ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

โปงลางสินไซร่วมแลกเปลี่ยนอัตลักษณ์อีสานในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 19

มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำวงโปงลางสินไซ คณะศิลปกรรมศาสตร์ร่วมเผยแพร่และแลกเปลี่ยนอัตลักษณ์อีสานในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 19 พร้อมชุดการแสดง “ฟ้อนนาฏดุริยะอศิรวาท” โดยเป็นการแสดงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ผสานอัตลักษณ์อีสาน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ผศ.ธรณัส หินอ่อน รองผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม พร้อมด้วยบุคลากรสำนักวัฒนธรรม คณาจารย์และนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำวงโปงลางสินไซ คณะศิลปกรรมศาสตร์ร่วมเผยแพร่อัตลักษณ์ ศิลปะการแสดง และประเพณีอีสาน ในงาน “ศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 19 : สืบสานวัฒนธรรมนาฏลีลา เฉลิมพระเกียรติพระราชาแห่งแผ่นดิน” เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งวงโปงลางสินไซ คณะศิลปกรรมศาสตร์ นำการแสดงชุด “ฟ้อนนาฏดุริยะอศิรวาท” โดยเป็นการแสดงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ผสมผสานกับการนำเสนออัตลักษ์การฟ้อนและการลำของชาวอีสาน [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="6333,6332,6325,6328,6327,6330,6331,6329"] สำหรับงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา เกิดจากแนวคิดของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในการส่งเสริมและสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ่งเต็มไปด้วยความหลากหลายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีเสน่ห์อยู่ภายในตัวเองที่จะดึงดูดให้ผู้คนได้สัมผัสทั้งด้าน นาฏศิลป์ คีตศิลป์และวิจิตรศิลป์ จึงได้จัดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ซึ่งจัดอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 โดยในปี 2562 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 19 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ มีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า 98 สถาบัน โดยความเป็นศิลปะและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น แสดงให้เห็นถึงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาติพันธุ์ ศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นตามวิถีการดําเนินชีวิตของคนในสังคม ซึ่งประเทศไทยมีศิลปะและวัฒนธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองมาช้านาน เป็นเอกลักษณ์ของชาติความงดงามที่สืบทอดอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต ซึ่งการจัดโครงการศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ถือเป็นเรื่องที่สําคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นการปลูกจิตสํานึกให้เยาวชนรู้สึกเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยและยังถือเป็นการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยเพราะการรักษาสมบัติวัฒนธรรมของชาติก็คือ การรักษาศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของบ้านเมืองนั่นเอง อีกทั้งยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ด้านมรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้กับคนรุ่นหลัง ถือเป็นการสืบสานมรดกภูมิปัญญาให้อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไปให้คงอยู่และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยสืบไป]]>