑๔๕ เซนติเมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระบางเป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร มีสององค์คู่กัน และมีลักษณะเหมือนกันทั้งสององค์ หล่อด้วยทอง สีดอกบวบ มีอักษรภาษาขอมจารึกอยู่ที่ฐาน บอกชื่อผู้สร้างและวันเดือนปีที่สร้าง สรุปความได้ว่า สร้างโดยสามีภรรยาคู่หนึ่ง เมื่อประมาณปี ๑๓๖๖ เป็นลูกหลานเชื้อสายพระวอ พระตาที่อัญเชิญพระบางมาประดิษฐานที่วัดมหาชัย เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อพระวอ พระตาซึ่งเป็นบรรพบุรุษผู้สร้างเมืองหนองบัวลำภูส่วนวัดมหาชัย เป็นวัดเก่าแก่ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองหนองบัวลำภูมานาน สร้างเมื่อประมาณ ปี ๒๐๒๖ มีชื่อเดิมหลายชื่อ เช่น วัดมหาธาตุไตรภูมิ ในสมัยจำปานครกาบแก้วบัวบาน

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

ชาวหนองบัวลำภูให้ความเคารพนับถือพระบางทั้งสององค์เป็นอย่างมาก เมื่อใดที่เมืองหนองบัวลำภูเกิดภัยพิบัติแห้งแล้งฝนปัจจุบันเมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทางราชการจะจัดรถยนต์ประดับตกแต่งสวยงาม แล้วอัญเชิญพระบางทั้งสององค์ขึ้นประดิษฐาน จากนั้นจะมีการแห่ไปตามถนนในเขตเทศบาล เพื่อให้ประชาชนได้สรงนํ้าสัการะตามสมควรไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านจะร่วมกันอัญเชิญพระบางทั้งสององค์ ประดิษฐานบนเกวียนแล้วแห่ไปรอบเมืองหนองบัวลำภูเพื่อเป็นการขอฝน เกิดปาฏิหาริย์ ทุกครั้งที่ทำพิธีแห่พระบางขอฝน ภายในวันนั้นเวลาใดเวลาหนึ่งจะเกิดฝนตกลงมาให้ประชาชนได้ชุ่มเย็น

[/ultimate_modal]
bcdeae_6d0bc6b1161a4e47823290dee510fb0c_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระบางเมืองเลย” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระบางเมืองเลย วัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวง ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ หรอื
ปางห้ามสมุทร ถอดแบบมาจากพระบางทรายขาว ศิลปะล้านช้าง มีความกว้าง ๒๐ เซนติเมตร สูง ๖๕.๕ เซนติเมตร ฐานสูง ๒๑ เซนติเมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระบางเมืองเลย เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ที่ได้ต้นแบบมาจากพระบางทรายขาว ซึ่งเป็นศิลปะการสร้างแบบล้านช้างจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่จารึกไว้ที่ฐานพระพุทธรูปเป็นอักษรไทน้อย กล่าวไว้ว่าพระบางทรายขาวหรือภายหลังเรียกกันว่าพระบางเมืองเลย ถูกสร้างขึ้นมากว่า ๔๐๐ ปีแล้ว ในยุคของเจ้าฟ้าร่มขาว ซึ่งเป็นราชวงศ์ของลาวมาตั้งเมืองทรายขาวขึ้นมา สร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๑๗๐ โดยผู้ร่วมสร้างฝ่ายสงฆ์ คือสมเด็จพระสังฆราชาเจ้า และผู้เป็นประมุขฝ่ายฆราวาส คือพระยาซายขาว ถูกค้นพบครั้งแรกที่บ้านทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย พร้อมกับแผ่นศิลาจารึก บันทึกร่องรอยทางประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองเลย ที่พระเทพวราลังการ หรือหลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีสุทธาวาส นำมาเก็บรักษาไว้ให้เป็นมรดกของชาวเมืองเลย

พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดเลย ใช้ฤกษ์ดีวันวิสาขบูชา ทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปประจำจังหวัด พระบางเมืองเลยพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ซึ่งได้นำเอาพระบางทรายขาวมาเป็นแบบในการสร้าง ในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๘ ที่ผ่านมา การสร้างพระบางจำลองนี้ทางเทศบาลเมืองเลยได้สร้างมาแล้ว จำนวน ๙๙ องค์ เพื่อแบ่งให้ทุกๆ ที่ว่าการอำเภอ และสำนักงานหลายๆ แห่ง ได้เคารพบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนการสร้างพระบางในครั้งล่าสุดนี้ เป็นการสร้างขึ้นจากแรงศรัทธาในหลวงปู่ศรีจันทร์ เพื่อ
ให้เป็นแหล่งรวมใจของชาวจังหวัดเลย จึงได้สร้างพระบางเมืองเลยไว้ยอดภูบ่อบิด ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระบางเมืองเลย เป็นการสร้างถอดแบบมาจากพระบางทรายขาว เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดเลย เพราะมีประวัติเกี่ยวข้องกับการสร้างบ้านสร้างเมือง พระบางเมืองเลยกลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดไปแล้ว การสร้างพระบางในแต่ละครั้งจะเกิดเหตุการณ์ฝนตก ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่าพระบางนำความร่มเย็นมาสู่ชาวเมือง พุทธศาสนิกชนจะมีการทำบุญสรงนํ้าขอพรพระบางในทุกช่วงเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา

[/ultimate_modal]
bcdeae_63e7c9bdeb3a456784e27886cf08469d_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระบาง” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระบาง วัดไตรภูมิ ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร หรือปางห้ามญาติศิลปะแบบลาว สูง ๘๐ นิ้ว แท่นสูง ๒ นิ้ว ฐาน ๘ เหลี่ยม สูง ๑๕ นิ้ว

 

ประวัติการสร้าง

พระบางมีความศักดิ์สิทธิ์มากเชื่อกันว่าพระบางสมารถทำให้ฝนตก ในวันสงกรานต์ของทุกๆ ปีชาวบ้านจะอัญเชิญพระบางรองรับด้วยรูปช้าง ๘ เชือก องค์พระหล่อด้วยโลหะหลายชนิดที่หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ทอง นาค เงิน ทองคำขาว และทองแดง เป็นต้น ที่รัดประคต(สายรัดเอว) มีนิลฝังอยู่เป็นระยะ ๆ ที่พระนาภีมีเพชรขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๕ นิ้วฝังอยู่ (ปัจจุบันหายไป) องค์พระและฐานสร้างเป็นส่วนแยกออกจากกันได้ สามารถถอดออกได้ เป็น ๕ ชิ้น คือ พระรัศมี พระเศียร พระหัตถ์ซ้าย-ขวา ลำตัว และฐานแปดเหลี่ยม รอบฐานของพระบางวัดไตรภูมินี้มีจารึกด้วยอักษรลาวเก่า (ไทน้อย) ได้ความว่า “สมเด็จพระเหมะ วันทา กับทั้ง อันเตวาสิ อุบาสก อุบาสิกา ได้ร่วมแรง ร่วมใจกันสร้างพระนี้ขึ้นมา มีขนาดเท่าตัวคน เพื่อให้ไว้ เป็นที่สักการะ บูชา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๐๐๘ ตรงกับปีวอก เดือน ๓ ขึ้น ๙ คํ่า วันศุกร์…”

พระบางนี้ได้มีผู้เล่าสืบต่อกันมาว่า ได้มีการสร้างขึ้นในประเทศลาว โดยคณะกรรมการ ๒ ฝ่ายเป็นผู้ร่วมกันสร้างขึ้นคือฝ่ายสงฆ์ มีสมเด็จเหมมะวันนาเป็นประธาน ส่วนฝ่ายฆราวาสมีพญาแมงวัน (มีรูปแมลงวันติดอยู่ที่หน้าผาก) ผู้เป็นเจ้าเมืองเหิบประเทศลาวเป็นประธาน ในครั้งนั้นได้หล่อพระที่มีขนาดเท่ากันขึ้น ๒ องค์ องค์หนึ่งเป็นพระขัดสมาธิ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่บ้านดอนติ้ว เมืองหินบูน ประเทศลาว) องค์ที่สองนั้นเป็นพระยืนปางห้ามสมุทร คือพระบาง ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรภูมิตามประวัติแล้ว พระบางวัดไตรภูมิมาจากฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขง จากวัดบ้านโคก แขวงคำเกิด

ประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ เจ้าเมืองหินบูน แขวงคำเกิด พระอาจารย์หงษ์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่วัดพระธาตุท่าอุเทน เป็นภิกษุที่มีผู้นับถือเลื่อมใสกันทั้งสองฝั่งโขงอยู่แล้ว เจ้าเมืองหินบูนและคณะจึงได้อัญเชิญพระบางจากบ้านโคก ตำบลหินเหิบมามอบให้ท่านและประดิษฐานไว้ที่วัดพระธาตุท่าอุเทน ต่อมาได้ย้ายมาที่วัดไตรภูมิจนถึงปัจจุบัน ส่วนสาเหตุที่ต้องย้ายที่ประดิษฐานพระบางจากวัดพระธาตุท่าอุเทนไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมินั้นก็สืบเนื่องมาจาก หลวงปู่สีทัตถ์ ท่านต้องลาสึกถึง ๒ ครั้ง ทั้งนี้เพราะเป็นความเชื่อถือของชาวบ้านว่า พระบางเป็นพระที่ไม่ให้คุณ มีอาถรรพ์ทำให้หลวงปู่สีทัตถ์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่มีผู้เคารพนับถือมากในลุ่มแม่นํ้าโขงตลอดจนถึงฝั่งลาวต้องลาสึก การอุปสมบทครั้งที่สองของท่านนั้น ท่านอุปสมบทหลังจากที่พระบางได้มาประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุท่าอุเทนแล้วหลังปี พ.ศ.๒๔๕๐ ส่วนสาเหตุที่ท่านต้องสึกอีกครั้งนั้น มีเรื่องเล่าว่า ท่านพร้อมกับลูกศิษย์องค์หนึ่งได้ถือ
ธุดงคกรรมฐานไปที่ฝั่งลาว ท่านได้ยินเสียงร้องของหญิงสาวที่มีความไพเราะจับจิต จนต้องลาสิกขาและไปสู่ขอหญิงสาวคนนั้นทันที

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระบางมีความศักดิ์สิทธิ์มากเชื่อกันว่าพระบางสมารถทำให้ฝนตก ในวันสงกรานต์ของทุกๆ ปีชาวบ้านจะอัญเชิญพระบางออกมาแห่เพื่อขอฝน และฝนก็จะตกให้ชาวนาได้มีนํ้าทำนาอย่างอุดมสมบูรณ์ จึงถือปฏิบัติกันสืบจนปัจจุบัน

[/ultimate_modal]
bcdeae_75ee98ae5c0a4d8dacfba9b69724d3ad_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระพุทธมิ่งมงคล” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระพุทธมิ่งมงคลเมืองวัดศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเลย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 

ประวัติการสร้าง

พระพุทธมิ่งมงคลเมือง เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเลย ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีอายุกว่า ๒๕๙ ปี (ปัจจุบันปี ๒๕๕๘) เป็นพระพุทธรูปที่มีความสัมพันธ์กับการต่อตั้งเมืองเลย ซึ่งจากตำนานกล่าวไว้ว่า ชาวเลยส่วนหนึ่งสืบเชื้อสายมาจากชนชาติไทยกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอพยพมาจากทางตอนเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ในสมัยที่พระยาลิไทยปกครองอยู่ ชนชาติไทยเชื่อสายนี้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในเขตพื้นที่ลุ่มแม่นํ้าเลย ตั้งแต่ปี ๑๘๙๐ และสร้างบ้านสร้างเมืองแล้วเสร็จใน
ปี ๑๙๙๐ ชนกลุ่มนี้เรียกตนเองว่า “เมืองเซเลเลิว” ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น “เซเลไลย์” ที่ตั้งนั้นคือหมู่บ้านทรายขาว อำเภอวังสะพุงในปัจจุบัน ชาวเซเลไลย์มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง คือภาษาผักขาม หรือที่เรียกว่าภาษาไทน้อยในปัจจุบัน เกิดภัยพิบัติขึ้นในราวปี ๒๒๒๐ จึงทำให้เมืองเซเลไลย์ล่มสลาย ชาวเมืองอพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในที่ราบลุ่มแม่นํ้าหมาย และเรียกชุมชนแห่งใหม่ว่า “บ้านแฮ่แหน” ในอีก ๓ ปี ต่อมา ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๒๙๙ ชาวบ้านได้ร่มกันสร้างวัดขึ้นมา ชื่อว่า “วัดศรีภูมิ” และ
ได้หล่อพระพุทธมิ่งมงคลเมืองขึ้นมา ประดิษฐานไว้ ณ วัดศรีภูมิแห่งนั้น ให้เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของหมู่บ้านนั้น ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงเห็นว่าเมืองนี้มีประชากรอาศัยอยู่มากขึ้น จึงให้พระยาท้ายนํ้าออกสำรวจอาณาบริเวณ พบว่าภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมแก่การสร้างเมือง จึงโปรดเกล้ายกให้เป็นเมือง ตั้งชื่อตามแม่นํ้าในบริเวณนั้น จึงได้ชื่อว่าเมืองเลยจนถึงปัจจุบัน

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระพุทธมิ่งมงคลเมือง เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเลยมาตั้งแต่เริ่มสร้างบ้านแปลงเมือง เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธมิ่งมงคลเมืองออกมาทำพิธีแห่ เพื่อให้ประชาชนได้สรงนํ้าขอพร นำความเป็นสิริมงคลสู่ตนและชุมชนเมืองเลย ให้มีความร่มเย็นเป็นสุขสืบไป

[/ultimate_modal]
bcdeae_e337d12c5e6e4af99e3fe328efae00d5_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระมิ่งขวัญ” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระมิ่งขวัญ วัดศรีสระแก้ว พระอารามหลวง ตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสมัยเชียงของล้านช้าง มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓๓ นิ้ว สูง ๔๕ นิ้ว

 

ประวัติการสร้าง

พระมิ่งขวัญ พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นพระพุทธรูปศิลาแดง ปางมารวิชัย มีหน้าตักกว้าง ๓๓ นิ้ว สูง๔๕ นิ้ว เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นราวพุทธศักราช ๑๙๕๐ เพราะดินแดนแถบนี้เป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของล้านช้าง และแถบภูเก้าก็เป็นสถานที่ที่มีช้างมาก ผู้นำหรือผู้ครองนครในแถบนี้ก็คงจะมาคล้องช้าง หรือไม่ก็มาตั้งรกรากในดินแดนแถบบ้านมะเฟือง บ้านนาอ่าง ซึ่งตามคำบอกเล่าขอคนเฒ่าคนแก่ก็ยืนยันว่าดินแดนแถบนี้มีหมู่บ้านเก่า ๆ ซึ่งมีหลักฐานร่องรอยจากวัดดอนบ้านแคน วัดบ้านนาอ่าง ซึ่งเป็นร่องรอยของสถูปเจดีย์เก่า และตามประวัติการแปลงบ้านสร้างเมืองของจังหวัดหนองบัวลำภู ก็จะเห็นว่าดินแดนแถบนี้มีความสัมพันธ์กับผู้ครองเมืองล้านช้างเมื่อผู้นำมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาไปอยู่สถานที่ใดก็จะสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาเพื่อสักการะบูชา ในการสร้างได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นไว้ ๒ องค์ คือหลวงพ่อมิ่งขวัญ กับหลวงพ่อมิ่งเมือง

เดิมหลวงพ่อมิ่งขวัญและหลวงพ่อมิ่งเมืองอยู่บริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า “ดอนบ้านไร่” ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นบริเวณที่ของกำนันบุญสวน หลาบหนองแสง และที่นารอบ ๆ นาของกำนัน ซึ่งบริเวณแถบนี้สันนิษฐานว่าเป็นหมู่บ้านเก่า ซึ่งผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาบริเวณแถวนั้นก็เข้าสักการะ ขอสิ่งที่ตนเองปรารถนาก็จะประสบความสำเร็จตามที่ตนเองปรารถนาอยู่เป็นประจำ แต่ด้วยความไม่เหมาะสมบางประการ ชาวบ้านนามะเฟืองจึงมีมติร่วมกันให้อัญเชิญหลวงพ่อมิ่งขวัญให้มาประดิษฐานที่วัดศรีสระแก้ว หลวงพ่อ
มิ่งเมืองประดิษฐานที่วัดพิชัยบวร (วัดเก่า) ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๕

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

ชาวบ้านนามะเฟืองได้อัญเชิญหลวงพ่อมิ่งขวัญมาประดิษฐานที่วัดศรีสระแก้ว ซึ่งการอัญเชิญได้กระทำในเดือน ๔ ได้เกิดเหตุอัศจรรย์คือ วันนั้นเป็นวันที่อากาศแจ่มใส ท้องฟ้าปลอดโปร่ง แต่พอทำพิธีอัญเชิญหลวงพ่อมิ่งขวัญก็ปรากฏว่า มีเมฆฝนเกิดขึ้นพร้อมด้วยฟ้าร้องฟ้าผ่าปรากฏ และฝนที่ตกก็ตกเฉพาะบริเวณเส้นทางที่อัญเชิญหลวงพ่อเท่านั้น เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่ไปร่วมอัญเชิญเกิดความ
อัศจรรย์ใจอย่างยิ่ง ทั้งยังเกิดความศรัทธาและความเคารพในหลวงพ่อมากยิ่งขึ้น ความศักดิ์สิทธิ์และปาฏิหาริย์ของพระมิ่งขวัญทำให้ชาวหนองบัวลำภูศรัทธาและสักการะมานับแต่นั้น เมื่อถึงเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวพุทธก็จะหลังไหลไปทำบุญเพื่อขอพรให้พบแต่ความสุข ความเจริญ

[/ultimate_modal]
bcdeae_e028d6c2a85849ac83dda4ac94976b00_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระพุทธรัศมี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระพุทธรัศมี วัดโพธิสมภรณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสมัยกรุงศรีสัตนคนหุต (เวียงจันทน์) มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๕๕ เมตร สูง ๒.๓๐ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระพุทธรัศมี เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริด ปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๕๕ เมตร พุทธลักษณะงดงามมากอายุประมาณ ๖๐๐ ปีเศษ สมัยกรุงศรีสัตตนาคนหุต แห่งอาณาจักรล้านช้าง ปัจจุบัน คือ กรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงประเทศลาวผู้สร้างพระพุทธรัศมี คือเจ้าหญิงแก้วยอดฟ้ากัลยาณี ชาวเมืองเรียกว่า เจ้านางเขียวค่อม เป็นธิดาของพระเจ้าพรหมวงศ์ในรัชกาลที่ ๕๔ ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินกรุงศรีสัตตนาคนหุตแห่งอาณาจักรล้านช้างร่มขาว ปัจจุบันคือกรุงเวียงจันทน์ ทรงสร้างไว้ในพระพุทธศาสนาเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๑๙๒๐ เจ้าหญิงองค์นี้ได้มีพระราชศรัทธาสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง มีชื่อว่าวัดนางเขียวค่อมปัจจุบันนี้ขึ้นเป็นอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย พระองค์ได้สร้างพระพุทธรูปทองสำริดขึ้นองค์หนึ่ง ด้วยช่างมีฝีมืออันประณีตในสมัยนั้น เป็นพระสวยงามได้ขนาดถูกต้องตามพุทธลักษณะ และได้อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในพระเกศหลายองค์ ต่อมาบ้านเมืองเกิดศึกสงคราม ทำให้วัดวาอารามบ้านเรือนเสียหาย ชาวบ้านได้อพยพหลบภัยไปตามสภาพของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บ้านเมืองร้างวัดก็พลอยร้างไปด้วย เหลือแต่พระประธานในพระอุโบสถนั้น หลายร้อยปีผ่าน พระอุโบสถก็ปรักหักพังไปตามสภาพของสังขารและกาลเวลา ทับถมพระประธานในอุโบสถ เป็นซากอิฐและก็กลายเป็นโพนดินขนาดใหญ่ต่อมาเจ้าพระยามุขมนตรี (อวม เปาโรหิตย์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรธานีได้ออกตรวจราชการในเขตชายแดน เขตจังหวัดหนองคายได้รับทราบจากการบอกเล่าของชาวบ้านละแวกนั้นว่า มีกองซากอิฐอยู่ในป่าลึก พอถึงวันพระ ๘ คํ่า ๑๕ คํ่า จะเห็นลำแสงเป็นประกายสว่างไสวไปทั่วทั้งป่า จึงให้ชาวบ้านนำทางไปดูจุดนั้น และได้พบกับโพนดินขนาดใหญ่ และให้ชาวบ้านขุดโพนดินออกหมดแล้วพบพระพุทธรูป เจ้าพระยามุขมนตรีจึงนำเรื่องที่ได้พบเห็นมากราบเรียนให้เจ้าประคุณพระธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์จังหวัดอุดรธานีทราบ เจ้าประคุณพระธรรมเจดีย์ กับเจ้าพระยามุขมนตรี สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรธานี พร้อมด้วยคณะสงฆ์และชาวบ้านจำนวนหนึ่งจึงเดินทางไปอันเชิญพระพุทธปฏิมากร มาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถวัดโพธิสมภรณ์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๗ ต่อจากนั้นไม่นาน ท่านเจ้าประคุณพระธรรมเจดีย์ ได้ออกเดินจงกรม ในกลางดึกของคืนวันหนึ่งในบริเวณวัดโพธิสมภรณ์ ท่านเจ้าประคุณฯ ได้เห็นลำแสงสีขาวเป็นประกายสว่างจ้าพุ่งออกจากพระอุโบสถ เมื่อท่านเดินเข้าไปดูในอุโบสถ จึงทราบว่าลำแสงนั้นออกมาจากองค์พระปฏิมากร ลำแสงนั้นสว่างอยู่นานพอสมควรแล้วก็หายวับไป เมื่อท่านเจ้าประคุณพระธรรมเจดีย์ได้เห็นพุทธปาฏิหาริย์ดังนั้น ท่านจึงได้ถวายนามพระประธานในพระอุโบสถวัดโพธิสมภรณ์ว่า “พระพุทธรัศมี” แต่บัดนั้นเป็นต้นมา

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระพุทธรัศมี หรือที่ชาวบ้านจะเรียกกันว่า พระขอ เนื่องจากสามารถขอพรได้สมดังปรารถนา ชาวเมืองอุดรธานีต่างเคารพศรัทธา เดินทางมานมัสการอยู่เป็นนิจ เมื่อถึงเทศการสำคัญทางพระพุทธศาสนาก็จะมีกิจกรรมทำบุญตักบาตรภายในบริเวณวัด ให้พุทธศาสนิกชนได้ร่วมทำบุญและฟังธรรมเทศนา

[/ultimate_modal]
bcdeae_306d0d59319c459f9a25753858e763d2_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่แก้ว” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

หลวงปู่แก้ว วัดอัมพวันวิทยาราม บ้านเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะลาว มีขนาดหน้าตักกว้าง ๘๓ นิ้ว สูง ๑๔๕ นิ้ว

 

ประวัติการสร้าง

หลวงปู่แก้ว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในวิหารภายในกำแพงแก้ว พระอุโบสถวัดอัมพวันวิทยารามบ้านเพีย กล่าวกันว่าหลวงปู่แก้ว เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยพระยาคงคาครองเมืองราชคฤห์ โดยมีอ้ายใหญ่เชียงคงและเฒ่าสุดินเป็นช่างก่อสร้าง ภายในหัวใจของหลงปู่แก้วมีแก้วสารพัดนึกอยู่มากมาย ส่วนแขนและขามีงาช้างลงอักขระเป็นแกน จึงถือเป็นองค์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่มีคนเคารพนับถือสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยเมืองราชคฤห์ หลังจากที่พระยาคงคาและพระยาเชียงสาพ่าย
แพ้แก่กองทัพของพระวอพระตา และกวาดต้อนผู้คนกลับนครเวียงจันทน์ ปล่อยให้เมืองราชคฤห์ ตลอดทั้งวัดวาอารามต่าง ๆ รกร้างต้นไม้ขึ้นปกคลุม เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาพันธุ์ ต่อมาได้มีหมอช้างชื่อนายคำมี มาจากบ้านผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ มาคล้องช้างป่าที่บริเวณอำเภอหนองวัวซอปัจจุบัน ได้นำช้างป่าที่คล้องได้ จำนวน ๑ เชือกมาเลี้ยงไว้ที่กุดโป่งบ้านโสกแก และได้เที่ยวดูทำเลพื้นที่ เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะแก่การทำไร่ทำนา โดยเฉพาะบริเวณหนองไฮ หนองจำปา (บริเวณบ้านเพียปัจจุบัน) จึงกลับไปนำญาติพี่น้องมาเลือกจับจองที่ดินและที่ตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นใหม่ ในระยะแรกมีนายคำมี กำนันลี พ่อตู้ดี เฒ่างูเหลือม และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านเพีย” โดยนำชื่อนางเพียภรรยาของพระยาคงคามาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน เพราะเห็นว่านางเพียเป็นผู้มีจิตใจรักสงบไม่ชอบการรบราฆ่าฟัน เมื่อตั้งหมู่บ้านเพียขึ้นแล้ว ก็มีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นและกลายเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่

ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ ได้ย้ายวัดมาจากบริเวณตลาดสุขาภิบาลกุดจับ มาอยู่บริเวณวัดอัมพวันวิทยารามปัจจุบัน ก็เริ่มปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปหลวงปู่แก้ว โดยมีพระครูสถิตธรรมรัตน์ (หลวงปู่โถน) เจ้าคณะตำบลกุดจับ ได้ซ่อมแซมพระสอให้อยู่ในสภาพเดิม ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ ได้ปรับพื้นที่เพื่อที่จะทำการก่อสร้างวิหารประดิษฐานหลวงปู่แก้ว ได้พบพระพุทธรูปและวัตถุมงคลมากมาย ข่าวแพร่ไปยังผู้ที่เคารพนับถือ ยิ่งเพิ่มแรงศรัทธามากขึ้นและได้ลงมือทำการปลูกสร้างพระวิหารแก้ว เพื่อเป็นที่ประดิษฐานหลวงปู่แก้วดังที่เห็นในปัจจุบัน

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

การเดินทางไปสักการระหลวงปู่แก้ว สามารถไปได้ทุกวัน ไม่ต้องมีพิธีการมากมาย เพียงนำดอกไม้ธูปเทียนไปสักการะอธิษฐานจิต และขอพรให้สมดังปรารถนา แต่อย่างไรก็ตาม หลวงปู่แก้วเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของตำบลบ้านเพีย ชาวบ้านจะร่วมกันจัดงานนมัสการหลวงปู่แก้วเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ทางวัดร่วมกับชาวบ้านจัดเป็นงานบุญใหญ่เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มาสักการะ ทำบุญ ฟังธรรมเทศนา ภายในงานมีกิจกรรมรื่นเริงแบบวิถีชาวบ้านมากมายให้ผู้ร่วมงานได้เที่ยวชม

[/ultimate_modal]
bcdeae_ae1c323c13a54940a743da435afe67a2_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระนอนวัดสว่างอารมณ์” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระนอนวัดสว่างอารมณ์ วัดสว่างอารมณ์ (วัดถํ้าศรีธน) อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ เป็นพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์
ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ มีความยาว ๑๐ เมตร สูง ๑.๕ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระนอนวัดสว่างอารมณ์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์ หรือวัดถํ้าศรีธน ซึ่งเป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดบึงกาฬ ตั้งอยู่บริเวณลานหินเนินเขาอำเภอปากคาด มีความเป็นมาเล่าว่า เดิมบริเวณนี้เป็นที่อยู่ของชาวอำเภอปากคาด ซึ่งอพยพมาจากบ้านปากกล้วย แขวงปากซัน ประเทศลาว และยังเป็นป่าดงดิบรกทึบ เต็มไปด้วยสัตว์ป่าหลากหลายชนิด ในแต่ละปีก็จะมีพระภิกษุสงฆ์ธุดงค์มาอยู่เป็นประจำ เนื่องจากเป็นสถานที่เงียบสงบ เหมาะแก่การเจริญภาวนา ต่อมาพระอธิการค่อน อินทสาโร หรือหลวงปู่ค่อน ซึ่งเป็นพระที่ชาวบ้านปากคาดให้ความเคารพนับถือ ได้สร้างวัดและพระพุทธรูปปางไสยาสน์ และพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานไว้ที่วัดแห่งนั้นเพื่อให้ผู้คนได้สักการะบูชา เช่นพระพุทธบาทจำลอง พระพุทธรูปไสยาสน์ ประวัติท้าวศรีธน ก้อนกินสามก้อนในตำนาน (ครั้งเมื่อท้าวศรีธนทดลองดาบ วิชาอาคม หลังจากรํ่าเรียนวิชาจากปู่ฤาษีจนสำเร็จ) อีกทั้งบริเวณภายในวัดมีทัศนียภาพที่สวยงาม และเงียบสงบน่าเลื่อมใส สมารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ไกลจนเห็นฝั่งลาว เหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่าวัดถํ้าศรีธนสันนิษฐานว่าอยู่ใกล้กับเมืองเปงจานครของท้าวศรีธน จึงตั้งตามชื่อเจ้าเมือง

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

ชาวอำเภอปากคาด ให้ความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธไสยาสน์และวัดถํ้าศรีธนเป็นอย่างมาก มีผู้เดินทางมาสักการะอยู่เสมอในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะมีชาวพุทธเดินทางมานมัสการกันอย่างเนืองแน่น อีกทั้งวัดนี้เปรียบเสมือนแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง ผู้คนที่มาท่องเที่ยวก็ถือโอกาสมานมัสการพรพุทธไสยาสน์ด้วยเช่นกัน

[/ultimate_modal]

พระพุทธรูปในอีสานตอนกลาง

bcdeae_195e297d2d654f478f830d4526e769f1_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่พระพุทธรูปใหญ่” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

หลวงปู่พระพุทธรูปใหญ่ วัดพุทธประดิษฐ์ บ้านโพน ตำบลโพนทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
ศิลปะลาว ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๖ เมตร สูง ๒.๔ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

หลวงปู่พระพุทธรูปใหญ่ หรือ พระครูบาใหญ่ ตามคำเรียกขานของคนเฒ่าคนแก่ ส่วนชาวบ้านอื่นจะเรียกว่า พระใหญ่บ้านโพน หลวงปู่เป็นพระพุทธรูปเจดีย์ ประเภทอุเทสิกเจดีย์ (สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศแด่พระพุทธเจ้า) เข้าใจกันว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยขอม แต่เมื่อพิจารณาจากพระพักตร์ ใบหู และยอดเศียร อายุการสร้างไม่น่าจะเกิน ๒๐๐ ปี อยู่ช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระพุทธรูปลักษณะนี้จะพบเห็นอยู่หลายแห่งในภาคอีสานและทั่วไปในประเทศลาว จึงสามารถสรุปได้ว่าเป็นศิลปะช่างสกุลลาว ที่อพยพมาจากเหตุวุ่นวายในราชสำนักเวียงจันทน์ ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ไล่ต้อนชาวลาวมาอยู่ทางภาคอีสานของไทย และก็มีช่างฝีมือดีได้อพยพมาในครั้งนี้ด้วย เมื่อสามารถสร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ได้แข็งแรงมั่นคงแล้ว ก็มีการสร้างวัดและสร้างพระพุทธรูปและอัญเชิญประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ พระพุทธรูปใหญ่ก็เช่นเดียวกัน แต่เดิมทีประดิษฐานอยู่ในอุโบสถเล็กๆ ทรุดโทรมหลังหนึ่งในป่ารกร้าง มีชาวบ้านมาสร้างบ้านในบริเวณใกล้เคียง จึงได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างวิหารให้พระพุทธรูปใหญ่ จากนั้นมาจนบัดนี้นับเวลามากกว่าร้อยปีพระพุทธรูปใหญ่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านในละแวกนั้น ไม่ว่าใครจะทำการสิ่งใดก็จะมาจุดธูปบอกกล่าวพระพุทธรูปใหญ่เพื่อเป็นสิริมงคล

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

ในรอบหนึ่งปีหลังจากประเพณีสงกรานต์ จะมีการทำพิธีสรงนํ้าหลวงปู่พระพุทธรูปใหญ่ขึ้นและถือเป็นประเพณีประจำปีทำขึ้นหลังประเพณีสงกรานต์ ประมาณช่วงปลายเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม การกำหนดวันจะกำหนดเองโดยทำพิธีเซียงข้องเสี่ยงทาย หากเซียงข้องบอกให้จัดวันใดก็จะจัดขึ้นในวันนั้น เชื่อว่าเป็นความประสงค์ของหลวงปู่พระพุทธรูปใหญ่ มีผู้มาร่วมงานจากทุกพื้นที่แต่ละปีร่วมหมื่นคน จัดงานสามวันสามคืน หรือมากว่าตามผลของการเสี่ยงทายเซียงข้อง การทำพิธีเซียงข้องส่วนใหญ่จะทำปีละครั้งแต่หากเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติในชุมชนก็จะทำพิธีเซียงข้อง เพื่อให้หลวงปู่ช่วยชี้แนะแก้ปัญหาให้กับชุมชน

[/ultimate_modal]
bcdeae_929b0cb9fc7149fb93e61743fd5a01e9_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระพุทธมงคลนิมิต” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระพุทธมงคลนิมิต วัดบ้านเปลือยใหญ่ ตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชรศิลปะสมัย
กรุงรัตนโกสินทร์ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๖ นิ้ว สูง ๓๒ นิ้ว

 

ประวัติการสร้าง

พระพุทธมงคลนิมิต เป็นพระพุทธรูปโลหะขนาดใหญ่องค์แรกของวัดบ้านเปลือยใหญ่ ได้มาจากวัด ศิริอำมาตย์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยสามเณรนำมาเป็นพระประธานประจำศาลาการเปรียญของวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๗๒ พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปโลหะผสมทองเหลืองปางสมาธิเพชร (สมาธิเพชรคือขาทั้งสองข้างขัดไขว้กัน เท้าทั้งสองข้างไม่สัมผัสพื้น) ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๖ นิ้ว สูง ๓๒ นิ้ว (ไม่รวมฐานและรัศมี) พุทธานุภาพเป็นพระประธานประจำศาลาการเปรียญในการประกอบศาสนพิธีต่างๆ ของชาวบ้านในจังหวัดร้อยเอ็ดมากว่าแปดสิบปี เป็นที่พึ่งทางจิตใจ ให้กับพุทธศาสนิกชนชาวเมืองร้อยเอ็ด

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

ชาวบ้านในเขตอำเภอเมือร้อยเอ็ดจะไปอัญเชิญพระพุทธมงคลนิมิต ไปเป็นพระประธานในพิธีงานบุญใหญ่ บุญผะเหวดเพื่อปิดทองและเสี่ยงทายในกิจกรรมคีรีวงกต ให้นิมิตโชคลาภและความร่มเย็นตลอดมา

[/ultimate_modal]
bcdeae_25007e37090748a3ba4db890aeae4270_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระชินวรณ์” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระชินวรณ์ วัดเจริญผล (วัดใต้) ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย
จังหวัดมหาสารคาม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะแบบลาว มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๑๓๕ เซนติเมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระชินวรณ์ หรือพระพุทธชินวรณ์เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่พร้อมกับตั้งเมืองท่าขอนยาง หรือตำบลท่าขอนยางในปัจจุบันมีบันทึกทางประวัติศาสตร์เล่าว่า ในครั้งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ ปี ๒๓๗๙ ได้กวาดต้อนชนเผ่าต่างๆ มายังดินแดนทางอีสาน ซึ่งหนึ่งในนั้นมีเจ้าคำก้อนเป็นเจ้าเมืองคำเกิดมาก่อน ถูกต้อนมาเป็นครอบครัวใหญ่ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่นํ้าชี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าพระราชทานให้สถานที่แห่งนั้นเป็นเมืองท่าขอนยาง
ให้เจ้าคำก้อน เป็นเจ้าเมืองคนแรก ขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ ชาวบ้านได้ทำมาหากินและร่วมกันก่อร่างสร้างวัดขึ้นมา ๓ แห่ง อาศัยอยู่เมืองขอนยางมาจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๐๘ มีเจ้าเมืองผ่านมาถึง ๓ ท่าน และไม่มีเจ้าเมืองปกครองต่อ ความสำคัญจึงลดน้อยลง ถูกยุบลงให้เป็นแค่ตำบลท่าขอนยางมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธชินวรณ์ พระพุทธรูปปูนปั้นเก่าแก่ปางมารวิชัย สันนิษฐานว่าชาวเมืองคำเกิดได้อัญเชิญมาด้วยครั้งที่ถูกกวาดต้อนเมื่อสามารถสร้างเมืองให้มั่นคงแล้วจึงมีการสร้างวัดและอัญเชิญพระพุทธชินวรณ์ขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถพระพุทธชินวรณ์มีพุทธศิลป์แบบช่างสกุลลาวโดยแท้ หากพิจารณาแล้ว จะมีรูปแบบพุทธศิลป์เหมือนกันกับหลวงพ่อพระสุกและหลวงพ่อพระใสที่ประดิษฐานอยู่ที่หนองคาย

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระพุทธชินวรณ์ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองประจำจังหวัดมหาสารคามมา ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อก็เป็นที่
เลื่องลือกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประชาชนทั้งใกล้และไกลต่างเดินทางมาสักการะบนบานต่อพระพุทธชินวรณ์กันไม่ขาดสายความศักดิ์สิทธิ์ของท่านสามารถดลบันดาลให้สำเร็จลุล่วงไปได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ให้ติดทหาร ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข ด้วยบารมีท่านทำให้ผู้คนที่มาบนบานต่างประสบผลตามที่มุ่งหมาย จึงทำให้เป็นที่เล่าขานกันต่อๆ ไป ถึงความศักดิ์สิทธิ์และที่สำคัญเมื่อสวดขอบารมีจากท่านจะเกิดเหตุการณ์ฝนตกลงมาให้ชาวบ้านได้ชุ่มเย็นทุกครั้ง ประชาชนที่มีใจเลื่อมใสศรัทธาต่างพร้อมใจกันมาสักการะบูชาและสรงนํ้าขอพรในวันสงกรานต์ของทุกๆปี

[/ultimate_modal]
bcdeae_41fd620c35f9421a9377e837c008c010_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย (หลวงพ่อองค์ดำ) วัดกลาง พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะแบบลาว มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔๑ เซนติเมตร สูง จากฐานถึงยอดพระเมาลี ๗๕ เซนติเมตร

 

ประวัติการสร้าง

หลวงพ่อองค์ดำ หรือพระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกาฬสินธุ์ หล่อด้วยทองคำแดงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีประวัติการสร้างที่ถูกจารึกไว้ด้วยอักษรสมัยหลวงพระบางโดยสามารถสรุปได้ว่า ญาคูนาขามหรือญาคูกิว พร้อมด้วยอุบาสก อุบาสิกาได้ร่วมกันจัดสร้างขึ้นราว จุลศักราช ๑๗๒ ขึ้น ๒ คํ่า เดือน ๑๕ ปีมะเมียเดิมทีนั้นหลวงพ่อองค์ดำประดิษฐานอยู่ที่วัดนาขาม ตำบลนาคู อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์แต่ต่อมาพระยาชัยสุนทรได้อัญเชิญมาจากบ้านนาขามโดยใส่หลังช้างมาประดิษฐานในโฮงเจ้าเมือง ต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐานในวิหารวัดกลาง ซึ่งปัจจุบันเป็นหอพระในสมัยนั้นญาคูอ้มเป็นเจ้าอาวาส แต่เมื่อครั้งพระครูสุขุมวาทวรคุณ (สุข สุขโณ) เป็นเจ้าอาวาสจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานบนกุฏิของท่าน

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

มีความเชื่อกันว่า หลวงพ่อองค์ดำสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่กราบไหว้แก่ทั้งคนและเทวดา ขอให้เป็นปัจจัยได้บรรลุพระนิพพานที่เที่ยงแท้มั่นคงตามที่มุ่งหวัง หลวงพ่อพระองค์ดำจึงถือเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้คนต่างเลื่อมใสศรัทธาว่าเป็นพระพุทธรูปที่นำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ประชาชนทั้งปวง ทุกๆปีในวันสงกรานต์ชาวเมืองกาฬสินธุ์จะอัญเชิญหลวงพ่อพระองค์ดำแห่รอบเมือง เพื่อให้ชาวบ้านชาวเมืองได้สรงนํ้าขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัว และในทุกๆครั้งปรากฏว่ามีฝนตกให้ประชาชนได้ชุ่มฉํ่า แม้ว่าจะเป็นฤดูร้อนก็ตาม ชาวเมืองกาฬสินธุ์จึงได้เรียกหลวงพ่อพระองค์ดำในอีกชื่อหนึ่งว่า “หลวงพ่อชุ่มเย็น”

[/ultimate_modal]
bcdeae_9b6736a7866b423f9b4a8ad8f3cc04ff_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี (หลวงพ่อใหญ่) วัดบูรพาภิราม อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพระพุทธรูปปางประทานพรศิลปะแบบชาวบ้านช่างอีสาน มีความสูงจากพระบาทถึงยอดเกศสูง ๕๙ เมตร ๒๐ เซนติเมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระพุทธรัตนมงคลมหามุนีเป็นที่เคารพสักการะของชาวร้อยเอ็ด และชาวพุทธไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ต่างพากันมาสักกาโมเสกสีเนื้อแลเห็นเด่นชัด ศิลปะแบบพื้นบ้าน องค์พระรวมฐานแล้วมีความสูงทั้งสิ้น ๖๗.๕๕ เมตร (รวมฐาน) เป็นพระพุทธรูปยืนองค์สูงที่สุดในประเทศไทยและสูงที่สุดในโลก นำการก่อสร้างโดยพระราชปรีชาญาณมุนี (พุทธา สิริวุฑฺโฒ) อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพาภิรามรูปที่ ๕ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (มหานิกาย) พระนักพัฒนา พระผู้ศรัทธาการก่อสร้างศาสนสถานและปูชนียสถานต่างๆโดยประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง ๘ ปีพระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ติดกระเบื้องโมเสกสีเนื้อ ด้านหลังซึ่งเป็นฐานพิงขององค์พระนั้นมีพระเจดีย์ ขนาดความสูง ๙ เมตรซึ่งภายในประดิษฐานพระบรมสาริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย โดยฐานพระพุทธรูปยืนองค์นี้เป็น ห้องพิพิธภัณฑ์ จำนวนหลายห้อง นอกจากนี้พระพุทธรัตนมงคลมหามุนียังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด และปรากฏอยู่เป็นหนึ่งในคำขวัญของเมืองร้อยเอ็ด ด้วย ในวรรคที่ว่า “เรืองนามพระสูงใหญ่” ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชธรรมโสภณ (จำปี จนฺทธมฺโม) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระสิริวุฒิเมธี อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพาภิรามรูปที่ ๖ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (มหานิกาย) ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรัตนมงคลมหามุนีหรือหลวงพ่อใหญ่ โดยกะเทาะกระเบื้องโมเสกที่ชำรุดลงฉาบปูนใหม่ทั้งองค์ และทาองค์พระด้วยสีทองพร้อมทั้งบูรณะกำแพงแก้วรอบองค์พระพุทธลักษณะของพระพุทธรูปยืนปางประทานพรองค์นี้ค่อนข้างสูงชะลูด มองดูไม่ได้สัดส่วนสมจริง สันนิษฐานว่าออกแบบก่อสร้างโดยช่างท้องถิ่น สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาต่อพระพุทธศาสนามากกว่าจะเน้นความสวยงามขององค์พระ เป็นความวิริยะอุตสาหะอย่างสูงของ พระราชปรีชาญาณมุนี (พุทธา สิริวุฑฺโฒ) ที่เป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างพระยืนสูงที่สุดองค์นี้ให้เป็นศรีสง่าแก่เมืองร้อยเอ็ดสืบต่อไป

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระพุทธรัตนมงคลมหามุนีเป็นที่เคารพสักการะของชาวร้อยเอ็ด และชาวพุทธไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ต่างพากันมาสักการะบนบานขอพร และก็ได้สมความมุ่งหมายเสมอ นอกจากนี้ยังมีพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้มาจากอินเดียประดิษฐานอยู่ ในแต่ละวันจึงมีทั้งชาวพุทธและนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาสักการะเยี่ยมชม

[/ultimate_modal]
bcdeae_cf3f38b9fad94d1ea12c75518ba349b5_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงพ่อพระลับ” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

หลวงพ่อพระลับ วัดธาตุ พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะลาว สกุลช่างเวียงจันทน์ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑ นิ้ว สูง ๒๙ นิ้ว

 

ประวัติการสร้าง

หลวงพ่อพระลับ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสำริด ประทับนั่งขัดสมาธิราบ เล่ากันว่า สร้างมาตั้งแต่สมัยหลวงพระบาง เมื่อพุทธศักราช ๒๐๙๐ พม่ายกทัพมาตีเมืองหลวงพระบาง พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๑ จึงต้องอพยพไพร่พลทรัพย์สิน และพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ออกมาตั้งเมืองใหม่ คือนครหลวงเวียงจันทน์ เมื่อครั้งพระยาแสนสุรินทร์ยึดเมืองเวียงจันทน์ทำให้ราชวงศ์ต้องหลบหนีไปอยู่เมืองจำปาสัก เจ้าหน่อคำผู้ครองนครจึงให้เจ้าแก้วมงคลนำพระพุทธรูปที่ขนมาจากเวียงจันทน์ไป
ตั้งเมืองใหม่ที่สุวรรณภูมิ (จังหวัดร้อยเอ็ด) มีเจ้าเมืองสืบต่อมาจนถึงสมัยของท้าวภู จึงให้ลูกชาย คือท้าวศักดิ์ อพยพชาวบ้านและนำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ไปเป็นมิ่งขวัญในการตั้งเมืองใหม่ แต่เดิมตั้งอยู่บริเวณแม่นํ้าชี ต่อมาจึงย้ายมาบริเวณบ้านบึงบอน เมื่อสร้างเมืองเสร็จก็ได้มีการสร้างวัดขึ้น ๔ วัด คือวัดเหนือวัดกลางวัดใต ้ และวัดท่าแขก ท้าวศักดิ์เกรงว่าจะมีโจรมาขโมยพระพุทธรูป ก่อนที่วัดจะสร้างเสร็จ จึงได้นำพระพุทธรูปไปซ่อนไว้อย่างลับที่สุด รู้เพียงแค่เจ้าอาวาสเท่านั้น คนทั้งหลายจึงขนานนามว่า “พระลับ” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีพระบรมราชโองการยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็นจังหวัดขอนแก่น วัดเหนือจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดธาตุพระอารามหลวง มาตั้งแต่นั้น

ครั้นสมัยหลวงปู่พระเทพวิมลโมลีเป็นเจ้าอาวาส เกรงว่าต่อไปจะไม่มีผู้รู้จักพระลับ จึงได้เชิญนายกวี สุภธีระ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้นมาเป็นสักขีพยาน ในการเผยพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองขอนแก่นเมื่อวันออกพรรษาปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๔ คํ่า เดือน ๑๐ ปีจอ (๑๘ ตุลาคม ๒๕๓๗) ประชาชนชาวเมืองจึงได้รู้จักพระลับ และมีความเลื่อมใสศรัทธานับตั้งแต่นั้นจนปัจจุบัน

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

หลวงพ่อพระลับเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดขอนแก่น พุทธศาสนิกชนต่างหลั่งไหลแวะเวียนมาสักการะไม่ขาดสายเมื่อมีการเริ่มต้นสิ่งใดก็จะมาขอพรหลวงพ่อพระลับ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในกิจการนั้นๆ และทุกปีเมื่อถึงเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา จะคับคั่งไปด้วยมหาชนผู้มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มาทำบุญสรงนํ้าขอพรหลวงพ่อพระลับ เพิ่มสิริมงคลแก่ตนเอง

[/ultimate_modal]
bcdeae_e341b758ac0b4fe38361969118230da1_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงพ่อพระศรีปัญญาสภูริฐาน” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

หลวงพ่อพระศรี ๕๐ ปี มข. หรือหลวงพ่อพระศรีปัญญาสภูริฐาน เป็นพระพุทธรูปไม้สักทองทั้งองค์ ประดิษฐานที่หอพุทธศิลป์ ณ พุทธศิลป์สถาน สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่สร้างตามต้นแบบหลวงพ่อพระใส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยล้านช้าง มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๔๐ เมตร สูง ๓.๒๐ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

ในวาระครบรอบ ๕๐ ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีดำริในการสร้างพระพุทธรูปเพื่อเป็นที่สักการบูชาและเป็นสิริมงคลแก่บุคลากรและประชาชนทั่วไป ซึ่ง รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ ผู้ได้รับมอบหมายจึงได้ดำเนินการกำหนดรูปแบบการสร้างพระพุทธรูปโดยใช้ฐานความรู้งานวิจัยที่ศึกษาเรื่องพระพุทธรูปไม้ในภาคอีสาน ในการสร้างพระพุทธรูปไม้ในโอกาสสำคัญยิ่งนี้ มีกระบวนการมีส่วนร่วมจากบุคลากรและชุมชนหลายฝ่าย ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและคัดเลือกไม้มงคลตลอดจนกระบวนการแกะสลักองค์พระซึ่งมุ่ง
สะท้อนความงดงามของพระพุทธรูปผ่านศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน จึงสำเร็จเป็นพระพุทธรูปไม้สักทองทั้งองค์ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง ๒.๔๐ เมตร สูง ๓.๒๐ เมตร นับเป็นพระพุทธรูปไม้องค์ใหญ่ที่สุดที่สะท้อนอัตลักษณ์ของอีสานตามต้นแบบของหลวงพ่อพระใสที่สร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งอาณาจักรล้านช้าง มีชื่อว่า “หลวงพ่อพระศรี ๕๐ ปี มข.” หรือ “พระศรีปัญญาสภูริฐาน” หมายถึง หลวงพ่อพระศรีที่ประดิษฐานไว้ ณ แหล่งภูมิปัญญาดังแผ่นดิน ในวาระ ๕๐ ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการสร้าง และเป็นนัยว่าสร้างเพื่อสืบทอดต่อจากกลุ่มพระพุทธรูปในภาคอีสาน โดยมีหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย เป็นต้นแบบ ซึ่งเป็นกลุ่มพระพุทธรูปที่มีชื่อแบบท้องถิ่น เช่น พระสุก พระเสริม พระใสและพระแสง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระแสงวัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม และพระใสวัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย นับเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญในภาคอีสาน

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

การสร้างหลวงพ่อพระศรี ๕๐ ปี มข. มุ่งให้เกิดความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตและชุมชนโดยมีกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนมีพิธีกรรมตามคติความเชื่อ ความศรัทธา และความสามัคคีของชุมชนท้องถิ่นอีสาน ที่จะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ดังนั้นฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์โดยสำนักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับวัดไชยศรี ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้มีการสมโภชหลวงพ่อพระศรี ๕๐ ปี มข. ขึ้นตามประเพณีท้องถิ่นอีสาน และกำหนดให้มีการสักการบูชาหลวงพ่อพระศรี ๕๐ ปี มข. ในช่วงเทศกาลลอยกระทงของทุกปีเพื่อให้เป็นพระเพณีและสิริมงคลแก่บุคลากร นักศึกษา และประชาชนสืบไป

[/ultimate_modal]
bcdeae_bc0f124849664589a83806268aaa0cac_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระพุทธไสยาสน์ภูค่าว” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระพุทธไสยาสน์ภูค่าว วัดพุทธนิมิต บ้านนาสีนวล ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ศิลปะแบบขอม มีความยาว ๒ เมตร สูง ๐.๕ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระพุทธไสยาสน์ภูค่าว สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๘ พร้อมกับองค์พระธาตุพนม สันนิษฐานว่าเป็นพระมหาโมคคัลลานะพระอัครสาวกเบื้องซ้ายขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีตำนานเล่าขานว่า ในครั้งนั้นพระเจ้าศรีโคตรบูรณ์ได้จัดให้มีการสมโภชองค์พระธาตุพนมอย่างยิ่งใหญ่ จึงได้มีการบอกข่าวไปทางหัวเมืองขอมด้านเขมรตํ่าที่เป็นหัวเมือง เพื่อให้รวบรวมทรัพย์สมบัติมีค่าขึ้นมาร่วมสมโภชพระธาตุพนมด้วยกัน เมื่อทางเขมรตํ่าได้ทราบความดังนั้นจึงได้แต่งตั้งให้ “นายสา” พร้อมกับพรรคพวกรวบรวมทรัพย์
สมบัติมีค่าเดินทางขึ้นมาตามทางเมืองร้อยเอ็ด การเดินทางในครั้งนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก พร้อมทั้งทรัพย์สมบัติเหล่านั้นก็เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางของคณะด้วย ครั้นนายสาและพรรคพวกได้เดินทางมาถึงบ่อนํ้าซับคำม่วง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของภู่ค่าวไม่ไกลนัก และได้มีการพักแรมอยู่ ณ ที่นั้น จึงได้ทราบข่าวว่าองค์พระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว นายสากับพรรคพวกจึงได้ปรึกษาหารือเพื่อจัดการกับทรัพย์สมบัติที่ตั้งใจจะนำมาสมโภชพระธาตุพนม เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะนำกลับก็เป็นการไม่
สมควรและยังเป็นภาระต่อการเดินทางอีกด้วย ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าจะฝังทรัพย์สมบัติทั้งหมดไว้เสียที่นี่ จึงได้ลงมือแกะสลักพระนอนตะแคงซ้าย (โดยปกติพระพุทธรูปปางไสยาสน์จะนอนตะแคงขวา) ไม่มีเกตุมาลา หันเศียรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นทิศที่องค์พระธาตุพนมตั้งอยู่ มีความยาวประมาณ ๒ เมตร ถูกสลักไว้บนแผ่นหินในถํ้าและได้ฝังทรัพย์สมบัติทั้งหมดไว้ ณ ที่แห่งนั้นพร้อมฝากคำปริศนาให้ผู้คนรุ่นต่อมาได้เข้าใจว่าเป็นลายแทงแห่งทรัพย์สมบัติทั้งหมด โดยมีใจความว่า “พระหลงหมู่อยู่ภูถํ้าบกแสงตาตกมีเงิน ๗ แสน คำ ๗ แสน ไผหาได้กินทานหาแหน่ เหลือจากนั้นกินเลี้ยงบ่หลอ”

ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) อดีตปฐมสังฆนายกแห่งคณะสงฆ์ไทย วัดบวรนิเวศราชวรวิหารกรุงเทพมหานคร ได้มากราบพระไสยาสน์องค์นี้ และเมื่อเดินทางกลับได้มีบัญชาให้อธิบดีกรมศิลปากรจดทะเบียนพระพุทธไสยาสน์ภูค่าวเป็นปูชนียวัตถุโบราณ แห่งแรกของจังหวัดกาฬสินธุ์

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

จากคำปริศนาที่นายสาและพรรคพวกได้ทิ้งไว้ ทำให้ผู้คนต่างเชื่อว่ามีทรัพย์สมบัติมากมายถูกซุกซ่อนอยู่ จึงมีคนมากมายเข้าไปขุดหาทรัพย์สมบัติ แต่แล้วต่างก็พากันมีอันเป็นไปทุกราย ชาวบ้านทั้งใกล้ไกลจึงเกิดความเลื่อมใส เดินทางมาสักการะอธิษฐานขอพรอยู่เป็นนิจ ด้วยศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ในช่วงเดือนเมษายนหรือช่วงประเพณีสงกรานต์จะมีการจัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่เพื่อไปสรงนํ้าขอพรให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตน ประเพณีนี้ได้มีการจัดขึ้นมาทุกๆ ปีเป็นเวลานานและยังถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน

[/ultimate_modal]
bcdeae_b2c95f9d574f495bb43c3ade42ee2532_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระพุทธไสยาสน์ภูปอ” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระพุทธไสยาสน์ภูปอ วัดอินทร์ประทานพร หรือ พุทธสถานภูปอ ตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ศิลปะแบบทวารวดี มีด้วยกัน ๒ องค์ องค์แรกมีความยาว ๓.๓ เมตร สูง ๑.๒๗ เมตร นูนจากพื้นหิน ๐.๕๕ เมตร ส่วนองค์ที่สองมีความยาว ๕.๒ เมตร สูง ๑.๕ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระพุทธไสยาสน์ภูปอ เป็นพระพุทธไสยาสน์จำหลักไว้บนผาหินโบราณสององค์ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์น่าจะมีอายุราว ๑,๕๐๐ ปี ในยุคสมัยทวารวดีเป็นต้นมา เป็นศิลปะงดงามอ่อนช้อย โดยมีประวัติเล่าต่อๆ กันมาว่าพระพุทธไสยาสน์ ๒ องค์นี้สร้างขึ้นสมัยพระธาตุพนม โดยในช่วงที่มีการสร้างพระธาตุพนมนั้น พุทธศาสนิกชนที่อยู่หัวเมืองต่างๆ พากันหลั่งไหลมากจากทั่วทุกสารทิศทุก ชาวพุทธที่มีจิตศรัทธาเมื่อทราบข่าวการสร้างพระธาตุพนมก็มีความมุ่งมั่นตั้งใจจะมาร่วมสร้างพระธาตุ โดยไม่ได้
คำนึงถึงความยากลำบากแม้แต่ประการใด บ้างก็ไปทันสร้างบ้างก็ไปยังไม่ถึง องค์พระธาตุพนมได้สร้างเสร็จสิ้นเสียก่อน แต่ชาวพุทธที่มีจิตศรัทธาก็ไม่ยอมละความตั้งใจปล่อยให้การเดินทางมาเปล่าประโยชน์ จึงร่วมกันสร้างพระพุทธรูปปางปรินิพพานไว้ ๒ องค์ณ พุทธสถานภูปอแห่งนี้

ลักษณะศิลปกรรมภาพสลักพระนอนองค์แรก สร้างตามศิลปกรรมแบบทวารวดีสกุลช่างอีสานอย่างเห็นได้ชัดลักษณะศิลปกรรมภาพสลักพระนอนองค์ที่สอง สร้างขึ้นในสมัยหลังเพื่อสืบทอดคตินิยมการสร้างพระพุทธไสยาสน์ เพื่อสักการบูชา ทั้งนี้ได้สร้างขึ้นตามแบบอย่างพุทธศิลป์แบบทวารวดีที่มีพระนอนที่อยู่เชิงเขาเป็นต้นแบบ ผสมผสานกับพุทธศิลป์แบบสุโขทัยที่ปรากฏอยู่ร่วมสมัยกับผู้สร้าง ทำให้พระพุทธไสยาสน์องค์นี้แสดงลักษณะความเรียบง่ายสง่างามแบบศิลปกรรมทวารวดี

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

ด้วยความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธไสยาสน์ จึงก่อให้เกิดประเพณีสรงนํ้า ปิดทองพระพุทธไสยาสน์ ณ พุทธสถานภูปอ ในเทศกาลวันสงกรานต์และทุกวันเพ็ญเดือน ๖ หรือถ้าปีที่มีเดือน ๘ สองหนจะเป็นวันเพ็ญเดือน ๗ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนจะหลั่งไหลมาสรงนํ้าขอพร มีการจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตรกันอย่างยิ่งใหญ่ เปี่ยมไปด้วยความเลื่อมใสศรัทธาประเพณีนับถือปฏิบัติสืบต่อกันมาทุกๆ ปีจนถึงปัจจุบัน

[/ultimate_modal]
bcdeae_fdf5d5e9d3be4ac3b5bbcdafb7c39b45_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล ๒ องค์” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล ๒ องค์ บ้านพระยืน ตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรและนาคปรกศิลปะสมัยขอมโบราณ

 

ประวัติการสร้าง

หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล เป็นพระพุทธรูปศิลาปางอุ้มบาตรและปางนาคปรก สร้างขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือเรียกว่าสมัยขอมโบราณของอาณาจักรขอม ในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ เป็นโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นบูชาสักการะในสมัยขอมเรืองอำนาจ หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคลมี ๒ องค์ คือ หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคลเหล่าตะวันออก และหลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคลเหล่าตะวันตก หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคลเหล่าตะวันออก ประดิษฐานอยู่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านพระยืน เรียกว่าองค์ตะวันออก เพราะอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านพระยืน มีอาณาบริเวณเฉพาะ สร้างศาลาเป็นที่กำบังแดดฝนอย่างดี ส่วนหลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคลเหล่าตะวันตก ประดิษฐานอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้านพระยืน ซึ่งแต่เดิมคนรุ่นเก่าเล่าว่า เป็นพระพุทธรูปยืน แต่ถูกโจรทุบทำลาย ดังคำบอกเล่าในศิลาจารึกที่ฐานพระพุทธรูปที่จารึกไว้ เมื่อคราวปฏิสังขรณ์เสร็จเมื่อรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑ ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๓๕ พระพุทธรูปศิลาทั้งสององค์นี้ เป็นพระที่มีพุทธลักษณะแบบสกุลช่างของขอมโดยแท้จริง คือ เป็นพระนาคปรกมีอายุราว ๑,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

จากตำนานการสร้างพระยืนมิ่งมงคล ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑ ชาวบ้านพระยืนจึงถือเอาวันนี้จัดงานเทศกาลบุญเหล่าเป็นประจำทุกปี จะมีการทำบุญใหญ่ถือเป็นงานระดับอำเภอ ชาวบ้านใกล้เคียงต่างเดินทางมาร่วมสักการะขอพรพระยืนมิ่งมงคลเพื่อหวังให้สิ่งดีงามเข้ามาสู่ชีวิต

[/ultimate_modal]
bcdeae_d908f2bbf9f040a4a2af6373a7cb1d3f_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระพุทธมงคล” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระพุทธมงคล วัดพุทธมงคล ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และพระพุทธมิ่งเมือง วัดสุวรรณาวาส บ้านโคกพระ ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม พระพุทธรูปทั้งสององค์เป็นพระพุทธรูปปางสรงนํ้าศิลปะสมัยทวารวดี
ขนาดขององค์พระสูง ๔ เมตร กว้าง ๑ เมตร เท่ากัน

 

ประวัติการสร้าง

พระพุทธมงคล และพระพุทธมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปปางสรงนํ้าสมัยทวารวดี สร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยขอม ก่อนยุคสุโขทัย พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้สร้างขึ้นในเวลาเดียวกันคือ เมื่ออำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง เชื่อกันว่าเป็นการสร้างเพื่อล้างบาป ปรากฏว่าตั้งแต่ได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสององค์แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่ท้องที่นี้เป็นอันมาก ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นก็ดีขึ้นตามลำดับ ทำให้ชาวบ้านอยู่ดีมีสุขเช่นเดิม หลวงพ่อพระยืนทั้งสององค์เป็นปูชนียวัตถุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง ตามตำนานหรือประวัติที่หลักฐานยืนยันจากใบเสมาที่ฝังอยู่ใกล้องค์พระได้เขียนเป็นอักษรขอมว่า สร้างปี ฮวยสง่าพุทธศักราช ๑๓๙๙ ปัจจุบันอักษรที่ปรากฏอยู่ใบเสมาเลอะเลือนไปมากแล้ว

ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมา ท้าวลินจง ผู้ครองเมืองกันทาง หรือ เมืองคันธาธิราช มีภรรยาชื่อบัวคำ มีบุตรชายคนเดียวชื่อว่าท้าวสิงห์โต หรือ “ท้าวลินทอง” ซึ่งเป็นผู้มีจิตใจโหดเหี้ยม ท้าวลินจงจึงไม่อยากให้ขึ้นครองเมือง ท้าวลินทองทราบเรื่องก็จับบิดาทรมานและบังคับให้ยกเมืองให้ ท้าวลินจงอดข้าวอดนํ้าได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสจนถึงแก่ความตายในที่สุด ก่อนที่จะสิ้นท้าวลินจงได้ตั้งจิตอธิษฐานกล่าวฝากเทพยดาผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมผู้สถิตอยู่ ณ พื้นธรณีนั้นว่า ผู้ใดที่มีจิตใจโหดเหี้ยม หากได้ขึ้นครองเมือง ก็ขอให้พบกับความวิบัติ อย่าได้พบพานกับความสุขความเจริญ เมื่อท้าวลินจงสิ้นใจ นางบัวคำผู้เป็นมารดาจึงได้ต่อว่าท้าวลินทองผู้เป็นบุตรว่าทรมานบิดาจนถึงแก่ความตาย ท้าวลินทองไม่พอใจจึงฆ่ามารดาของตนอีกคนหนึ่ง เมื่อท้าวลินทองครองเมือง ประชาชนก็ได้รับความเดือดร้อนบ้านเมืองไม่เป็นสุข ท้าวลินทองก็รู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ โหรทำนายว่าเป็นเพราะกรรมหนักที่บิดาได้อธิษฐานจิตสาปแช่งไว้ก่อนตายและผลกรรมมาตุฆาต ทั้งนี้การจะล้างบาปกรรมได้ก็โดยการสร้างพระพุทธรูป เพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญเพื่อทดแทนพระคุณบิดาและมารดา พระพุทธรูปองค์หนึ่งสร้างอุทิศเพื่อทดแทนพระคุณมารดา สร้างที่นอกเขตกำแพงเมือง ทางทิศอุดรผินพระพักตร์ไปเบื้องทักษิณทิศ คือพระพุทธมิ่งเมือง เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้สร้างพระพุทธรูปยืนขึ้นอีกองค์หนึ่งเพื่อทดแทนพระคุณบิดาโดยสร้างขึ้นในกำแพงเมือง ผินพระพักตร์ไปเบื้องทักษิณทิศ คือพระพุทธมงคลเมือง ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพุทธมงคล

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระพุทธมงคลและพระพุทธมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก สามารถทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ผู้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนต่างมีความร่มเย็นเป็นสุข เมื่อบนบานศาลกล่าวขอสิ่งใดก็จะได้สมดังปรารถนา

[/ultimate_modal]

พระพุทธรูปในอีสานตอนล่าง

bcdeae_6ab9c198e6cf45f3b7b1948324797e84_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระพุทธชัยสารมุนี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระพุทธชัยสารมุนี วัดเจดีย์ บ้านนาเขิน ตำบลคอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิล

 

ประวัติการสร้าง

พระพุทธชัยสารมุนี เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ พระคู่บ้านคู่เมืองคอนสาร พระพุทธรูปองค์นี้อายุ ๗๐๐ กว่าปี เป็นศิลปะแบบขอมสมัยอยุธยา ทำด้วยศิลาแลง โปกปูน ปางมารวิชัย หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก และมีริมพระโอษฐ์สีแดง เป็นพระพุทธรูปศิลาแลงที่มีความสมบูรณ์และมีพุทธศิลป์ที่งดงามที่สุด ประดิษฐาน ณ อุโบสถ วัดเจดีย์ตำบลคอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ หลวงวิชิตสงคราม (หมื่นอร่ามกำแหง) เจ้าเมืององค์แรกได้มาพบวัดร้าง มีพระพุทธรูปและเจดีย์เก่าแก่ สันนิฐานว่าสร้าง
สมัยอยุธยา ก่อนที่จะสร้างเมืองคอนสาร เดิมชื่อ วัดธาตุหรือวัดโพธิ์ปัจจุบันเรียกว่า วัดเจดีย์ ขึ้นทะเบียนสังกัดกรมการศาสนา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๑ เป็นวัดแห่งแรกของเมืองคอนสารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เมืองคอนสาร

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระพุทธชัยสารมุนี มีอภินิหารดลบันดาลให้ผู้ที่สักการะบูชาแล้ว จะแคล้วคลาดจากอุบัติภัย ผู้ที่มีความทุกข์เนื้อร้อนใจเมื่อมากราบท่านแล้วมีความสุขสงบยิ่งขึ้น มีผู้คนจำนวนมากได้รับความเมตตาบารมีจากหลวงพ่อที่ให้พรประสบความสำเร็จด้านการศึกษา หน้าที่การงานและความรักที่สมหวัง ที่สำคัญเป็นศูนย์รวมจิตใจเคารพบูชาสักการะสูงสุดของชาวเมืองคอนสาร ชาวภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่นซึ่งมีอาณาเขตใกล้เคียง รวมทั้งชาวอำเภอต่างๆ ที่อยู่โดยรอบ ทุกวันขึ้น ๑๓ -๑๕ คํ่าเดือน ๓ ของทุกปี ชาวเมือง
คอนสารจะจัดงานปิดทองหลวงพ่อพระประธานงานบุญผะเหวด (เทศน์มหาชาติ)

[/ultimate_modal]
bcdeae_9f8ed728d4724b8f9065d22ac0bd5087_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระเจ้าใหญ่” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระเจ้าใหญ่ วัดหงษ์ (วัดศีรษะแรด) อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะจำปาโดยช่างสกุลลาว มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๓๓ เมตร สูง ๒.๒๒ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระเจ้าใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑.๓๓ เมตร สูงจากฐาน ๒.๒๒ เมตร ส่วนเนื้อและพระเกศธาตุของพระเจ้าใหญ่ที่ชำรุด ปรากฏว่าเป็นเนื้อผงหรือว่านลงรักปิดทองในภายหลัง ด้านในบรรจุผงวิเศษและทรายแล้ว เพราะมีเนื้อทรายขาวและเกล็ดแก้วระยิบระยับ องค์พระเจ้าใหญ่ลงรักปิดทองหนามากจนมีคนเข้าใจว่าเป็นเนื้อสำริด เคยมีผู้อ่านแผ่นป้านอักษรขอมที่แผ่นหลังของพระเจ้าใหญ่ทำให้ทราบว่า สร้างเมื่อ พ.ศ. ๘ ซึ่งน่าจะหมายถึง พุทธศตวรรษที่ ๘ ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพล
ของอาณาจักรจำปาแห่งอินเดียเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ

ตามตำนานเล่าว่าท้าวศรีปาก (นา) และท้าวทาทอง (ยศ) และท้าวเหล็กสะท้อนไกรสรเสนา ทั้งสามคนเป็นคนไทยเชื้อสายลาวซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดมหาสารคาม ชอบออกป่าล่าสัตว์อยู่เป็นประจำ ครั้งหนึ่งทั้งสามคนได้ออกล่าสัตว์ตามปกติ และได้ยิงนกตัวใหญ่ตัวหนึ่งบริเวณสระบัวจึงเดินตามไปเพื่อหานกตัวนั้น เขาได้พบกับพระพุทธรูปขนาดใหญ่ บริเวณโดยรอบมีเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม รอบองค์พระมีต้นตาลทั้งสี่ทิศ ปกคลุมไปด้วยเถาวัลย์รุงรัง ด้วยความดีใจจึงพากันสำรวจพื้นที่โดยรอบ และชักชวนญาติพี่น้องของตนมาตั้งถิ่นฐานที่แห่งนี้ โดยท้าวศรีปากเป็นเจ้าเมือง ตั้งชื่อว่าบ้านหัวแฮด หรือที่เรียกว่าบ้านศีรษะแรด (ตั้งชื่อตามบริเวณที่พบมีศีรษะของแรดที่ตายแล้วแช่อยู่ในสระ) ต่อมาได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นมาเพื่อประดิษฐานพระเจ้าใหญ่ ตั้งชื่อวัดแห่งนั้นว่า วัดหงษ์ ตามชื่อของนกที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระเจ้าใหญ่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ไม่ว่าจะเป็นการสาบานจะเลิกสิ่งเสพติดและของมึนเมา การสาบานในกรณีที่หาผู้กระทำผิดไม่ได้ การบนบานเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน และการบนบานในเรื่องอื่นๆ เช่นโชคลาภ การมีบุตรผู้คนที่ได้มาบนบานต่อพระเจ้าใหญ่และประสบกับความสำเร็จ ได้มีการบันทึกและบอกเล่าปากต่อปากถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าใหญ่มาอย่างมากมาย จึงทำให้ทธศาสนิกชนนั้นเชื่อถือและเลื่อมใสเป็นอย่างมาก ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า ถึงแรม ๑ คํ่า เดือน ๓ ของทุกปีจะมีการจัดงานเทศกาลนมัสการพระเจ้าใหญ่ซึ่งประชาชนจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง จะเดินทางมาทำบุญปิดทองพระเจ้าใหญ่พร้อมทั้งเที่ยวชมมหรสพ การละเล่นต่างๆ เป็นประจำทุกปี

[/ultimate_modal]
bcdeae_b659d99d933a4e969a257567ac997734_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะแบบลาว มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓ เมตร สูง ๕ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ศิลปะแบบลาว มีทั้งหมด ๓ องค์ องค์แรกประดิษฐานอยู่ที่วัดอินแปลงมหาวิหาร นครเวียงจันทน์ มีอายุพันกว่าปี องค์ที่สองประดิษฐานอยู่ที่วัดอินทร์แปลง จังหวัดนครพนมและองค์สุดท้ายคือ พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง วัดป่าใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี มีอายุกว่า ๒๐๐ ปีมาแล้ว

ตามประวัติการสร้างนั้น หลังจากสร้างวัดหลวงแล้ว พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ได้นิมนต์พระธรรมโชติวงศา ซึ่งเป็นพระมหาเถระสายวิปัสสนากรรมฐาน พร้อมด้วยสามเณรมาพำนักอยู่ที่วัดหลวง ด้วยความที่วัดหลวงเป็นวัดบ้าน ไม่เหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้เสาะหาที่ปฏิบัติธรรมแห่งใหม่ เห็นว่าป่าดงอู่ผึ้ง มีหนองนํ้าสระพัง เป็นสถานที่วิเวก เหมาะแก่การตั้งสำนัก จึงได้ก่อตั้งสำนักสงฆ์ขึ้น และให้ชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ แต่ยังไม่ทันก่อสร้างเสร็จ พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ ก็ได้ถึงแก่นิจกรรม
ลง เมื่อปี ๒๓๒๓ เจ้าเมืองคนที่ ๒ คือ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ จึงมาก่อสร้างวิหารต่อจนเสร็จ และยกให้เป็นวัดประจำเมือง ให้ชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติ แต่ชาวบ้านก็นิยมเรียกว่าวัดสระพัง ตามชื่อหนองนํ้าที่อยู่ใกล้เคียง และพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ท่านจึงได้สร้างพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง เพื่อเป็นพระประธานประจำวัดขึ้น และเปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดมหาวัน ต่อมาเปลี่ยนตามสมัยนิยมอีกครั้งเป็น วัดมหาวนาราม จนถึงปัจจุบัน เมื่อก่อสร้างพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงเสร็จก็ได้รับความ
ศรัทธาจากชาวบ้านเป็นอย่างมาก เมื่อมีความขัดแย้งใดๆ เกิดขึ้นก็จะพากันมาสาบานต่อหน้าพระ ใครที่ผิดคำสาบานก็มีมีอันเป็นไปต่างๆ นอกจากนี้ยังมีคนมาบนบานในการสอบไล่ หน้าที่การงาน หรือให้มีความสุขสวัสดิ์ในครอบครัว ข้าราชการที่มาดำรงตำแหน่งใหม่ที่จังหวัดอุบลราชธานี จะเดินทางมาสักการะขอพรเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นปราศจากอุปสรรคต่างๆ

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

ในวันเพ็ญเดือน ๕ หรือเทศกาลวันสงกรานต์ จะมีงานนมัสการพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ภายในงานจะมีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์มหาชาติ และสรงนํ้าปิดทองพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงเป็นประจำทุกๆ ปี

[/ultimate_modal]
bcdeae_d9917b877315491b8885a4a407248a63_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงพ่อพระตาตน” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

หลวงพ่อพระตาตน วัดสำโรงเกียรติตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิสะดุ้งมารศิลปะเขมร มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔ นิ้วสูง ๕ นิ้ว

 

ประวัติการสร้าง

หลวงพ่อพระตาตน ประดิษฐานอยู่ ณ วัดสำโรงเกียรติ หมู่ที่ ๘ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพระพุทธรูปแบบขอมปางสมาธิสะดุ้งมาร ขนาดหน้าตักกว้าง ๔ นิ้ว สูง ๕ นิ้ว สร้างด้วยเกสรดอกไม้ผสมครั่งหรือยางชันปั้นเป็นพระพุทธรูปเรียกว่า “พระตาตน” ตามคนชื่อของคนที่นำมาถวาย ตาตน เป็น คนเขมรตํ่า มีญาติอยู่ที่บ้านสำโรงเกียรติไปมาหาสู่กันเป็นประจำ วันหนึ่งตาตนได้นำไซไปดักจำปลาที่ร่องนํ้าเชิงเขาทางทิศใต้ของบ้านสำโรงเกียรติ รุ่งขึ้นไปกู้ไซที่ดักเอาไว้ พบพระพุทธรูปติดไซอยู่จึงเอาออกแล้วโยนลงนํ้า ครั้นวันรุ่งขึ้นไปกู้ไซอีกก็เห็นพระพุทธรูปติดไซอยู่ดังเช่นเดิม พิจารณาเห็นว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จึงได้นำมาฝากไว้ที่บ้านญาติ ครั้นตกกลางคืนตาตนและญาติฝันว่าเอาพระเข้าบ้านจะไม่เป็นมงคลให้เอาไปฝากไว้ที่วัด รุ่งขึ้นตาตนได้นำพระพุทธรูปเกสรไปถวายวัดสำโรงเกียรติเพื่อเป็นสมบัติของวัดต่อไป เจ้าอาวาสจึงได้แจ้งให้ญาติโยมประชาชนใกล้เคียงได้ทราบกันซึ่งต่างพากันมานมัสการอย่างคับคั่ง ทำให้พระตาตนเป็นที่เคารพและบนบานกันมา ต่อมาจึงพากันเรียกขนานว่า หลวงพ่อพระตาตน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

พุทธศักราช ๒๔๒๐ พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ได้ทราบข่าวถึงความศักดิ์สิทธิ์ จึงได้จัดขบวนช้างม้าไปอาราธนาหลวงพ่อพระตาตน พออารารธนาหลวงพ่อพระตาตนขึ้นบนหลังช้าง และขบวนออกจากวัดสำโรงเกียรติจะข้ามสะพานห้วยทาไปเพียงเล็กน้อย ก็เกิดลมพายุฝนตกลงมาอย่างหนัก ช้าง ม้า หมอบกราบลงกับพื้น เสียงฟ้าร้องราวกับแผ่นดินจะถล่ม เจ้าเมืองขุขันธ์จึงประกาศคำขาดว่า ถ้าลมฝนหยุดตกก็จะนำหลวงพ่อพระตาตนกลับวัดสำโรงเกียรติที่เดิม เมื่อประกาศคำเสร็จสิ้นลมฝนก็หยุดตกทันที เจ้าเมืองขุขันธ์ได้ประกาศให้นำหลวงพ่อพระตาตนประดิษฐานไว้ที่เดิม ณ วัดสำโรงเกียรติ ต่อมาไม่นานได้เกิดไฟไหม้ที่กุฎีที่หลวงพ่อพระตาตนประดิษฐานอยู่ หลายคนเข้าใจว่าหลวงพ่อพระตาตนคงถูกไหม้หมดอย่างแน่นอน คืนวันต่อมามีชาวบ้านฝันเห็นพระตาตนอยู่ในบ่อลึกและบอกว่าหนาว แต่ผู้ฝันจำไม่ได้ว่าอยู่บ่อไหน และได้เล่าให้คนฟังแต่ไม่มีใครเชื่อเพราะผู้ฝันเป็นเด็ก วันหนึ่งชาวบ้านได้มาตักนํ้าที่บ่อนํ้าภายในวัดมองลงไปเห็นหลวงพ่อพระตาตนลอยนํ้าอยู่ จึงได้อาราธนาหลวงพ่อพระตาตนไว้ที่เดิม ต่อมาสามเณรรูปหนึ่งได้อาราธนาหลวงพ่อพระตาตนใส่พานถือไปบนกุฎีและได้สะดุดพื้นและล้มลง หลวงพ่อพระตาตนจึงตกลงมากระทบกับพื้นจนพระเกศหักต้องเอายางไม้ต่อพระเกศจนถึงปัจจุบันนี้ ต่อมาไม่นานสามเณรรูปนั้นก็ได้มรณภาพลงเพราะความเสียใจที่ทำให้องค์พระบกพร่อง และตรอมใจตาย ด้วยเหตุความศักดิ์สิทธิ์และอภิหารต่าง ๆ จึงมีผู้คนมาเคารพนับถือขึ้นตามลำดับ

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

จากตำนานเรื่องเล่าของหลวงพ่อพระตาตน ผู้คนต่างเลื่อมใสในความศักดิ์สิทธิ์ เดินทางมาบนบาลศาลกล่าวอยู่เป็นนิจส่วนมากจะขอเรื่องการมีบุตรธิดา และโชคลาภ ผู้ที่มาขอพรและประสบผลสำเร็จก็จะกลับมาแก้บน และการแก้บนที่ท่านชอบคือการบวชชั่วคราว หรือตลอดไป

[/ultimate_modal]
bcdeae_7489bc115f4f48bbb25aeea6b72cac74_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระเจ้าองค์ตื้อ” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระเจ้าองค์ตื้อ วัดศิลาอาสน์ ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองจังหวัดชัยภูมิ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสมัยอู่ทองหรือเขมรตอนปลาย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ฟุต สูง ๗ ฟุต

 

ประวัติการสร้าง

พระเจ้าองค์ตื้อ ประดิษฐานอยู่ที่ภูพระ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูแลนคา เป็นภูเขาหินทรายขาว บริเวณที่ตั้งของภูพระนี้ลักษณะทั่วไปเป็นเพิงผาหิน ที่ผนังภูพระสลักเป็นพระพุทธรูปหลายองค์รวมทั้งหมดมี ๙ องค์ มีองค์หนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่มาก ชาวบ้านเรียกกันว่า พระเจ้าองค์ตื้อ นั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่ พระเพลา พระหัตถ์ซ้ายวางพาดอยู่ที่พระชงฆ์ หน้าตัก กว้าง ๕ ฟุต สูง ๗ ฟุต เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทองหรือเขมรตอนปลาย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๑๙ ร่วมสมัยกับกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สันนิษฐาน
ว่าอาจจะสร้างขึ้นในสมัยเดียวกับปรางค์กู่ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ เป็นต้นมา ภายหลังได้กำหนดขอบเขตที่ดินเป็นเขตโบราณสถานไว้ เพื่อป้องกันมิให้มีการทำลาย โบราณสถานต่าง ๆ ที่ขึ้นทะเบียนในจังหวัดด้วย บริเวณแห่งนี้เดิมเคยเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ เช่น พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์ฝั้น และหลวงปู่แหวน เพราะแต่เดิมมีสภาพเป็นป่าทึบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

ทุกปีจะมีงานนมัสการพระพุทธรูปที่ภูพระปีละ ๒ ครั้ง ๆ ละ ๓ วัน ในช่วงวันขึ้น ๑ คํ่า เดือน ๓ และวันขึ้น ๑๓ คํ่า เดือน ๕ ซึ่งมีประเพณีการรำผีฟ้า เพื่อบวงสรวงในงานเทศกาลช่วงเดือนเมษายนของทุกปี การรำผีฟ้าเป็นการรำบวงสรวงโดยชาวบ้านเป็นกลุ่มๆ มีหมอแคนเป่าประกอบการรำเพื่อบวงสรวง และแก้บนต่อพระเจ้าองค์ตื้อที่เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะการักษาโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถขอพรได้สมดังปรารถนาทุกประการ

[/ultimate_modal]
bcdeae_77a153dfc9804340897eb0cdbdf55236_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดปากแซง หรือวัดพระโต ตำบลพะลาน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสมัยขอม มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๙๐ เมตร สูง ๔.๓๖ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือเดิมเรียกว่า พระเจ้าอินทร์ใส่โสม เป้นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยอิฐผสมปูนขาว มีความเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาก ประชาชนสองฝั่งแม่นํ้าโขงทั้งชาวไทย และเพื่อนบ้านอย่างประเทศลาว ต่างให้ความเคารพศรัทธา มีความเลื่อมใสในพระพุทธรูปองค์นี้เป็นอย่างยิ่ง

ตามประวัติความเป็นมาของการสร้างพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อนั้น เล่าขานกันต่อมาว่าสร้างโดยพระยาแข้วเจ็ดถัน กษัตริย์ขอมองค์หนึ่ง ซึ่งได้ล่องเรือมาตามแม่นํ้าโขงในฤดูฝน และพักแรมหนึ่งคืนที่บ้านปากแซง ก่อนที่จะเสด็จกลับในรุ่งเช้าวันต่อมา พระองค์ได้พบกับเจ้ากวนของหมู่บ้าน พระยาแข้วเจ็ดถันจึงตรัสถามถึงความเป็นมาของบ้านปากแซงนี้ จึงได้ความว่า บ้านปากแซง มีหาดทรายขาวกว้างใหญ่สวยงาม เมื่อถึงฤดูแล้ง ถ้าหากปีใดที่หาดทรายโผล่ทางทิศเหนือและทิศใต้ของหมู่บ้าน ปีนั้นความแห้งแล้งจะมาเยือนประชนต่างทุกข์ร้อนลำบาก แต่หากปีใดที่หายทรายโผล่ระหว่างหมู่บ้าน ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข มีความอมดมสมบูรณ์ ข้าวปลาอาหารไม่เคยขาด เมื่อพระองค์ได้ยินดังนั้น จึงเกิดศรัทธาขึ้นในใจว่าสักวันต้องกลับมาสร้างหมู่บ้านแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

พระยาแข้วเจ็ดถันได้เสด็จกลับมาบ้านปากแซง ในราวพุทธศักราช ๑๑๕๔ พร้อมด้วยข้าทาสบริวารจำนวนมาก และได้มอบหมายให้เจ้าแสง ซึ่งเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในสมัยนั้น เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างวัด และพร้อมกันนั้นได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง ซึ่งแล้วเสร็จประมาณปี ๑๑๘๐ ขนานนามว่า พระอินทร์ใส่โสม และต่อมาเรียกว่า พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เมื่อเจ้าแสงถึงแก่กรรม ชาวบ้านก็ได้ร่วมกันสร้างอนุสรณ์ไว้ เรียกว่าหอแสง นานเข้าวัดแห่งนี้ก็ขาดคนบูรณะจนกลายเป็นวัดร้าง ผ่านไปหลายร้อยปี ควาญช้างในหมู่บ้านจึงได้มาพบกับวัดร้างและพระพุทธรูปองค์ใหญ่ จึงได้ป่าวประกาศเชิญชวนชาวบ้านมาร่วมทำบุญบูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ขึ้นมาอีกครั้ง และจึงเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า วัดพระโต ตามพระพุทธรูปที่พบ

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สักการะของทั้งชาวไทยละชาวลาวสองฝั่งโขง เปรียบเสมือนจุดรวมใจของพุทธศาสนิกชนในละแวกนั้น ทุกปีทางวัดจะจัดงานนมัสการประเจ้าใหญ่องค์ตื้อขึ้น ในระหว่างวันขึ้น ๙ คํ่า ถึงวันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๓ ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศ ทั้งจากไทยและลาว จะเดินทางมาสักการะพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อเป็นจำนวนมาก

[/ultimate_modal]
bcdeae_07374fcdaf9e4ffeaa8e51bb6121088d_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระเจ้าใหญ่องค์หลวง” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระเจ้าใหญ่องค์หลวง วัดหลวงอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะแบบหลวงพระบาง มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระเจ้าใหญ่องค์หลวง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีเรือนแก้วครอบตามแบบพระพุทธชินราช พระพุทธรูปศิลปะแบบหลวงพระบาง โดยช่างชาวเวียงจันทน์ สร้างมาพร้อมกับสร้างเมืองอุบลราชธานี ประดิษฐานอยู่ที่วัดหลวง ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกของจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ปี ๒๓๒๔ มาแล้ว นับเป็นเวลากว่า ๒๓๔ ปี (ปัจจุบันปี ๒๕๕๘)

พระเจ้าใหญ่องค์หลวง และวัดหลวง สร้างโดยพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ หรือท้าวคำผง เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรกซึ่งเป็นบุตรของพระเจ้าตา ได้อพยพมาจากดอนมดแดงมาตั้งเมืองใหม่อยู่ที่ดงอู่ผึ้ง และสร้างเมืองอุบลราชธานีขึ้น ด้วยเห็นว่าที่แห่งนี้เหมาะแก่การสร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ และจากนั้นได้ดำริให้สร้างวัดขึ้นตามโบราณราชประเพณี เพื่อเป็นการสืบทอดอายุศาสนา และให้พระสงฆ์ที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ได้อยู่จำพรรษา พระองค์พร้อมด้วยอุปราช ราชบุตร ราชวงศ์ ท้าวเพีย และกรรมการจึงได้ร่วมใจกันสร้างวัดขึ้น เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงได้ขนานนามวัดแห่งนี้ว่า วัดหลวง ตามชื่อของผู้สร้าง ที่ชาวบ้านเรียกพระองค์ว่า พระเจ้าใหญ่องค์หลวง และสถานที่สร้างวัดก็อยู่ใกล้คุ้มหลวงของพระองค์ จึงเรียกว่าวัดหลวง นอกจากนี้ยังมีโบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งมีความสวยงามยิ่งใหญ่ตามยุคสมัยนั้น แต่ด้วยสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นเป็นไม้ จึงได้ผุพังไปตามเวลา ปัจจุบันได้รื้อและก่อสร้างขึ้นใหม่ เหลือเพียงร่องรอยในอดีตให้เห็นบ้างเล็กน้อย

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

วัดหลวง และพระเจ้าใหญ่องค์หลวงถือเป็นวัดและพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อถึงเทศกาลวันสงกรานต์ ทางราชการจะจัดงานสมโภชสรงนํ้าพระเจ้าใหญ่องค์หลวง ก่อเจดีย์ทราย เพื่อเป็นการอุทิศผลบุญแด่บูรพาจารย์ ผู้สร้างบ้านแปลงเมือง มีการสรงนํ้าพระสงฆ์ และขอพรคนเฒ่าคนแก่ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตน แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที

[/ultimate_modal]
bcdeae_56d1af98b04040439c1c5dbc7d7fc98d_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระเจ้าใหญ่ลือชัย” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระเจ้าใหญ่ลือชัย หรือพระฤทธิ์ลือชัย วัดอำนาจ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านช้าง

 

ประวัติการสร้าง

พระเจ้าใหญ่ลือชัย หรือพระฤทธิ์ลือชัย เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดอำนาจ องค์พระก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองทั้งองค์ปางมารวิชัย มีพุทธศิลป์แบบล้านช้าง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่ศักดิ์สิทธิ์มาก นามของพระพุทธรูปองค์นี้ มากจาการที่เจ้าเมืององค์ก่อนได้มีการสักการะขอพรพระเจ้าใหญ่ลือชัยก่อนออกไปรบศึกฮ้อ จึงทำให้ได้ชัยชนะกลับมา จึงได้ขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่าพระเจ้าใหญ่ลือชัยหรือพระฤทธิ์ลือชัย

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด แต่มีการจัดทำหนังสือประวัติอำเภอลืออำนาจครั้งฉลองเมืองมีการบันทึกไว้ว่า พระเจ้าใหญ่ลือชัยสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๘- ๒๔๐๔ โดยหลวงพ่อพระครูบัณฑิต และหมื่นชาโนชิตเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้าง เมื่อได้สร้างวัดเสร็จแล้ว จึงปรึกษาหารือกันสร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในพระพุโบสถ เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้ จึงกำหนดเขตสร้างโบสถ์และสร้างพระประธาน ท่านหลวงพ่อญาท่านพระครูบัณฑิต พระอมรอำนาจ (เจ้าเมืองลืออำนาจในขณะนั้น) พระสังฆาธิการ พระภิกษุสามเณร ประกอบด้วยประชาชนทั้งหลายได้พร้อมเพรียงกันดำเนินการจัดหาอุปกรณ์ในการก่อสร้างไว้ หลังจากนั้นได้เกิดนิมิตกับหลวงพ่อพระครูบัณฑิตว่า จะทำพิธี หล่อ หรือ เหลา หรือเอา โรจน์ ท่านพระครูจึงถามถึงคำแปล ในนิมิตจึงตอบว่า หล่อ แปลว่า ลือชัย เหลา แปลว่า เทพนิมิต โรจน์ แปลว่า สว่างแจ่มใส ลือชาโด่งดังไปทั่วสารทิศ ชาวบ้านจึงเชื่อว่าการก่อสร้างพระเจ้าใหญ่ลือชัย มีความเกี่ยวข้องกับพระเหลาเทพนิมิต อำเภอพนา และพระโรจน์ อำเภอม่วงสามสิบ
จังหวัดอุบลราชธานี

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากบริเวณที่ตั้งวัดอำนาจ เป็นชุมชนโบราณ เป็นที่จั้งศาลเจ้าปู่และเป็นที่ตั้งเมืองอำนาจเจริญมาก่อน จึงมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์และปาฏิหาริย์มากมาย เช่น “ผีจ้างหมอลำ” เป็นต้น และคนโบราณเล่าลือกันว่า ใครที่ได้มากราบไหว้ขอพรจากพระเจ้าใหญ่ลือชัย หรือพระฤทธิ์ลือชัยแล้วจะได้รับความสำเร็จ เจริญรุ่งเรือง ได้รับชัยชนะจากศัตรูหมู่มารทั้งปวง มีอำนาจบารมีเป็นที่ยำเกรง ชีวิตผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคนานาประการได้อย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อได้สมดังตั้งใจแล้ว ก็จะมีการแก้บนโดยการ
จ้างหมอลำมาแสดงถวาย ยิ่งเฉพาะช่วงเดือนเมษายนของทุกปี จะมีจำนวนหมอลำมาแสดงมากเป็นพิเศษ

[/ultimate_modal]
bcdeae_9ba297d837e947ef8a6a5f7518f9c472_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระแก้วบุษราคัม” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระแก้วบุษราคัม วัดศรีอุบลรัตนารามพระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระพุทธรูปางมารวิชัยศิลปะเชียงแสน มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓ นิ้ว สูง ๕ นิ้ว

 

ประวัติการสร้าง

พระแก้วบุษราคัม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปกรรมสมัยเชียงแสน แกะสลักจากแก้วบุษราคัม ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ นิ้ว สูง ๕ นิ้ว เป็นสมบัติของเจ้าปางคำ ราชวงศ์จากเมืองเชียงรุ้งแสนหวีฟ้า ที่แตกหนีพวกฮ่อมาจากเมืองเชียงรุ้ง และมาสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (จังหวัดหนองบัวลำภู)

การมีพระแก้วบุษราคัมมีความเกี่ยวเนื่องกับพระแก้วมรกต เนื่องด้วยสมัยพระเจ้าพรหมมหาราช แห่งโยนกเชียงแสนนครเงินยาง มีพระแก้วมรกตไว้ในพระนคร ทำให้เจ้านายตามเมืองต่างๆ แสวงหาแก้วมณีมีค่ามาสร้างเป็นพระพุทธปฏิมากรไว้ในนครเพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาที่ประกอบด้วยแก้ว ๓ ประการ คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ ดังนั้นในดินแดนสิบสองปันนา ล้านนา ล้านช้าง ซึ่งมีลำธารที่อุดมด้วยรัตนชาติหลากสี จึงมีพระพุทธรูปสร้างด้วยแก้วมณี อาทิ พระเสตังคมณีนครลำปาง, พระแก้วขาว นครเชียงใหม่ และพระแก้วสีเหลืองที่เรียกว่า พระแก้วบุษราคัม

ต่อมาพระแก้วบุษราคัมได้ตกทอดมาถึงพระเจ้าตาผู้เป็นลูกเจ้าปางคำ และปี ๒๓๑๔ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานถูกเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ยกทัพมาตี พระเจ้าตาถึงอสัญกรรมในสนามรบ พระเจ้าวอ และท้าวคำผง จึงอพยพหนีศึกมาสร้างบ้านที่บ้านดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมอัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาด้วย และขออยู่ในขันธสีมาเจ้ากรุงธนบุรี โดยสร้างวัดหลวงใช้ประดิษฐานพระแก้วบุษราคัม

จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีการปฏิรูปการปกครอง ได้มีการส่งข้าหลวงมากำกับดูแลงานตามหัวเมือง ทำให้เจ้าราชบุตรหนูคำ เจ้าเมืองสมัยนั้น เกรงว่าข้าหลวงจะแสวงหาของสำคัญของบ้านเมืองไปเป็นของตนจึงนำพระแก้วบุษราคัมออกจากวัดหลวงไปซ่อนไว้ที่บ้านวังกางฮุง กระทั่งพระอุปฮาดโทสร้างวัดศรีอุบลรัตนาราม มีญาท่านเทวธัมมี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ความเคารพนับถือ เป็นเจ้าอาวาส พระอุปราชโทจึงไปอัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาถวายเป็นพระพุทธปฏิมาประดิษฐานประจำวัด และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้สักการะพระแก้วบุษราคัมเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้นแต่เมื่อมีการจัดระเบียบใหม่ จึงสามารถเปิดให้ประชาชนได้สักการะบุชาทุกวัน

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระแก้วบุษราคัม ถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทางราชการได้ประกอบพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา และได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาเป็นพระประธาน ปัจจุบันในเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ชาวอุบลราชธานี จะร่วมใจกันอัญเชิญพระแก้วบุษราคัมเข้าขบวนแห่ไปรอบเมืองอุบลราชธานี เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้นมัสการกราบไหว้และสรงนํ้ากันโดยถ้วนหน้า

[/ultimate_modal]
bcdeae_bc5ef80a09a44233bb295c3980af8878_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงพ่อพระชีว์” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

หลวงพ่อพระชีว์ (องค์ใหญ่) วัดบูรพารามอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านช้าง มีขนาดหน้าตักกว้าง
๔ ศอก หรือประมาณ ๒ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

หลวงพ่อพระชีว์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัสดุปูนปั้นปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๔ ศอก ศิลปะล้านช้าง หลวงพ่อพระชีว์เป็นพระพุทธรูปโบราณถือว่าเป็นพระประจำเมืองสุรินทร์ ประดิษฐานในพระวิหารจตุรมุข ภายในวัดบูรพาราม กล่าวกันว่าเป็นวัตถุโบราณที่ กำเนิดมาพร้อมกับวัดบูรพารามเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของเมืองสุรินทร์ สันนิษฐานว่าคงจะสร้างมาพร้อมกับเมืองสุรินทร์ ซึ่งตรงกับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เหตุที่ได้ชื่อว่า “หลวงพ่อพระชีว์” ซึ่งเป็นชื่อเก่ามาแต่เดิม ชีว์ แปลว่า ชีวิต เพราะยกย่องท่านเป็นเหมือนเจ้าชีวิตหรือเป็นยอดชีวิตของคนสมัยนั้น ข้อสันนิษฐานอีกประการหนึ่งว่า เกี่ยวกับลำนํ้าชีที่ไหลผ่านจังหวัดสุรินทร์ เป็นเพราะได้ดินชนิดพิเศษจากลำนํ้าชีมาปั้นเป็นองค์ท่าน ในสมัยนั้น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ หรือจังหวัดแถวอีสานใต้ ยังไม่มีพระพุทธรูปองค์ไหนมีพุทธลักษณะสวยงามหรือมีอำนาจ และมีขนาดใหญ่เท่ากับหลวงพ่อพระชีว์ องค์ท่านใหญ่โตดูน่าเกรงขาม ชาวบ้านชาวจังหวัด
สุรินทร์และใกล้เคียงพากันนับถือท่านในด้านความศักดิ์สิทธิ์ แม้แต่ทางราชการในสมัยนั้นยังต้องมาทำพิธีกันต่อหน้าหลวงพ่อพระชีว์นอกจากนี้ยังมีความศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับหลวงพ่อพระชีว์เล่าสืบต่อกันมาอยู่เรื่อยๆ

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

หลวงพ่อพระชีว์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเคารพสูงสุดของชาวจังหวัดสุรินทร์ เมื่อประชาชนมีความทุกข์ร้อนใด หรือเจ็บไข้ได้ป่วย มีโรคร้ายระบาด ก็จะพากันมากราบไหว้หลวงพ่อพระชีว์ และสิ่งเลวร้ายก็จะคลายหายไป ชาวบ้านจึงเลื่อมใส และยึดเป็นหลักเหนี่ยวรั้งจิตใจให้มั่นคง เมื่อถึงวันพระ หรือเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวสุรินทร์ก็จะเดินทางมาทำบุญ และขอพรให้ตนเองสมปารถนาในด้านต่างๆ

[/ultimate_modal]
bcdeae_2b1571714728426db0e5dfc18f668bf8_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงพ่อโต” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

หลวงพ่อโต วัดกลางพระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีขนาดหน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูง ๓ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปหินศิลาแลงลงรักปิดทอง มีรูปแบบศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนเป็นอย่างที่เห็นในทุกวันนี้ วัดกลางไม่มีปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับผู้สร้าง เข้าใจว่าประชาชนร่วมใจกันสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เป็นวัดที่อยู่ใจกลางเมืองจึงได้เรียกว่า “วัดกลาง” สระนํ้าเก่าแก่โบราณที่อยู่ในบริเวณวัด ในสมัยนั้นใช้เป็นที่ดื่มอาบกิน และเป็นสถานที่ถือนํ้าพิพัฒน์สัตยาของขุนนาง เจ้าเมือง ในยุคนั้น โดยจะตักนํ้าจากสระนี้และนำไปประกอบพิธีในอุโบสถ
หลังเก่า จนถึงปัจจุบันนี้สระแห่งนี้ก็ยังคงสามารถใช้งานได้ดี เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน มีพระชนมายุครบ ๕ รอบในวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐ ทางราชการได้ทำพิธีอัญเชิญนํ้าในสระแห่งนี้ เพื่อทูลถวายร่วมในพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

หลวงพ่อโตมีพระพุทธคุณเมตตาเรื่องการขอบุตรธิดาและให้โชคลาภ ทางวัดเปิดให้พุทธศาสนิกชนเข้าสักการะในวันพระและในช่วงเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น

[/ultimate_modal]
bcdeae_7cff539101ce4b518bf9b3d90f65e4e5_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงพ่อโต” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

หลวงพ่อโต วัดบูรณ์ (ปะโค) ตำบลบ้านชวน อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธรูปปูนปั้นโบราณ ศิลปะแบบลาว มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๖๖ เมตร สูง ๒.๖๑ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปโบราณ หน้านักกว้าง ๑.๖๖ เมตร สูง ๒.๖๑ เมตร เป็นพระพุทธรูปปั้นด้วยปูน ประดิษฐานอยู่บนแท่นในโบสถ์วัดบูรณ์ นับว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็นที่เคารพสักการะบูชาของประชาชนโดยทั่วไป ทั้งยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนด้วย พระพุทธรูปองค์นี้ประชาชนโดยทั่วไป รู้จักท่านในนาม “หลวงพ่อโต” ตามหลักฐานจากแผ่นศิลาจารึกได้ความว่า พระฤทธิ์ฤาชัย เจ้าเมืองและทายกทั้งหลายได้ร่วมกันสร้างโบสถ์ขึ้น ครั้นเวลาล่วงเลยมาจนถึงพุทธศักราช ๒๓๘๒ หลวงยกบัตรได้นำชาวพุทธที่เลื่อมใสศรัทธา สร้างพระประธานประดิษฐานไว้ในโบสถ์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา เป็นปัจจัยให้ถึงแก่พระนิพพาน

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

หลวงพ่อโต วัดปะโค เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเป็นที่เคารพสักการะและยึดเหนี่ยวจิตใจของ ลูกหลานชาวบำเหน็จณรงค์มานานหลายชั่วอายุคน อีกทั้งในพิธีถือนํ้าพิพัฒน์สัตยาของท่านเจ้าเมืองเหน็จณรงค์ ก็ได้อาศัยความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อประธานในวัดบูรณ์เป็นสักขีพยานสัตยานุสัตย์มาทุกปี

[/ultimate_modal]
bcdeae_169228a5052f430a949c4374906e69a9_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงพ่อโต” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

หลวงพ่อโต วัดมหาพุทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านช้าง มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓.๕ เมตร สูง ๖.๘ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

หลวงพ่อโต วัดมหาพุทธาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างจากหินพอกปูนแล้วลงรักปิดทอง เป็นศิลปะแบบล้านช้างนับว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดศรีสะเกษ ในปีพุทธศักราช ๒๓๒๘ เป็นปีที่เจ้าเมืองศรีสะเกษคนที่ ๒ พระยาวิเศษภักดี (ชม) ได้ย้ายเมืองศรีสะเกษจากที่ตั้งเดิมบ้านโนนสามขาสระกำแพงมาตั้งที่บริเวณที่เป็นศาลหลักเมืองในปัจจุบัน ในขณะที่สร้างเมืองนั้น มีคนไปพบหลวงพ่อโต ภายในใจกลางป่าแดง จึงได้อุปถัมภ์บำรุง โดยให้สร้างวัดขึ้นบริเวณที่พบหลวงพ่อโต ตั้งชื่อว่า “วัด
พระโต หรือวัดป่าแดง” ได้จัดหาพระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิมาปกครอง ก่อสร้างเสนาสนะที่จำเป็นต่าง ๆ และเจ้าเมืองศรีสะเกษคนต่อๆ มาไม่ว่าเจ้าพระยาวิเศษภักดี (โท) หรือเจ้าพระยาวิเศษภักดี (บุญจันทร์) เป็นต้น ก็ได้อุปถัมภ์เอาใจใส่บำรุงวัดพระโตเสมือนเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองศรีสะเกษตลอดมา ตราบเท่าที่ศรีสะเกษได้กลายเป็นจังหวัด ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ คณะสงฆ์ศรีสะเกษซึ่งมีพระชินวงศาจารย์ (มหาอิ่ม คณะธรรมยุติ) ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัด ศรีสะเกษขณะนั้น ดำริจะเปลี่ยนชื่อ วัดพระโตหรือวัดป่าแดง เป็นวัดมหาพุทธวิสุทธาราม แต่คณะกรรมการสงฆ์จังหวัด ได้พิจารณาเห็นควรเพียงชื่อว่า วัดมหาพุทธารามจึงได้ชื่อ “วัดมหาพุทธาราม” มาแต่บัดนั้น

หลวงพ่อโต ตามหลักฐานเชิงตำนานสืบความว่าเป็นพระพุทธรูปสององค์ทับซ้อนกัน คือองค์จริงเป็นพระพุทธรูปสำริดหน้าตักกว้าง ๑.๕ เมตร สูง ๒.๕ เมตร แต่เนื่องด้วยเกรงว่าจะถูกขโมย อาจารย์ศรีธรรมา ช่างจากเมืองล้านช้าง (นครศรีสัตตนาคนหุต) จึงได้สร้างพระพุทธรูปศิลปะล้านช้างครอบองค์เดิมไว้ หลวงพ่อโตมีการค้นพบในสมัยสร้างเมืองใหม่ที่ดงไฮสามขา หลวงพ่อโตมีสภาพเป็นตุ๊กตาหิน ขนาดเท่าแขน เล่ากันว่าตุ๊กตาหินองค์นี้มีอภินิหาร คือเมื่อมองดูจะเป็นรูปเล็กๆเท่าแขน แต่เมื่อเข้าไปกอดกลับโอบไม่รอบองค์ พระอาจารย์ศรีธรรมมาจึงจัดทำพิธีสมโภช และได้ขนานนามว่า “พระโต” แต่ตำนานที่ค่อนข้างสอดคล้องกับประวัติการสร้างเมืองศรีสะเกษ และเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เล่ากันว่าหลวงพ่อโตองค์จริงนั้นถูกหุ้มอยู่ข้างใน เป็นพระพุทธรูปปางมาวิชัย สร้างจากหินคำเกลี้ยง หรือที่เรียกว่าหินเขียว หรือหินแดง แล้วแต่ท้องที่ เดิมมีหน้าตักกว้าง ๒.๕ เมตร แต่ด้วยเกรงกลัวมิจฉาชีพจะมาลักขโมยองค์พระ จึงได้สร้างเสริมครอบไว้จนมีขนาดหน้าตักว้าง ๓.๕ เมตร ความสูงตั้งแต่พระเกศลงมา ๖.๘๕ เมตร ต่อมาเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๐๙ ได้มีการสร้างวิหารใหญ่ครอบองค์พระไว้ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

หลวงพ่อโต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวศรีสะเกษที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือมาก เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนผู้มีความทุก เมื่อมาสักการะแล้วก็นำมาซึ่งความสุขสบายใจ มีกำลังต่อสู้กับปัญหาต่อไป เมื่อถึงเทศกาลวันสงกรานต์ ชาวบ้านจะอัญเชิญหลวงพ่อโตมาสรงนํ้า เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวเมืองเป็นประจำทุกปี

[/ultimate_modal]
bcdeae_56b248d0621c47e6a814d649cd654fc9_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงพ่อสองพี่น้อง” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

หลวงพ่อสองพี่น้อง วัดส้ม ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะ
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลวงพ่อองค์ใหญ่มีขนาดหน้าตักว้าง ๒๘นิ้ว สูง ๕๕ นิ้ว ส่วนหลวงพ่อองค์เล็กมีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ นิ้ว สูง ๓๖ นิ้ว ฐานทั้งสององค์สูง ๓๐ นิ้ว

 

ประวัติการสร้าง

หลวงพ่อสองพี่น้อง เป็นพระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ทั้งสององค์ ลงรักแยกส่วนจากฐานไม้ทั้งสององค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ชาวบ้านต่างเคารพนับถือและเรียกชื่อพระพุทธรูปสององค์นี้ว่า “หลวงพ่อสองพี่น้อง” เพราะว่ามี ๒ องค์ที่คล้ายกัน และมีผู้รู้ที่เข้าใจในวัตถุโบราณ สันนิฐานว่า สร้างประมาณสมัยรัตนโกสินทร์ ในช่วงรัชกาลที่ ๓ ส่วน แหล่งที่มา และได้มาอย่างไร ไม่มีใครทราบ ได้สอบถามคนเฒ่าคนแก่ อายุประมาณ ๘๐-๙๐ ปี ได้ความว่าตั้งแต่เกิดมาก็เห็นหลวงพ่อสองพี่น้อง อยู่คู่วัดส้มมาแล้วโดยตลอด โดยวัดส้มสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๐ หลวงพ่อสองพี่น้องก็น่าจะมีอายุเกือบ ๒๐๐ มาแล้ว

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

ชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนโดยรอบ ต่างมีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อสองพี่น้อง จะเดินทางมาสักการะและสรงนํ้าขอพรเนื่องในวันสงกรานต์ของทุกๆปี และในปี ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ในช่วงงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เทศกาลวันวิสาขบูชา ประจำปี ๒๕๕๔ ของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ซึ่งจัดที่วัดโนนหมัน ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ทางคณะกรรมการจัดงานฯ ได้อัน
เชิญหลวงพ่อสองพี่น้องจากวัดส้ม มาประดิษฐานชั่วคราว ณ วัดโนนหมัน เพื่อให้ประชาชนที่มาร่วมงานวันวิสาขบูชา ได้กราบสักการบูชา

[/ultimate_modal]
bcdeae_3e2aed398d084652a2d2b2fd5c02df86_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระเหลาเทพนิมิต” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระเหลาเทพนิมิต วัดพระเหลาเทพนิมิต อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสกุลช่างเวียงจันทน์ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๘๕ เมตร สูง ๒.๗๐ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระเหลาเทพนิมิต เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูน แท่นองค์มีชายผ้านิสีทนะเหลื่อมพ้นออกมาตรงกลางผ้ามีรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม ลงรักปิดทองทั้งองค์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเหลาเทพนิมิต สร้างโดยพระครูธิและลูกศิษย์ ซึ่งได้สร้างหลังจากที่พระอุโบสถเสร็จ โดยพระครูธิเป็นผู้ออกแบบเองและมอบหมายให้ภิกษุแก้วกับภิกษุอินลูกศิษย์ เป็นช่างทำการก่อสร้าง พระครูธิจะอธิบายวิธีทำให้แก่ลูกสิทธิ์ และให้รายงานผลทุกวันโดยไม่ได้ลงไปสร้างด้วยตนเอง กระทั่งถึงขึ้นตอนการลงรักปิดทอง พระครูเห็นว่าช่างก่อสร้างออกมาได้งดงามมาก แต่อยากให้งามกว่านี้ แต่ช่างก็จนปัญญาที่จะทำให้องค์พระงามกว่านี้ได้ แต่มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อซาพรหม เอ่ยขึ้นว่าสามารถทำได้พระครูธิจึงมอบหายกิจนี้ให้ และพระภิกษุรูปนั้นก็ทำออกมางดงามได้สมกับที่กล่าวไว้ จนเป็นที่กล่าวขานว่า “พระเหลาเทพนิมิต” เป็นพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะงดงามที่สุดในภาคอีสาน ตามแบบฉบับศิลปะลาว สกุลช่างเวียงจันทร์ ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะช่างล้านนาและมีฝีมือช่างท้องถิ่นปรากฏอยู่มาก เช่น เค้าพระพักตร์ เปลวรัศมีที่ยืดสูงขึ้น สัดส่วนของพระเพลาและพระบาท คล้ายคลึงกับองค์พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๕

ลักษณะขององค์พระพุทธรูปที่งดงามเวลาเข้าไปกราบนมัสการจะเหมือนท่านยิ้มต้อนรับ คนทั่วไปจึงตั้งชื่อให้ท่านว่า “พระเหลา” ที่มีความหมายว่า “งดงามคล้ายเหลาด้วยมือ” ต่อมาวัดศรีโพธิชยารามคามวดี ที่ใช้เป็นที่ประดิษฐานองค์พระเหลาได้เปลี่ยนชื่อเรียกตามความนิยมในตัวองค์พระเป็นวัดพระเหลา หมู่บ้านที่ตั้งได้เปลี่ยนชื่อตามเป็นบ้านพระเหลาด้วย จนถึงพุทธศักราช ๒๔๔๑ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลี
คุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ได้เสริมนามต่อท้ายให้กับองค์พระเป็นพระเหลาเทพนิมิต ซึ่งมีความหมายว่า “พระพุทธรูปที่งามคล้ายเหลาดุจเทวดานิมิตไว้”

สำหรับพระเหลาเทพนิมิต นอกจากจะมีความงดงามตามพุทธศิลปะแล้ว มีคำเล่าลือกันว่า ทุกคืนวันพระ ๗ คํ่า ๘ คํ่า ๑๔ คํ่า ๑๕ คํ่าองค์พระพุทธรูปพระเหลาเทพนิมิต จะแสดงพุทธานุภาพให้เกิด ลำแสงสีเขียวแกมขาวลอยออกจากพระอุโบสถในเวลาเงียบสงัด

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระเหลาเทพนิมิต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอำนาจเจิญ มีความสวยงามและศักดิ์สิทธิ์มาก ชาวเมืองอำนาจเจริญจะจัดงานบุญประเพณีนมัสการประเหลาเทพนิมิตรในช่วงวันเพ็ญเดือน ๓ หรือวันมาฆบูชาของทุกๆปี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่มีความศรัทธา ได้เดินทางมาทำบุญสักการะพระเหลาเทพนิมิตร่วมกัน ทั้งนี้การเข้ากราบนมัสการพระเหลาเทพนิมิต ผู้ต้องการบนบานขอให้ประสบความสำเร็จในชีวิต โดยเฉพาะคนที่ไม่มีบุตร มีการกล่าวกันว่า เมื่อมาบนบานขอจากพระเหลาเทพนิมิตแล้วจะประสบความสำเร็จสมดังที่ตั้งใจ ส่วนสิ่งของที่ใช้บนบานสาลกล่าวก็คือ ดอกไม้ธูปเทียน และปราสาทผึ้ง

[/ultimate_modal]
bcdeae_e72bb2c2162c4a5ab3dd593ce7db5222_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระพุทธสุรินทรมงคล” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระพุทธสุรินทรมงคล ประดิษฐานอยู่ที่วนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ออกแบบโดยกรมศิลปากร มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๕ เมตร สูง ๒๑.๕ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระพุทธสุรินทรมงคล เป็นพระพุทธรูปประจำเมืองสุรินทร์ สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ โดย พล.ต.ต.วิเชียร ศรีมันตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ในขณะนั้น ได้จัดสร้างพระกริ่งจอมสุรินทร์ให้เช่า มีรายได้จำนวนหนึ่ง จึงมีความประสงค์จะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ประดิษฐานไว้บนเขาพนมสวาย จึงได้มอบทุนให้กับพุทธสมาคมจังหวัดสุรินทร์ดำเนินการ โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ ดำเนินการสร้างเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ และแล้วเสร็จ เมื่อ วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๒๐ ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ในขณะนั้นขอพระราชทานพระนาม และได้รับพระราชทานพระนามพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในสุรินทร์ว่า “พระพุทธสุรินทรมงคล” ต่อมาในปี ๒๕๒๗ ได้ทำพิธีเบิกพระเนตร พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระบรมสารีรกธาตุไปบรรจุที่บริเวณพระนาภี

พระพุทธลักษณะของพระพุทธสุรินทรมงคล เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์พระเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กองค์สีขาว พระเนตรขาวประดับด้วยเปลือกหอยมุก พระเนตรดำทำด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงหล่อรมดำ ประทับนั่งขัดสมาธิบนฐานบัวควํ่าบัวหงาย

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

ในทุกวันขึ้น ๑ คํ่า เดือน ๕ ของทุกปี ชาวเมืองสุรินทร์จะเดินขึ้นวนอุทยานพนมสวาย เพื่อสักการะพระพุทธสุรินทรมงคล ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ๙ สิ่งบนเขาพนมสวาย เชื่อกันว่าการได้ขึ้นเขาพนมสวายเป็นการเสริมสิริมงคล

[/ultimate_modal]
bcdeae_8f6e9e89b394442fb3f8c31972a802c1_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระพุทธสีหนาท” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระพุทธสีหนาท วัดสุทธจินดา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๔๕ เมตร สูง ๑.๘๓ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระพุทธสีหนาท เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา ขนาดองค์พระสูง ๑.๘๓ เมตร หน้าตักกว้าง ๑.๔๕ เมตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองเหลือง ทองแดงและโลหะต่างๆ ที่ได้ศรัทธาจากฝ่ายสงฆ์ และผู้มีจิตศรัทธาจำนวนมากได้ร่วมรายการสละปัจจัยเงินทองในการหล่อพระประธานปางมารวิชัยขนาดเท่าองค์สมเด็จพระศาสดาเหมือนกับพระประธานที่วัดสุปัฏวนารามวรวิหาร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระหล่อขัดเงาไม่ปิดทอง ประกอบด้วยพุทธลักษณะ
ทรวดทรงทุกส่วนหน้าเลื่อมใส จัดพิธีหล่อที่วัดสุทธจินดา ประธานฝ่ายสงฆ์คือสมเด็จพระมหาวีระวงศ์เมื่อยังเป็นพระพรหมฝ่ายบ้านเมือง มีพระยากำธรพายัพทิศ ( ดิน อินโอฬส ) ข้าหลวงประทวนจังหวัดนครราชสีมา ฝ่ายทหารมีพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตรผู้บังคับบัญชามณฑลทหารบกที่ ๓ เป็นประธานร่วมกัน ประกอบพิธีวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ เททองวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ เวลา ๐๖.๓๐ นาที เมื่อหล่อเสร็จแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานเหนือแท่นบูชาในพระอุโบสถ
พระประธานนี้ได้ถวายพระนามว่า “พระพุทธสีหนาท”

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระพุทธสีหนาท วัดสุทธจินดา ชาวบ้านในละแวกนั้นและชาวเมืองนครราชสีมามีความเลื่อมใสศรัทธา มีผู้แวะเวียนมานมัสการอยู่เป็นนิจ โดยเฉพาะในช่วงวันพระและเทศกาลวันสำคัญทางพุทธศาสนา จะเห็นชาวพุทธที่มีจิตศรัทธาหลังไหลมาทำบุญขอพรพระพุทธสีหนาท วัดสุทธจินดา

[/ultimate_modal]
bcdeae_f8c52e46efdb4ade8d680fedfc4fb43e_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิศิลปะเชียงแสน มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๙ นิ้ว สูง ๓.๕ นิ้ว

 

ประวัติการสร้าง

พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์องค์นี้ เป็นพระแก้วผลึกเนื้อบุษย์ขาวแท่งขนาดใหญ่ ไม่ปรากฏผู้สร้าง สืบรู้เพียงว่า มีผู้นำมาซ่อนไว้ในถํ้าเขาส้มป่อย แขวงเมืองนครจำปาสักข้างฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขง มีพรานสองคน ชื่อพรานทึง พรานเทือง ไปเที่ยวยิงสัตว์ป่า และพบพระแก้วนี้จมอยู่ในนํ้า พรานทั้งสองเกรงว่าจะมีคนมาลักพระแก้ว จึงเอาเชือกผูกพระแก้วแขวนห้อยมากับคันหน้าไม้ เพื่อเก็บรักษาไว้ที่บ้าน ในเวลาที่เดินมานั้นแก้วตรงพระกรรณเบื้องขวากระทบคันหน้าไม้ลิไปหน่อยเวลา เมื่อทั้งสองออกล่าสัตว์จะเอาโลหิตแต้มเซ่นเป็นนิจมา ความลือไปถึงเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ผู้ครองนครจำปาสัก จึงทรงให้ท้าวเพียผู้ใหญ่ไปสืบเอาพระแก้วหยดนํ้าค้างกลับคืนมา ท้าวเพียได้ทำพิธีคารวะพระแก้วหยดนํ้าค้าง โดยขออัญเชิญไปประดิษฐานยังหลวงพระบางได้โดยสะดวกเมื่อได้พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ กลับคืนสู่หลวงพระบาง เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธชาวกูร จึงจัดการฉลองสมโภชอย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลาสามวันสามคืน

ตามข้อสันนิษฐานที่สืบทราบความว่า เมื่อครั้งเจ้าพระยาราชสุภาวดี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ เจ้าอุปราชบุตรของท้าวคำ ท้าวฝ่าย ท้าวสุวอ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของเจ้าพระยาขัตติวงศา ได้เดินทางไปร่วมรบด้วย โดยมีท่านพระครูหลักคำกุผู้มีภูมิความรู้ถนัดในทางโหราศาสตร์ เป็นผู้ให้ฤกษ์และทำพิธีตัดไม้ข่มนาม ซึ่งนับเป็นพิธีปฐมกรรมอันเป็นการให้ขวัญและกำลังใจแก่เหล่าทหาร จึงทำให้การรบในครั้งนั้นประสบชัยชนะ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงได้มีรับสั่งให้พาเข้าเฝ้าโดยด่วน โดยมีท้าวฝ่ายและพระครูหลักคำกุเป็นผู้เข้าเฝ้าเพื่อถวายพระแก้วหยดนํ้าค้าง ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้ท้าวฝ่าย เป็นพระสุนทรราชวงศา และพระครูหลักคำกุ เป็นพระครูวชิรปัญญา แล้วพระราชทานปืนนางป้อมหนึ่งกระบอกให้ ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระแก้วหยดนํ้าค้างเพื่อเป็นบำเหน็จความชอบให้แก่พระสุนทรราชวงศา (สิงห์) เจ้าเมืองคนแรกของเมืองยโสธร ทั้งเพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่ชาวเมืองยโสธร

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ ปรากฏมีหลายชื่อคือ พระแก้วเพชรนํ้าค้าง พระแก้วหยดนํ้าค้าง หรือพระแก้วขาว ตามแต่ใครจะเรียก เป็นพระพุทธรูปเนื้อบุษย์ขาวที่ได้ชื่อว่างามไม่แพ้พระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดยโสธรนี้เป็นพระพุทธรูปที่ชาวเมืองยโสธรให้ความเคารพศรัทธามาก ในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ พุทธศาสนิกชนจะเดินทางไปสรงนํ้าสักการะพระแก้วหยดนํ้าค้าง เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเป็นจำนวนมาก

[/ultimate_modal]
bcdeae_dba1d3810c004d3fa9fa82b72bd98c60_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระพุทธหลักคำสิงหวรนาท” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระพุทธรูปโบราณ (พระพุทธหลักคำสิงหวรนาท) วัดศรีธาตุ บ้านสิงห์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธรูปเก่าแก่โบราณศิลปะสุโขทัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระพุทธรูปโบราณ (พระพุทธหลักคำสิงหวรนาท) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐฉาบปูน ลงรักปิดทอง ได้พบประดิษฐานอยู่ ณ ที่รกร้าง จึงได้มีการบูรณะและก่อบ้านสร้างเรือนขึ้น เคยมีเหตุการณ์ศาลาการเปรียญที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณได้พังลงมาเนื่องจากมีความเก่าและทรุดโทรม แต่องค์พระพุทธรูปโบราณ ไม่ถูกซากอาคารทับถม ไม่มีร่องรอยเสียหายแม้แต่น้อย

ตำบลบ้านสิงห์นี้ เดิมเคยเป็นที่อาศัยของชาวละว้ามาก่อนตั้งแต่สมัยสุโขทัย ต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้าง ปกคลุมไปด้วยป่ารกทึบ จนกระทั่งพระวอ พระตาได้เดินทางมาสำรวจเพื่อหาพื้นที่สร้างเมืองใหม่ จึงได้พบกับพระธาตุร้าง พระพุทธรูปโบราณและสิงห์หินแกะสลัก จึงเห็นว่าเหมาะแก่การสร้างบ้านแปลงเมือง แต่เมื่อมีการเสี่ยงทายแล้วกลับพบว่า สถานที่แห่งนี้ไม่เหมาะที่จะสร้างเมืองใหม่ขึ้น จึงมอบให้เสนาอาศัยอยู่แทน ส่วนพระวอพระตาเดินทางไปหาพื้นที่ใหม่ นับตั้งแต่นั้นมาบ้านสิงห์จึงได้กำเนิดขึ้น

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระพุทธรูปโบราณ วัดศรีธาตุมีความศักดิ์สิทธิ์ เมื่อชาวบ้านมีความทุกข์ร้อนใดๆ นำดอกไม้ธูปเทียนไปกราบสักการะ ก็จะทำให้สมารถขจัดปัญหานั้นไปได้ ช่วงวันสงกรานต์ในทุกๆ ปี พุทธศาสนิกชนจะเดินทางมาสักการะจำนวนมาก และทางวัดศรีธาตุจะจัดพิธีสรงนํ้าพระพุทธรูปโบราณในเดือนห้า บุญประเพณีสงกรานต์นี้เป็นประจำทุกปี เพื่อให้ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาได้มากราบนมัสการ

[/ultimate_modal]
bcdeae_3019f991928344bf9eba52c7f900bbf0_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระมงคลมิ่งเมือง” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระมงคลมิ่งเมือง วัดมงคลมิ่งเมือง เขาดานพระบาท ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ถอดแบบมาจากพระพุทธชินราชศิลปะสุโขทัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๙ เมตร สูง ๑๑.๐๔ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระมงคลมิ่งเมือง หรือที่มักเรียกกันโดยทั่วไปว่า “พระใหญ่” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ พระครูทัศประกาศ เจ้าอาวาสวัดมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ (ในสมัยสร้างองค์พระยังเป็นอำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี) ท่านมีความประสงค์ต้องการสร้างพระพุทธรูปประธานขนาดใหญ่ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนาที่หักพัง เช่น เศียรพระพุทธรูป ใบเสมาเก่า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ไว้ที่ใต้ฐานองค์พระ รวมทั้ง เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) องค์ปฐมสังฆนายก และให้เป็นที่เคารพสักการบูชาแก่ชาวอำนาจเจริญ

พระมงคลมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่อด้วยหิน กรวด ทราย และปูนซีเมนต์ ลักษณะพุทธศิลป์ถอดแบบมาจากพระพุทธชินราชในสมัยสุโขทัย โดยนายช่างคำเม้า ภักดีปัญญา เป็นนายช่างผู้ควบคุมการสร้าง ประดิษฐานที่ลานหินกลางสันเขาดานพระบาท ซึ่งสถานที่แห่งนี้เชื่อว่าเป็นพุทธสถานเก่าแก่อายุมากกว่า ๒,๐๐๐ ปี เพราะมีการขุดค้นพบพระพุทธรูปหินทรายสีแดง ศิลปะทวารวดี ชาวบ้านเรียกว่า “พระขี้ล่าย” หรือ “พระละฮาย” ซึ่งในภาษาอีสาน ขี้ล่าย ขี้ฮ้าย คือขี้ร้าย มีความหมายว่า ไม่
สวย ไม่งาม ปัจจุบันประพุทธรูปทั้งสององค์ที่ขุดพบ ประดิษฐานอยู่ด้านหลังพระมงคลมิ่งเมือง ให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระมงคลมิ่งเมือง พระประธานคู่บ้านคู่เมือง ณ พุทธอุทยานพระมงคลมิ่งเมือง เขาดานพระบาท จังหวัดอำนาจเจริญงานนมัสการพระมงคลมิ่งเมือง จัดขึ้นเป็นประจำในวันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๓ ของทุกปี ทั้งนี้ทุกวันเพ็ญเดือน ๓ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาการกราบไหว้บูชาพระมงคลมิ่งเมือง เป็นการเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ตัวและครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุข

[/ultimate_modal]
bcdeae_7432d814a8c64b4799480b3459895bd0_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระสุภัทรบพิตร” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระสุภัทรบพิตร ประดิษฐานอยู่ที่วนอุทยานเขากระโดง บ้านนํ้าซับ ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพระพุทธรูปปาง
สมาธิศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๒ เมตร สูง ๑๔ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระสุภัทรบพิตร พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่บ้านคู่เมืองของชาวบุรีรัมย์ ประดิษฐาน ณ วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐฉาบปูนขนาดใหญ่ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๒ เมตร ฐานยาว ๑๔ เมตร หันพระพักตร์ไปทางด้านทิศเหนือ สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ โดยนายสุรวุฒิ บุญญานุสาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ในขณะนั้น ร่วมกับพ่อค้า ประชาชน ข้าราชการและผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในแนวความคิดและโครงการต่างๆ ของหลวงพ่อบุญมา ปัญญาปโสโต เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเขากระโดงในขณะนั้น ได้ร่วมกันจัดสร้างขึ้นบริเวณยอดเขากระโดง เพื่อให้เป็นที่บูชาสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ภายในพระเศียรขององค์พระมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมาเองตามคำอธิฐานจิตของนางแจ๋ว มารดาของนายเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ หรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน เมื่อมีการสร้างองค์พระสุภัทรบพิตรขึ้น นายเสรี อิศรางกูล ณ อยุธยา จึงได้นำมาบรรจุไว้ในพระเศียรนี้ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ตระกูลสิงหเสนีย์ ได้มีผู้มีจิตศรัทธาสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นมาใหม่ มีขนาดความยาว ๒ ศอก ๑ คืบ ความกว้าง ๑ ศอก แล้วนำมาประดิษฐานไว้ในปรางค์กู่โบราณ ซึ่งเดิมเป็นปราสาทหินทรายก่อบนฐานศิลาแลงสี่เหลี่ยมขนาด ๔ x ๔ เมตร พร้อมกับได้บูรณะและสร้างมณฑปครอบทับไว้เนื่องจากตัวปราสาททรุดโทรมปรักหักพัง ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ สภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองบุรีรัมย์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกันจัดงานประเพณีขึ้นภูเขาไฟกระโดงขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อสืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นหรือประเพณีเดือน ๕ ที่ได้จัดสืบทอดต่อกันมายาวนานกว่า ๑๓ ปีแล้ว ซึ่งจะมีเหล่าข้าราชการแต่งกายเป็นเทวดา นางฟ้า และประชาชนกว่า๑,๐๐๐ คน ได้ร่วมขบวนพิธีแห่อัญเชิญผ้าอังสะความยาว ๓๙ เมตร เดินขึ้นบันไดนาคราชจำนวน ๒๙๗ ขั้น เพื่อประกอบพิธีเปลี่ยนผ้าอังสะผืนใหม่ให้แก่องค์พระสุภัทรบพิตร ที่ตั้งตระหง่านอยู่บนยอดภูเขาไฟกระโดง พร้อมกันนี้พระภิกษุสงฆ์ ๙๙ รูปยังได้สวดเจริญพระพุทธมนต์เพื่อเป็นการเสริมสิริมงคลให้บ้านเมืองสงบสุข

[/ultimate_modal]
bcdeae_decc5554b3674667b0dd72e7f17a5dba_mv2_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระพุทธไสยาสน์” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

พระพุทธไสยาสน์ วัดธรรมจักรเสมาราม ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ ศิลปะสมัยทวารวดี มีความยาว ๑๓.๓๐ เมตร สูง ๒.๕๐ เมตร

 

ประวัติการสร้าง

พระพุทธไสยาสน์หรือพระนอน เป็นพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ สลักจากหินทรายแดงขนาดใหญ่ เป็นศิลปะแบบทวารวดีที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ มีอายุราวๆ ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว ถือเป็นพระนอนเก่าแก่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันนี้ประดิษฐาน ณ วัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ในบริเวณรอบๆ ยังค้นพบเสมาธรรมจักรหินทรายด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นเสมาแบบเดียวกันกับเสมาที่พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม

พระนอนหินทราย หรือพระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพานสมัยทวารวดีนี้ เป็นการนำหินทรายมาประกอบกันขนาดของพระนอนยาวถึง ๑๓.๓๐ เมตร สูง ๒.๕๐ เมตร พุทธลักษะหันพระเศียรไปทางทิศใต้ ผินพระพักตร์หันไปทางทิศตะวันออกในส่วนของพระพักตร์ใช้หินทรายสี่ก้อนประกอบวางซ้อนกันแล้วจึงสลักเป็นรูปวงพระจันทร์จึงทำให้มีลักษณะค่อนข้างเหลี่ยมและกว้าง ทรงแย้มพระสรวลที่มุม พระโอษฐ์ชี้ขึ้น พระขนงสลักเป็นสันนูนรูปปีกกา พระเนตรเหลือบลงตํ่า พระนาสิกแบน ขมวดพระเกศาเป็นรูปก้นหอย พระหัตถ์ขวารองอยู่ใต้พระเศียร ครองจีวร ปลายพระบาทเสมอกัน ประดิษฐานอยู่ในอาคารก่ออิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ต่อมาได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมขอม จึงมีการก่อสร้างและบูรณะเพิ่มเติม วัดธรรมจักรเสมาราม เป็นวัดเล็ก ๆ เรียบง่ายและสงบ แต่มากด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพราะในอดีตเรียกบริเวณเมืองดังกล่าวว่า เมืองโคราฆปุระ ต่อมาได้เรียกเพี้ยนเป็นเมืองโคราช อันเป็นต้นกำเนิดเมืองโคราชหรือนครราชสีมาในปัจจุบัน เพราะที่นี่มีการพบธรรมจักรโบราณที่เหมือนกับเสมาธรรมจักรที่นครปฐมด้วย และไม่ไกลนักยังมี โบราณสถานที่เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ คือ ปราสาทหินเก่าแก่สมัยพระ
เจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้แก่ ปราสาทหินเมืองแขก ปราสาทหินโนนกู่ เป็นที่มาหรือเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียกขานเมืองโคราช หรือนครราชสีมาในปัจจุบัน

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระพุทธไสยาสน์ วัดธรรมจักรเสมาราม เป็นพระนอนเก่าแก่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและทางพุทธศาสนา ที่นักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนให้ความสนใจมาสักการะ ในช่วงเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วัดธรรมจักรเสมารามเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่หนาแน่นไปด้วยผู้คนที่เดินทางมานมัสการพระนอนเก่าแก่โบราณองค์นี้

[/ultimate_modal]