รายงานผลข้อตกลงการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศ Objective & Key Result (OKRs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
2
1
หอมละมุน
รายละเอียด
เป้าหมายหน่วยงานปี 2566 ประเทศที่เข้าร่วมอย่างน้อย 3 ประเทศ
กลุ่มประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงในการร่วมจัดกิจกรรม จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ (1) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน,(2) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, (3) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, (4) สาธารณรัฐสิงคโปร์, (5) สหรัฐอเมริกา และ (6) ญี่ปุ่น
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมของคณาจารย์ ศิลปินระดับชาติ และนานาชาติ (โฮมดิน 3) ในระหว่างวันที่ 20-26 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ชุมชนด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา โดยวัตถุประสงค์เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม รวมถึงร่วมอนุรักษ์และส่งเสริมให้ศิลปินมีพื้นที่ในการแสดงผลงาน และเป็นสร้างภาคีเครือข่ายในอนุภาคลุ่มน้ำโขง โดยมีคณาจารย์ ศิลปิน ทั้งในและต่างประเทศ เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 120 คน
โครงการความร่วมมือทางวิชาการศิลปวัฒนธรรมลาว-ไทย “มรดกล้านช้าง” ครั้งที่ 7 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 25-28 เมษายน 2566 ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการศึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำเสนอบทความวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม โดยมีการแบ่งกลุ่มอบรมในหัวข้อหลักการเขียนบทความวิจัยโดยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งการจัดโครงการในครั้งนี้เป็นการจัดโครงการครั้งที่ 7 นับเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนสองฝั่งโขงได้ตระหนักและเห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งเป็นการสร้างรากฐาน สายสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลากรทั้งสองสถาบัน เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของสถาบันทั้งสอง อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
0%
มีประเทศเข้าร่วม 6 ประเทศ
ปฎิบัติงานสำเร็จ
334063652_151747831083054_6396560086774168205_n
333938203_201946165847753_8068539590420632662_n
333926248_6173093912711209_8349446966329032036_n
0G0A5122-500×333
กรอบปก-มรดกล้านช้าง-1-2048×1366
จำนวนเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น
เป้าหมายหน่วยงานปี 2566 จำนวนเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม ที่เข้าร่วมอย่างน้อย 10 เครือข่าย
1. โครงการบุญสมมา บูชานาค “สีฐานเฟสติวัล” มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2565 ในระหว่างวันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2565 โดยมีชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมลานวัฒนธรรมและกิจกรรมขบวนแห่ ประกอบด้วย (1) ชุมชนสีฐาน 1,2,3 (2) ชุมชนบ้านสาวะถี (3) ชุมชนท่าพระ (4) ชุมชนสามเหลี่ยม 1,5 (5) บ้านศิลา (6) ชุมชนแก่นพยอม (7) ชุมชนหนองแวงตราชู (8) บ้านโคกฟันโปง (9) ชุมชนเทศบาลบ้านโนนชัย (10) ชุมชนบ้านดอนบม
2.โครงการสานสัมพันธ์เครือข่ายนักศึกษา ด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ครั้งที่ 5 ประจำปี 2566 ในระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี (11) เครือข่ายนักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม
3.โครงการสัมมนาถ่ายทอดปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชื่อมโยงเครือข่ายบุคลากรด้านศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2566 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมี (12) เครือข่ายผู้ประสานงานด้านศิลปวัฒนธรรม มข. เข้าร่วมโครงการ
4.โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัตการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมของคณาจารย์และศิลปินในระดับชาติ (โฮมดิน) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20-26 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงปั้นชุมชนด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมาโดยวัตถุประสงค์เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม รวมถึงร่วมอนุรักษ์และส่งเสริมให้ศิลปินมีพื้นที่ในการแสดงผลงาน และเป็นสร้างภาคีเครือข่ายในอนุภาคลุ่มน้ำโขง โดยมีอาจารย์ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด 21 แห่ง และเครือข่ายศิลปินเข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 เครือข่าย ได้แก่ (13) ศิลปินแห่งชาติ, (14) ศิลปินมรดกอีสาน, (15) ศิลปินกลุ่มด่านเกวียนร่วมสมัย
5.โครงการ “บุญข้าวจี่ วาเลนไทน์” (เติมรักบุญข้าวจี่ วิถีบุญเดือนสาม) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ริมบึงสีฐาน ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายในงานมีการแสดงมากมาย และมีการประกวด Miss Valentine 2023 เพื่อเป็นการสร้างกิจกรรมด้านประเพณี ศาสนา วัฒนธรรมและกิจกรรมแห่งความรักในความเป็นอีสานสู่สากล มีเครือข่ายที่เข้าร่วม จำนวน 2 เครือข่าย คือ (16) เครือข่ายชุมชนบ้านสาวะถี (17) เครือข่ายวัฒนธรรมสร้างสรรค์
6. โครงการผู้บริหารพบเครือข่าย (เครือข่ายครูศิลปะ) โดยจัดขึ้นในวันที่ 17 มีนาค6 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้ง (18) เครือข่ายครูศิลปะระดับมัธยมในจังหวัดขอนแก่น สร้างความร่วมมือในการจัดกิจกรรมด้านศิลปะร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น
7.โครงการบุญเดือนห้า แห่พุทธบูชา สมมาอาวุโส ประจำปี 2566 โดยจัดขึ้นในวันที่ 4 เมษายน 2566 ณ คุ้มศิลปวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์และสืบสานและแสดงออกถึงความเคารพต่อผู้อาวุโสตามประเพณีของไทย โดยภายในงานประกอบด้วยกิจกรรม การรดนำ้ขอพรผู้อาวุโส การแสดงศิลปวัฒนธรรม พิธีสักการะหลวงพ่อพระศรี 50 ปี มข. การประกวดขบวนแห่ การประกวดนางสังขาน การประกวดตบประทาย ขบวนแห่พุทธบูชา ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายชุมชนรอบรั้วมหาวิทยาลัย เข้าร่วมงาน ประกอบ (19) บ้านหนองหิน (20) ชุมชนสีฐาน 4 (21) บ้านหัวทุ่ง หมุ่ 5 (22) บ้านโคกฟันโปงหมู่ 21,24 (23) ชุมชนหนองแวงตราชู 2
8.งานเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีและวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2566 จัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายน 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มข. ดยมีศิลปินผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติทั้งหมด 18 ท่าน แบ่งเป็น รางวัลอมรศิลปิน จำนวน 1 ท่าน รางวัลศิลปินมรดกอีสาน 4 ท่าน และรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ จำนวน 13 ท่าน โดยมีเครือข่ายศิลปินมรดกอีสานและ (24) เครือข่าย ผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ เข้าร่วมงานจำนวนมาก
9.การประกวดละครเยาวชนสร้างสรรค์ ระดับมัธยมศึกษา “แก่นอีสานวัฒน์” ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 5 ประจำปี 2566 โดยจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20-28 เม.ย.66 (รอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ) และวันที่ 29-30 เม.ย.66 (รอบตัดสิน) โดยมีเครือข่ายโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 11 สถาบัน ได้แก่ (25) โรงเรียนประชารัฐวิทยาเสริม (26) โรงเรียนกัลยาณวัตร (27) โรงเรียนโนนคร้อวิทยา (28) โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา (29) โรงเรียนมหิศราธบดี (30) โรงเรียนสกลนครพัฒนาศึกษา (31) โรงเรียนสหัสขันธ์ศึกษา (32) โรงเรียนยางชุมน้อยวิทยา (33) โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา (34) โรงเรียนเบญจลักษณ์พิทยา (35) โรงเรียนชมพูศึกษา (36) โรงเรียนขามแก่นนคร และ (37) โรงเรียนอุดรพิทยานูกูล
0%
จำนวนเครื่องข่ายที่เข้าร่วม 37 เครือข่าย
ปฏิบัติงานสำเร็จ
333938203_201946165847753_8068539590420632662_n
342515058_893160378442401_6189342867331079656_n
344240376_802507911296805_743349184551076933_n
344546593_969089744446305_2683044627425768410_n
0G0A2196-1-2048×871
335077849_630196992265496_859026900960160454_n-1920×1280
S__2842717
S__2842701
S__2842649
ชนะเลิศ-ประยนต์-ช่างเกวียน-1920×1281
เป้าหมายหน่วยงานปี 2566 ผลิตภัณฑ์/งานบริการ เชิงสร้างสรรค์ อย่างน้อย 100 ผลิตภัณฑ์
1. ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ได้กำหนดจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมของคณาจารย์ ศิลปินระดับชาติ และนานาชาติ (โฮมดิน 3) ในระหว่างวันที่ 20-26 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ชุมชนด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา โดยวัตถุประสงค์เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม รวมถึงร่วมอนุรักษ์และส่งเสริมให้ศิลปินมีพื้นที่ในการแสดงผลงาน และเป็นสร้างภาคีเครือข่ายในอนุภาคลุ่มน้ำโขง โดยมีคณาจารย์ ศิลปิน ทั้งในและต่างประเทศ เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 120 คน และมีสถาบันเข้าร่วมมากกว่า 21 สถาบัน อาทิ เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยศิลปากร, วิทยาลัยช่างศิลป์, ลาดกระบัง, วิทยาลัยช่างศิลป์สุพรรณบุรี, วิทยาลัยเพาะช่าง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ศิลปินแห่งชาติ, ศิลปินมรดกอีสาน, กลุ่มด่านเกวียนร่วมสมัย และกลุ่มศิลปินต่างชาติ ได้แก่ (1) ศิลปินจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน,(2) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, (3) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, (4) สาธารณรัฐสิงคโปร์, (5) สหรัฐอเมริกา และ (6) ญี่ปุ่น ซึ่งผลงานประติมากรรมดังกล่าวจะนำมาจัดแสดง ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวนผลิตภัณฑ์จากโครงการจำนวน 80 ชิ้นงาน
0%
ผลิตภัณฑ์/งานบริการ เชิงสร้างสรรค์ 80 ผลิตภัณฑ์
กำลังดำเนิการ
334277323_933826644464476_1402571754787944668_n
333938203_201946165847753_8068539590420632662_n
334063652_151747831083054_6396560086774168205_n