ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

เมืองต้องสู้ : โครงการผังเมืองของญี่ปุ่น ทศวรรษ 1960 นิทรรศการฉายภาพการพัฒนาเมืองของญี่ปุ่น

เรียนรู้และเข้าใจการพัฒนาผังเมืองญี่ปุ่นผ่านนิทรรศการเมืองต้องสู้ : โครงการผังเมืองของญี่ปุ่น ทศวรรษ 1960 จาก 4 ส่วนที่บอกเล่าประวัติศาสตร์การพัฒนาเมืองและสะท้อนรากฐานการสร้างผังเมืองในปัจจุบัน| 31 พฤษภาคม – 12 มิถุนายน 61 หอศิลปวัฒนธรรม มข. หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย จัดแสดงนิทรรศการเมืองต้องสู้ : โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทศวรรษ 1960 โดย นาโอะฮิโกะ ฮิโนะ (Exhibition Struggling Cities : From Japanese Urban Projects In the 1960s Supervised by Naohiko Hino) โดยนิทรรศการจะจัดแสดงระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 12 มิถุนายน 2561 ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เวลา 10.00 น. – 19.00 น. เปิดให้เข้าชมทุกวัน [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="5333,5334,5342,5343,5329,5327,5328,5339,5336"] สำหรับพิธีเปิดนิทรรศการได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ เป็นประธานในพิธี โดยมีคุณโนริฮิโกะ โยชิโอกะ ผู้อำนวยการบริหารเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการจัดนิทรรศการ และนายบัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม กล่าวต้อนรับ พร้อมผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาครัฐ และภาคเอกชน คณาจารย์ นักศึกษา สถาปนิก และผู้สนใจร่วมงาน โดยมีการเสวนาวิชาการ เรื่อง “โตเกียว ขอนแก่น : เมืองต้องสู้” โดย รศ.ดร.รวี หาญเผชิญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2561 ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ร่วมกันบอกเล่าแนวคิดการพัฒนาเมืองของญี่ปุ่นและสะท้อนถึงการพัฒนาเมืองของไทยจากในเมืองเมืองหลวงสู่ภูมิภาคทั้งในด้านสถาปัตกรรม และการปกครอง

รศ.ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ กล่าวว่า เมืองต้องสู้ : โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทศวรรษ 1960 ศิลปะและวัฒนธรรม และแนวคิดด้านสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่นเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีสถาปนิกชาวญี่ปุ่นหลายท่านได้รับการยอมรับทั่วโลก ซึ่งวารสารทางสถาปัตยกรรมได้รับความนิบมอย่างแพร่หลาย โดยผลงานการออกแบบในนิทรรศการนี้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติและได้รับความสนใจให้จัดแสดงในหลายประเทศ การสัญจรการจัดแสดงนิทรรศการจะเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้เห็นถึงสถาปัตยกรรมและการวางผังเมืองของญี่ปุ่นในทศวรรษ 1960 แสดงถึงข้อจำกัดของโครงการเมืองของญี่ปุ่น การควบคุมเมือง การเปรียบเทียบ การขยายตัวของเมืองในญี่ปุ่น รวมถึงการเปรียบเทียบกับนานาประเทศ เกิดการสะท้อนถึงโครงการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรมในประเทศไทย เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความเข้าใจ และเรียนรู้ร่วมกัน โดยผลงานการออกแบบนิทรรศการเมืองต้องสู้ : โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทศวรรษ 1960 สร้างประเทศให้กับผ้ชมในส่วนภูมิภาค

นายบัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม กล่าวว่า จุดเริ่มของนิทรรศการเมืองต้องสู้ : โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทศวรรษ 1960 ที่เกิดขึ้นในขอนแก่น มีการพิจารณาและตัดสินใจใช้พื้นที่นี้ซึ่งเป็น 1 ใน 2 แห่งของไทยที่ได้รับเกียรติในการจัดแสดงนิทรรศการระดับนานาชาติต่อจากหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นนิทรรศการที่จัดแสดงในส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งคณาจารย์ นักศึกษา สถาปนิก รวมถึงผู้สนใจได้ร่วมเห็นถึงแนวคิดในการพัฒนาเมืองในนิทรรศการเมืองต้องสู้ : โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทศวรรษ 1960 ทั้งนี้ขอขอบพระคุณความร่วมมือระหว่างเจแปนฟาวน์เดชั่น สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และมหาวิทยาลัยขอนแก่น

คุณโนริฮิโกะ โยชิโอกะ ผู้อำนวยการบริหารเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการจัดนิทรรศการว่า เจแปนฟาวเดชั่น มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความเข้าร่วมกันผ่านประเทศต่างๆ ผ่านโครงการการเเลกเปลี่ยนทางศิลปวัฒนธรรม การเรียนภาษาญี่ปุ่น รวมถึงส่งเสริมญี่ปุ่นศึกษาในประเทศต่างๆ รู้สึกยินดีอย่างยิ่งในการจัดแสดงนิทรรศการสัญจรเมืองต้องสู้ : โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทศวรรษ 1960 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการส่งเสริมด้านทัศนศิลป์ของเจแปนฟาวเดชั่น ซึ่งได้เดินทางสัญจรจัดแสดงกว่า 40 เมือง ใน 24 ประเทศ โดยนิทรรศการนี้แสดงให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่น ซึ่งบางโครงการยังคงขับเคลื่อนและมีการสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน และในบางโครงการจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ชม ซึ่งในขอนแก่นมีศักยภาพและมีสถาปนิกที่มีความสามารถมากมายและมีขนาดเมืองที่ใหญ่ หวังอย่างยิ่งว่านิทรรศการนี้จะช่วยให้ทุกท่านเข้าใจแนวคิดการวางผังและความรู้ด้านสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่น และเป็นกระจกสะท้อนให้เกิดความสนใจการเปลี่ยนแปลงของเมือง ทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างไทยและญี่ปุ่น [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="5339,5341,5338,5337,5336,5335,5340"] เมืองต้องสู้ : โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทศวรรษ 1960 โดยเจแปนฟาวน์เดชั่น สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น นิทรรศการสัญจรซึ่งจัดแสดงมากกว่า 20 ประเทศ ตลอดระยะเวลา 20 ปี โดยในประเทศไทยจัดแสดง 2 สถานที่เท่านั้น ได้แก่ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นส่วนสำคัญในการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างไทยและญี่ปุ่น ย้อนไปสู่การพัฒนาเมืองเมื่อกว่า 60 ปีที่ผ่านมา มีการคิดค้น ทดลอง โดยนิทรรศการแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ประวัติศาสตร์ของเมืองในอุดมคติ บอกเล่าการก่อตัวขึ้นตามสภาพภูมิศาสตร์ของสถานที่ ซึ่งอาจเป็นแม่นำ ท่าเรือ ซึ่งมีเอกลักษณ์ในการมองโลกของแต่ละสังคม ส่วนที่ 2 โครงการผังเมืองในฝันของญี่ปุ่น บอกเล่าโครงการผังเมืองสำคัญ 3 โครงการ ซึ่งถูกนำเสนอในช่วงต้นทศวรรษ 1960 แต่ไม่มีโครงการใดถูกสร้างขึ้นจริง แต่เห็นถึงปัญหาและความเปลี่ยนแปลงที่เมืองกำลังเผชิญในขณะนั้น ส่วนที่ 3 เมืองต่างๆ ในโลกในทศวรรษ 1960-1970 บอกเล่าถึงการวางผังเมืองในสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นจริงทั่วโลก โดยสามารถเปรียบเทียบผังเมืองดั้งเดิมของเมืองกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงได้โดยการเปรียบเทียบแบบร่างผังเมืองเดิมและสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ส่วนที่ 4 สารพันปัญหาของเมืองร่วมสมัย บอกเล่าถึงการขยายของเมืองต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่โตขึ้น และกว่าครึ่งของประชากรก็อาศัยอยู่ในเมือง และนำมาซึ่งภาพลักษณ์ของเมืองที่แสดงออกมาและการแก้ไขข้อบกพร่องการสิ่งที่เกิดขึ้น]]>