ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

บุญข้าวจี่ วิถีบุญเดือน 3

โดย สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บุญข้าวจี่ นิยมทำในเดือน 3 คำว่า ข้าวจี่ เป็นภาษาอีสาน คือ การนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกดีแล้ว มาปั้นให้เป็นรูปร่างกลมรีคล้ายๆ กลองเพล นำไม้มาเสียบให้ทะลุไปตามด้านยาว แล้วนำเกลือมาโรย เพื่อเพิ่มรส นวดคลึงดีแล้ว นำไปย่างไฟถ่านที่กำลังร้อน การย่างไฟนี้คนอีสานเรียนกว่า จี่ เดิมคนอีสานคงรู้จักปรุงรสด้าวเกลือเท่านั้น ต่อมามีทั้งการนำไข่มาทาและน้ำอ้อยเป็นก้อนมายัดไส้ให้ร่อยขึ้นปัจจุบันรูปร่างข้าวจี่ก็เปลี่ยนไปบางแห่งทำลักษณะแบบและทำเพื่อขายก็มี Bun Khao Chee is commonly held in the third month of the lunar calendar [around February]. The term khao chee is an Isan term that describes the following method of preparing sticky rice: take some well-cooked sticky rice, roll it into an oval, drum-shaped form and stab it with a wooden stick. To season, sprinkle it with some salt and press the sticky rice softly to the stick. Then, roast it over charcoal fire, a method that is commonly referred to as chee in the Isan language. Originally, Isan people would only seasoned the khao chee with salt but later beaten eggs and sugar were added to increase the taste. Today, in some place, the form of the khao chee has changed to a flat shape and, sometimes, they are even commercially produced. [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="1454,1465,1453,1458,1457"] ที่มาของบุญข้าวจี่ สันนิษฐานว่าน่าจะมาจาก เรื่องราวในพระพุทธศาสนา คืองานปุณณทาสี เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถีมีหญิงคนหนึ่งชื่อ นางปุณณทาสี เป็นคนใช้เศรษฐี วันหนึ่งนางได้นำข้าวเปลือกไปซ้อมข้าว (ตำข้าวเพื่อให้เป็นข้าวสาร)นางได้เอาปลายข้าวมาทำเป็นขนมแป้งจี่ (ข้าวจี่) ตอนขากกลับนางพบพระพุทธเจ้าและพระอานนท์ ออกบิณฑบาต นางคิดว่าถือเป็นโอกาสดีควรใส่บาตรแต่ก็มีเพียงแป้งจี่ ซึ่งถือเป็นอาหารของคนจน พระองศ์จะเสวยหรือไม่ แต่นางก็ใส่บาตรไปด้วยศรัทธาพระพุทธเจ้าทรงทราบวาระจิตของนางประสงค์จะให้นางยินดีในทาน จึงทรงประทับเสวยแป้งจี่หรือข้าวจี่ไม่ไกลจากที่นางใส่บาตรนัก นางรู้สึกยินดีในทานของตนเป็นอันมาก ต่อมาเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาด้วยก็ได้บรรลุธรรมชั้นโสดาบัน ด้วยเหตุนี้ ต่อมาชาวพุทธโดยเฉพาะภาคอีสานจึงนิยมทำข้าวจี่ถวายพระสืบต่อมาจนเป็นประเพณี โดยนิยมทำในช่วงเดือน 3 จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญเดือน 3 สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน The Origin of Khao Chee It was presumed that khao chee came from Bhunnadasi Feast, one of Buddhist tales. In the story, Lord Buddha stayed at Chettawan Mahar Vihan in Sawatdhi, where a woman called Bhunnadasi worked as a servant of a wealthy family. One day, Bhunnadasi pounded rice and used the broken milled-rice make rice cakes. On her back to the house, she met the Lord Buddha and Ananda who were asking for alms. Bhunnadasi thought it was a great opportunity to give them alms, but the only food she had was rice cakes, a food of the poor. Wondering whether the Lord Buddha would eat it or not, she faithfully put the rice cakes into the alms bowl. The Lord Buddha was aware of her true intention to give, thus he ate the rice pancake not far from her sight. Bhunnadasi was rejoiced that she could give alms and the Lord Buddha ate it. She attended the Lord Buddha’s sermons and became enlightened. Buddhists, particularly in the Isan region, would commonly make khao chee to offer to Buddhist monks. This practice has been carried on for a long time so that it became one of the religious traditions in the Northeast, and is held in the third month of lunar calendar, or known as Bun Duan 3.]]>