ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทองเจริญ ดาเหลา (ประพันธ์กลอนลำ)

ทองเจริญ ดาเหลา

นายทองเจริญ ดาเหลา เกิดวันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2485 ที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่4 จากโรงเรียนหนองเต่า ตำบลหนองเต่า อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

นายทองเจิรญ ดาเหลา เกิดในครอบครัวหมอลำที่มีฐานะยากจน ซึ่งมีอาชีพหลักในการทำนา เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่4 ได้ออกมารับจ้างตุ้ทำให้ทองเจริญ ดาเหลาถูกหล่อหลอมบ่มเพาะในด้านศิลปะการแสดงหมอลำสำเนียงเสียงลำอันเป็นแรงบันดาลใจสำคัญได้กระตุ้นให้เขาเกิดความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะเน้นหมอลำให้ได้ด้วยความตั้งใจฝึกหัดการลำอย่างจริงจังในระหว่างนั้นทองเจริญ ได้มีโอกาสเรียนลำ และลำร่วมกับหมอลำที่มีชื่อเสียงหลายท่าน จึงเป็นช่วงเวลาที่ได้สั่งสมประสบการณ์ทั้งการเรียนรู้โดยตรง กับผู้เป็นบิดา และศิลปินผู้มากความสามารถอื่นๆรวมทั้งหมอลำเคน ดาเหลาผู้เป็นญาติใกล้ชิดส่งผลให้พัฒนาฝีมืออย่างรวดเร็วแต่สิ่งหนึ่งที่ทองเจริญได้เปรียบหมอลำอื่นคือ ความสามารถในการประพันธ์กลอนลำซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากผู้เป็นบิดาเช่นกัน ด้วยความฉลากปลาดเปลื่องอีกทั้งการหาโอกาสเพิ่มพูน ความรู้ เพิ่มเติมอยู่เป็นนิด จึงทำให้กลอนลำของทองเจริญ มีความพิเศษคือ ให้ทั้งสาระโลกและทางธรรม เป็นที่น่าจับใจเพราะให้ทั้งความคิด ความรู้และจินตนาการกับผู้ฟังได้เป็นอย่างดี

ทองเจริญ ดาเหลา มีผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากมายซึ่งส่วนใหญ่ประพันธ์ขึ้นเพื่อใช้ในการบันทึกและแสดงสดร่วมกับหมอลำบุญช่วง เด่นดวง คู่ชีวิต ซึ่งเป็นคู่ขวัญ หมอลำกลอนในดวงใจ ของใครหลายคน อาทิ ประวัติเมืองเวียงจันทร์ ประวัติพระธาตุพระนมห้ามเอาเมีย2 สะพานทองไทยลาว ฮีตสิบสิงคลองสิบสี่ ลำกลอนมหามันส์ เต้ยท่องเที่ยว พี่น้องสองฝั่งโขง พระพุทธเจ้าเข้าสู่นิพานและมาถึงปีพุทธศักราช 2540 ได้ออกอัลบั้มชุดที่11 ชุดอนุรักษ์ดอนเจ้าปู่ ตามมาด้วยอัลบั้มชุดที่12 อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผลงานที่สร้างชื่อเสียงโด่งดัง มากที่สุด คือชุด คุยเฟื่องเรื่องซาอุ หรือสะพานทองไทยลาว ซึ่งทำให้พี่น้องฝั่งลาวติดอกติดใจนอกจากนั้นท่านยังรับถ่ายทอดศิลปะท่าฟ้อน การแต่งประพันธ์กลอนลำ เทคนิคการใช้เสียงลำให้แก่ผู้สนใจ ที่เข้ามาศึกษากับท่านที่ศูนย์เรียนรู้ด้านหมอลำและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการลำให้กับนักศึกษา สาขาศิลปะการแสดงคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดร และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาศิลปินนิพนธ์ของสาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย มหาสารคามจากผลงานมากมายและอุทิศชีวิตเพื่อการศึกษาด้านภูมิปัญญาหมอลำ ส่งผลให้ท่านได้รับการยกย่อง เป็นครูภูมิปัญญาไทยด้านการประพันธ์กลอนลำ จากสภาการศึกษาอีกด้วย

นายทองเจริญ ดาเหลา จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ (ประพันธ์กลอนลำ) ประจำปีพุทธศักราช 2555 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป