โดย สุดารัตน์ พิพิธกุล นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
บุญข้าวจี่จะนิยมทำกันในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสาม ซึ่งจะตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันมาฆบูชา (เดือนสาม ขึ้น ๑๔ ค่ำ) ส่วนใหญ่จะกำหนดวันแรม ๑๓ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ เดือนสาม โดยมีตำนานเล่ากันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลว่า วันหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จไปบิณฑบาตที่บ้านเศรษฐีปุณณ ขณะนั้นปุณณทาสี คนใช้ของเศรษฐีเจ้าของบ้านกำลังย่างข้าวเหนียวเพื่อรับประทานเอง ครั้นนางเห็นพระพุทธองค์ออกบิณฑบาต นางไม่มีปัจจัยสิ่งอื่นที่พอจะถวายได้ จึงเอาข้าวย่างก้อนนั้นใส่บาตรแก่พระพุทธองค์ เมื่อนางใส่บาตรไปแล้ว นางทาสีมีจิตพะวงว่า พระพุทธองค์จะไม่เสวย เพราะภัตตาหารที่นางถวายไม่ประณีต ข้าวย่างหรือข้าวจี่นั้นเป็นอาหารของชาวบ้านที่ค่อนข้างจะยากจน พระพุทธองค์ทราบวาระจิตของนางจึงรับสั่งให้พระอานนท์ ปูอาสนะลงตรงนั้น ให้ศีลและฉันภัตตาหาร ของนาง เมื่อฉันเสร็จแล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดนาง ทำให้นางปลื้มปิติและตั้งใจฟังธรรมจนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นนางตายไปได้เกิดบนสวรรค์ด้วยอานิสงส์ของการให้ทานข้าวจี่ก้อนนั้น ดังนั้น ชาวอีสานจึงมีความเชื่อว่าหากทำบุญด้วยข้าวจี่จะได้ผลบุญมากหลาย เช่นเดียวกันกับนางปุณณทาสี การให้ทานด้วยข้าวจี่นั้น เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ความยากจนไม่ได้เป็นอุปสรรคในการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ด้วยความที่ภาคอีสานเป็นสังคมเกษตรกรรม อาชีพหลักของชาวอีสานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ซึ่งจัดว่าเป็นสังคมพึ่งตัวเอง ที่ต้องช่วยตัวเองในเกือบทุกด้านมาโดยตลอด ชาวอีสานส่วนใหญ่จึงต้องแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตในครอบครัว ในสังคมของตนตามมี ตามเกิด เท่าที่ธรรมชาติในท้องถิ่นจะอำนวยให้ วิวัฒนาการหรือพัฒนาการทางชีวิตและสังคม จึงค่อนข้างเชื่องช้าอยู่มากพอสมควร การเก็บรักษาข้าวให้อยู่ในสภาพดี ที่พร้อมจะนำมาปรุงอาหาร และแลกเปลี่ยนจึงมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะนั่นหมายถึงความอยู่รอดของชีวิตทุกคนในครอบครัว รูปแบบของการดำเนินชีวิตของชาวอีสานส่วนใหญ่ ชอบบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ชอบใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย อุปนิสัย เป็นคนขยัน อดทนและช่างคิด จึงรวมเอาวิถีชีวิตและภูมิปัญญามาใช้ในการแปรรูปข้าว เมื่อถึงช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จใหม่ ๆ และนำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวสารนำมานึ่ง โดยธรรมชาติ ข้าวใหม่จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ขณะนั่งผิงไฟเพื่อความอบอุ่นของร่างกาย ก็ได้นำเอาข้าวเหนียวนึ่งมาปั้น โรยเกลือ ทาด้วยไข่ไก่ นำมาย่างไฟจากเตาถ่านให้เหลืองเกรียม หอมน่ารับประทาน จึงได้เรียกอาหารชนิดใหม่นี้ว่า “ข้าวจี่” มูลเหตุแห่งการทำบุญข้าวจี่ เมื่อถึงเดือนสามเป็นเวลาที่ชาวบ้านหมดภาระจากการทำงาน จึงร่วมกันทำข้าวจี่ถวายพระสงฆ์ [caption id="attachment_4983" align="aligncenter" width="421"]