ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

บทความเสวนาออนไลน์ “พุทธแท้ พุทธไทย พุทธเทศ ภายใต้วัฒนธรรมใหม่ (New Normal)”

สามารถชทมได้ทาง YouTube

>> คลิ๊ก <<

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 เวลา 10.00-12.00 น. ที่ผ่านมา ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ หลักสูตรวิจัยวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดงานเสวนาออนไลน์ ครั้งที่ 2ในหัวข้อ “พุทธแท้ พุทธไทย พุทธเทศ ภายใต้วัฒนธรรมใหม่ (New Normal)”ผ่านระบบการประชุมทางไกล (VDO Conference) ด้วยแอปพลิเคชัน Zoomโดยได้รับเกียรติจากวิทยากรรับเชิญ 2 ท่าน คือศ.ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ ภาควิชาประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดีอังกฤษคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และพระครูพิพิธสุตาทร (บุญช่วย สิรินฺธโร),ดร.ศูนย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการเสวนาโดย ผศ.ดร.หอมหวล บัวระภาก่อนเข้าสู่ประเด็นการเสวนาครั้งนี้ รศ.ดร.นิยม วงษ์พงศ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และประธานหลักสูตรวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เล่าถึงความเป็นมาของการจัดโครงการและเสวนาครั้งนี้ ซึ่งเกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด – 19 ที่ไม่สามารถจัดเสวนาในรูปแบบของการ On site ได้ จึงต้องจัดเสวนา Online เพื่อให้สอดรับกับแนวคิดของมหาวิทยาลัยที่ต้องการเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล

รศ.ดร.นิยม วงษ์พงศ์คำ ได้เกริ่นนำถึงเนื้อหาจากการเสวนาออนไลน์ครั้งแรก ที่ได้จัดขึ้นในหัวข้อ “สภาวการณ์งานช่างศิลปะกรุงเทพฯ งานช่างศิลปะอีสาน” ซึ่งจะเห็นได้ว่าศิลปกรรมนั้นยึดโยงไปกับผู้คนและวัฒนธรรม การเสวนาดังกล่าวนั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและเกิดองค์ความรู้มากมายในวงเสวนา ผลตอบรับที่ดีของการจัดเสวนาในครั้งแรก จึงนำมาสู่การเสวนาในครั้งนี้ ซึ่งประเด็นด้านพุทธศาสนานั้นก็กำลังเป็นที่กล่าวถึงและอยู่ในกระแสสังคมมาโดยตลอด จึงต้องร่วมกันไขข้อสงสัยถึงวาทกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนาสาระสำคัญจากการเสวนาในครั้งนี้ วิทยากรได้พูดคุยเกี่ยวกับความเป็น “พุทธ” ซึ่งนักวิชาการได้นิยามและเรียกพระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาลและคำสอนพระไตรปิฎกว่า “พุทธศาสนาดั้งเดิม (Early Buddhism)” หรืออาจเรียกได้ว่าพุทธแท้ ภายหลังเมื่อพุทธศาสนาได้แยกเป็นนิกายต่าง ๆ ซึ่งการกำเนิดของแต่ละนิกายมาจากการตีความพุทธพจน์ที่แตกต่างกัน และเมื่อพระพุทธศาสนาเผยแพร่ไปยังส่วนต่างๆ ของโลกก็ได้รับอิทธิพล จากวัฒนธรรม ประเพณี การเมืองการปกครอง ผสมผสานกับความเชื่อท้องถิ่น ทำให้ความ “แท้” ของพุทธศาสนานั้นแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพุทธศาสนาในประเทศไทย ซึ่งเดิมนั้นประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีความเชื่อดั้งเดิมคือการนับถือ ผีบรรพบุรุษ และความเชื่อในอำนาจของธรรมชาติ เมื่อรับอิทธิพลของพุทธศาสนาพร้อมกับศาสนาพราหมณ์เข้ามา จึงเกิดเป็น “พุทธไทย” หรือการผสานความเชื่อระหว่าง “ผี พราหมณ์ พุทธ” ขึ้น ซึ่งความเชื่อ และลักษณะของพิธีกรรมเกี่ยวกับการนับถือผี เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ทำให้ขัดกับความเป็นพุทธแท้ แต่ขณะเดียวกันพุทธศาสนาเถรวาทก็ไม่ได้รับและปฏิเสธเรื่องของผีหรือพราหมณ์โดยเด็ดขาด จากสถานภาพของพุทธศาสนาในประเทศไทยดังกล่าว จึงทำให้เกิดความเป็นห่วงว่าพุทธแท้นั้นจะค่อย ๆ ห่างหายและเสื่อมถอยลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 นำมาสู่วิถีชีวิตใหม่ พิธีกรรมทางพุทธศาสนา การรวมตัวในศาสนสถานเป็นสิ่งที่ต้องงดเว้น ระยะห่างของศาสนิกชนกับวัดเริ่มกว้างออกไป และกั้นด้วยการสื่อการแบบออนไลน์ เป็นการที่พุทธศาสนาจะต้องมีการปรับตัวไปด้วย อย่างไรก็ตามแนวทางที่ควรจะดำเนินคือการเข้าใจกฎของธรรมชาติ สร้างความเข้าใจในพุทธแท้ ยึดพระรัตนตรัยเป็นสำคัญ ประโยชน์ต่อตนเองและประโยชน์ต่อผู้อื่น ศาสนสัมพันธ์ นักสื่อสารแห่งความเป็นพุทธแท้ ยอมรับได้ พอเหมาะพอสมไม่ว่าพุทธศาสนาจะเป็นพุทธแท้ หรือพุทธเทียม หรือพุทธแบบใดนั้น ไม่สำคัญเท่ากับการนำมาปฏิบัติ แล้วนำทางชีวิตไปสู่สัมมาทิฎฐิหรือมรรคปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม

]]>