ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

ประยงค์ มูลสาร (ยงค์ ยโสธร) (วรรณกรรมร่วมสมัย)

ประยงค์ มูลสาร

นายประยงค์ มูลสาร หรือ ยงค์ ยโสธร เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2490 ที่บ้านโสกน้ำขาว ตำบลห้วยแกง อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธรสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรนิติสาสตร์บัณฑิต ในปีพุทธศักราช 2530 จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิรราช

เริ่มสนใจการอ่าน การเขียนหนังสือ ตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยเขียนบทกลอนหรือถ้อยรำพึงสั้นๆ และเรื่องสั้นจากความคิดฝัน และได้อ่านบทกลอนสอนใจจากหนังสือธรรมมะเช่น ธรรมจักษุที่มีตามวัด ซึ่งเป็นที่ศึกษาฝ่ายธรรมบาลีที่ไปศึกษาอยู่ต่อมาได้อ่านนิยายเรื่องเสือใบ เสือดำ ของ ป. อินปาลิต ถือเป็นครูในการประพันธ์คนแรกและเป็นแรงบันดารใจคนสำคัญให้คิดเขียนเรื่องสั้น และคิดถึงการเขียนนวนิยายและเป็นแรงบัลดาลใจในการเขียนหนังสือมาจนถึงปัจจุบันงานสำคัญในช่วงที่อยู่เขาอีกชิ้นหนึ่งคือ “นิราศแม่” คำโคลงความยาว 375 บท เขียนในปี พ.ศ.2521 ขณะลักลอบเข้ามาเคลื่อนใหวในเขตจังหวัดยโสธร บ้านเกิด ตีพิมพ์เผยแพร่โดยสำนักพิมพ์ “อุตมรัฐ” ในปี พ.ศ.2542มีนวนิยายแนวหัสการ ชื่อ “เมืองฟ้าเปื้อนฝุ่น” ยังไม่ได้ตีพิมพ์อีกเรื่อง และมีเรื่องสั้นอีกกว่า 20 เรื่อง เรื่องเขียนในนามปากกาต่างๆ เช่น เรื่อง “คลื่น” เรื่อง “สัตว์ประลาด “ เรื่อง “คำอ้าย” เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2534 ได้รวบรวมบทกวีในชื่อชุด “รอยเวลา” ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มิ่งมิตรของปรีดา ข้าวบ่อ จากนั้นในปี พ.ศ. 2535 มีเรื่องสั้นชื่อ “แร้งหลงฝูง” ตีพิมพ์ร่วมกับนักเขียนอื่นๆ ในนิตยสาร “ช่อการะเกด” 9 ของสำนักพิมพ์ “ช่างวรรณกรรม” ซึ่งดำเนินงานโดยบรรณาธิการลือชื่อ คือ สุชาติ สวัสดิ์ กับ เรืองเดชจันทรคีรี

จากนั้นมีผลงานออกมามากมาย โดยในปี พ.ศ.2551 ตีพิมพ์บทกวี “พระธาตุตาดทอง (พระธาตุกล่องข้าวน้อย) “ ร่วมกับกวีคนอื่นๆ ในหนังสือมรดกแผ่นดินนวมินทรมหาราช ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการ อำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉิลมพระชลพรรษา 80 5 ธันวาคม 2440 ตีพิมพ์เรื่องสั้น “แร้งหลงฝูง” (พิมพ์ซ้ำครั้งที่สอง) ในรวมเรื่องสั้น “สาบอาสน” ของนักเขียนแห่งอีสาน 12 คน ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการสโมสรนักเขียนภาคอีสาน มี สุมาลี โพธิ์พยัคฆ์ เป็นประธาน, ในปี พ.ศ.2552 ตีพิมพ์บทกวี “สงครามครั้งสุดท้าย” มติชนสุดสัปดาห์,ในปี พ.ศ.2553 ตีพิมพ์บทกวีชุด “คำผญา ปรัชญา บทกวี” ในมติชนสุดสัปดาห์ ในปี พ.ศ.2554 เขียนเรียงความเรื่อง“ความเป็นมาและแนวคิดในการเขียนนวนิยายคำอ้าย” ตีพิมพ์ในอีสานไรเตอร์ 32 ฉบับ คืนกลับสู่ความสามัญ ซึ่งมีคุณพิเชษฐ์ศักดิ์ โพธิ์พยัคฆ์ เป็นบรรณาธิการ เขียนเปิดอกครั้งสำคัญ ถึงเรื่องที่เก็บงำไว้ในใจมานาน

เมื่อปลายปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมา เริ่มเขียนบทความในคอลัมน์ “บางมุมมอง” และเขียนคอลัมน์ “วรรณกรรมจำนรรจ์” ในหนังสือพิมพ์ไทพิทักษ์ อันเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ซึ่งเพิ่งเริ่มออกใหม่อีกด้วย

นายประยงค์ มูลสาร จึงสมควรได้รับการยกยกเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ (วรรณกรรมร่วมสมัย) ประจำปีพุทธศักราช 2555 จากมหาวิทาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป