ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำปัน ผิวขำ (ปอง ปรีดา) (ขับร้องเพลงลูกทุ่ง)

คำปัน ผิวขำ (ปอง ปรีดา)

นายคำปัน ผิวขำ เป็นชื่อ-นามสกุลจริง ของ ปอง ปรีดา เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2475 ที่อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น การศึกษาจบมัธยมศึกษาปีที่ 2 จบการศึกษาแผนช่างไม่ โรงเรียนช่างไม่ขอนแก่น

ในชีวิตเกิดมายืนยันกับตัวเองว่า “ กูเกิดมาเพื่อร้องเพลง” เขาจึงแสวงหาโอกาสที่จะทำให้ฝันนั้นเป็นจริงแต่ก็ไม่สบโอกาสสักที เคยมีคนฝากให้ไปอยู่กับวงดนตรีหลายคณะ แต่ก็ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งนักร้องกลับต้องไปทำหน้าคนรับใช่ทั่วไปเพียงเพราะทัศนคติที่คนกรุงเทพฯ มีต่อคนอีสาน ชีวิตช่วงต้นของวัยหนุ่มจึงหันเหมาสู่เวทีพื้นผ้าใบ ภายใต้ชื่อ “ วิเชียร ศิษย์จำเนียร” ด้วยสถิติการชก 25 ครั้ง ชนะทุกครั้ง 1 จนขณะสามารถพูดได้ว่า ในพิกัดน้ำหนัก 40 กว่ากิโลกรัม เขาท้าได้ทั้งโลกแค่ได้ยินน้ำหนักของนักมวยก็ไม่ช่วยให้มั่นใจได้เลยว่าชีวิตบนผืนผ้าใบจะอยู่ได้จำเนียรเหมือนชื่อต้นสังกัด ด้วยความหลงใหลในมนต์เสน่ห์ของเสียงเพลงเป็นทุนอยู่แล้ว คำปัน ผิวขำ ก็เลิกชกมวย หันไปล่ารางวัลจากการประกวดร้องเพลง ชีวิตของคำปันผิวขำ ยังคงเวียนว่าอยู่ในวงการของผู้ที่มีดนตรีในหัวใจเพียงแต่เขายังไม่มีโอกาสได้แสดงความสามารถให้ผู้อื่นยอมรับได้ยังคงต้องทำหน้าที่รับใช่ทั่วไป กระทั่งมี คนพาเขาไปแนะนำกับ ครูมงคล อมาตยกุล ขณะเดียวกันก็พาไปฝากให้อยู่กับนักประพันธ์ ศิลปินในโลกมืด”ประเทือง บุญญประพันธ์” เจ้าของวงดนตรีประเทืองทิพย์ คำปันมีโอกาสใช้เรื่องราวความโหดร้ายที่คนอีสานได้รับ จากการเข้ามาใช้แรงงานแลกเงินในเมืองกรุงมาแต่งเป็นเพลงเพื่อชักชวนให้ชาวอีสานกลับบ้านเกิด ในบทเพลงที่ชื่อว่า “ กลับอีสาน “ ซึ่งเป็นเพลงแรกในชีวิตที่ได้รับการบันทึกแผ่น แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรอีกทั้งยังถูกมองจากภาครัฐว่าเป็นเพลงปลุกกระแสนชาตินิยมอีสานเพลงที่สร้างชื่อให้กับคำปัน ผิวขำ ในฐานะนักร้องและนักร้องและนักแต่งเพลง มีชื่อว่า “สาวฝั่งโขง” แผ่นเมื่อ พ.ศ.2501 ในนามของนักร้องใหม่ชื่อ “ปอง ปรีดา “ ได้รับการตอนรับอย่างพลิกความคาดหมายมีคนขอฟังอย่างล้นหลาม ส่งผลให้เขาได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

เนื่องในการจัดงาน “ กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 1 ปี 2532 และบทเพลงที่สร้างชื่อให้กับคำปันยังมีอีกมากมาย อาทิ สาวเจ้าอยู่บ้านใด๋ สาวป่าชาง และบทเพลงที่เกี่ยวกับคำว่า ฝั่งโขง-น้ำโขงอีกหลายเพลง

นายคำปัน ผิวขำ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง ประเภท ขับร้อง (เพลงลูกทุ่ง) ประจำปีพุทธศักราช 2551 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น