ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

คราม : ผูก รัด มัด ย้อม

โดย ลดาเนตร พูสี นักศึกษาฝึกประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

“ผ้ามัดย้อม” เป็นงานหัตถกรรมที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีกรรมวิธีและเทคนิคที่ทำให้เกิดลวดลายหลายวิธีทั้งในรูปแบบของการ มัด บิด พับ หนีบ โดยใช้เชือก ยาง และอุปกรณ์ชนิดอื่นที่เป็นตัวกั้นสี ทั้งหมดนั้นเรียกว่า “การมัดย้อม” ส่วนผ้าที่ผ่านกระบวนการมัดย้อมจึงถูกเรียกว่า ผ้ามัดย้อม

อาจารย์ชวนะพล น่วมสวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อธิบายว่า “กระบวนการของผ้ามัดย้อม คือ การเอาผ้ามาสร้างลวดลายโดยการมัดผ้าเป็นลวดลายต่าง ๆ แต่ที่เรียกว่าย้อมครามคือการเรียกเทคนิคกระบวนการ โดยวิธีการทำคือ ใช้วิธีการย้อมเย็นโดยเอาใบครามมาแช่น้าไว้เป็นเวลาหนึ่งคืน จากนั้นใส่ปูนแดงแล้วตีให้เข้ากันจนเกิดฟองละเอียดแล้วเทน้ำทิ้ง เก็บตะกอนของครามไว้เพื่อให้ได้เนื้อครามมา หลังจากนั้นเอาเนื้อครามมาผสมกับน้ำด่าง ขี้เถ้า มะขามเปียก น้ำตาลทราย แล้วหมักทิ้งไว้เป็นเวลาสามวันก็สามารถนามาย้อมผ้าได้” [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="4630,4625,4619,4618,4922"] โครงการ “เสริมสร้างประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้” ที่ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดโครงการขึ้น มีกิจกรรมอธิบายและสาธิตขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อมรวมไปถึงการให้ลงมือปฏิบัติจริงในการมัดผ้าและย้อมผ้า

อาจารย์สุปราณี คงทอง ข้าราชการครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 ถ่ายทอดความรู้สึกว่า “ได้รับความรู้จากการทาผ้ามัดย้อมจากลวดลายต่าง ๆ ทั้งลายลูกแก้ว รูปหัวใจ หลากหลายตามแบบที่เราทำได้ แล้วก็สร้างความสุข สร้างรอยยิ้ม ความสนุกสนานและได้เพื่อนใหม่ อยากให้งานแบบนี้เผยแพร่ไปที่อื่น เช่น โรงเรียนที่ประจำอยู่เนื่องจากขาดคนที่มีประสบการณ์ทางด้านนี้” เสน่ห์ของผ้ามัดย้อมคือการที่เราต้องใช้ระยะเวลาในการทำตามกระบวนการ ด้วยโทนสีที่เป็นเอกลักษณ์ของ “คราม” ธรรมชาติ ลวดลายที่ปรากฏอยู่บนผ้าจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์เพราะการออกแบบลวดลายบนผืนผ้าก่อนจะนาไปย้อมนั้นเป็นอิสระไม่มีแบบแผนตายตัว จึงเกิดเป็นการริเริ่มความคิดสร้างสรรค์จากจินตนาการและความตื่นเต้นกับลวดลายบนผืนผ้า เป็นผลงานที่เราสามารถออกแบบได้เองตามที่ต้องการ]]>