นายสุรโชติ ตามเจริญ
ผลงานและรางวัลเกียรติยศที่่ได้รับ “รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๔ พ.ศ. ๒๕๕๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ พ.ศ. ๒๕๖๐ พ.ศ. ๒๕๖๒ และพ.ศ. ๒๕๖๓ ในการ “ชนะเลิศประกดผ้าไหมประเภทโฮลสตรีและโฮลบุรุษ ๓ตะกอ ย้อมสีธรรมชาติ”งานตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย จัดโดยกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และได้รับเชิดชี่เกียรติ “รางวััลนาคราช” ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๕๗ สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ได้รับจากสถาบันวิจัยยศิิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม “รางวัลเพชรพาณิชย์” ผู้ที่รงคุณวุฒิที่ทำคุณประโยชน์แก่กระทรวงพาณิชย์ และเศรษฐกิจการค้าของไทยประจำปี ๒๕๖๑ จากกระทรวงพาณิชย์ ได้รับการยกย่องให้เป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” ประเภทเครื่องทอ (ผ้าโฮลโบราณ์) จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) และ ได้รับเชิดชูเกียรติเป็น “ปราชญ์หม่อนไหม” สาขาการฟอกย้อมสีเส้นไหม(การย้อมครามแบบภูมิปัญญาดั้งเดิม) จากกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากรางวััลและเกียรติคุณ ที่่ได้รับจึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงภูมิรู้ ภูมิปัญญาด้านการทอผ้าโฮลโบราณของนายสุรโชติ ตามเจริญ ได้ดีเป็นอย่างยิ่ง
นายสุรโชติ ตามเจริญ เป็นผู้อุทิศตนเพื่อทำคุณประโยชน์ต่อชน สังคม และประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอุทิศตนเพื่อการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในการทอผ้าโฮลโบราณให้ดำรงอยู่เป็นเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งภูมิปัญญาของกลุ่มวัฒนธรรมเขมรถิ่นไทยในอีสานตอนใต้ การสงวนรักษา อนุรักษ์ พัฒนาและเผยแพร่ทักษะและองค์ความรู้ด้านการทอผ้าโฮลให้แก่ชุมชน สถานศึกษา หน่วยงาน และผู้สนใจ อันเป็นการอุทิศตนและความรู้ เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ท้องถิ่น สร้างการรับรู้ถึงคุณค่าที่่จะสามารถต่ออดไปสู่มูลค่าที่่เพิ่มขึ้นให้แก่ชุมชน การสืบทอดและการพััฒนาการทอผ้าโฮลโบราณให้อยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป นายสุรโชติ ตามเจริญ จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (หัตถกรรมผ้าทอ) พุทธศักราช ๒๕๖๕ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป