ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

ศูนย์วัฒนธรรมปลุกไอเดียสร้างสรรค์ตุงอีสานแบบร่วมสมัย

อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ณ พุทธศิลป์สถาน ริมบึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเกียรติจากนายบัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม ร่วมด้วย ผศ.ดร.หอมหวล บัวระภา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผศ.ดร.กษม อมันตกุล อาจารย์ประจำสาขาทัศนศิลป์และการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ นายวิทยา วุฒิไธสง นักวิชาการวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม ร่วมให้ความรู้และแนวคิดในการสร้างสรรค์ โดยมีนักศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมเรียนรู้และออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ โดยร่วมออกแบบตุงอีสานในรูปแบบร่วมสมัย และตุงที่ได้รับการออกแบบจะจัดแสดงและใช้ในการประดับพื้นที่ในงานสีฐานเฟสติวัล ประจำปี 2561 (Sithan KKU Festival 2018) ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2561 ณ ริมบึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="5833,5847,5845,5844,5843,5842,5837,5841,5840,5846,5839,5838,5835,5834,5832"] นายบัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงผลงานการสร้างสรรค์ การประกวดผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม ในโครงการการประกวดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรม มุ่งเน้นนำเสน่ห์ทางวัฒนธรรม ของชุมชนที่แฝงอยู่ในชุมชน ผ่านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างเป็นชิ้นงาน หรือผลิตภัณฑ์ เพื่อการเผยแพร่ รวมทั้งการต่อยอดและรวบรวมองค์ความรู้จากนักสร้างสรรค์ โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยผสานภูมิปัญญาดั้งเดิม เพื่อเพิ่มมูลค่าในแนวคิดเสรษฐกิจสร้างสรรค์ และสร้างความยั่งยืนให้สังคม รวมทั้งใช้ฐานคิดในด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการต่อยอดสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานที่เป็นเอกลักษณ์และมีความร่วมสมัย เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาร่วมสร้างสรรค์ผลงาน และซึมซับคุณค่าของอัตลักษณ์ของชาวอีสาน นายวิทยา วุฒิไธสง นักวิชาการวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม กล่าวว่า การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ในครั้งนี้นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ตุงอีสานในรูปแบบร่วมสมัย แต่คงอัตลักษณ์ของความเป็นอีสาน โดย “ตุง” หรือชาวอีสานเรียกว่า “ธุง” ถือเป็นสิ่งสำคัญที่มักใช้ในงานบุญประเพณีแต่ละเดือนของชาวอีสาน มักจะประดิษฐ์ “ตุง” หรือ “ธุง” หลากหลายรูปแบบและหลากหลายสีสันบนผืนผ้าหรือใช้วัสดุสิ่งอื่นเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณในงานบุญประเพณีแต่ละเดือนของชาวอีสานมักจะประดิษฐ์ “ตุง” หรือ “ธุง” หลากหลายรูปแบบและหลากหลายสีสันบนผืนผ้าหรือใช้วัสดุสิ่งอื่นเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ โดยผลงานจะจนำไปจัดแสดงและตกแต่งในบริเวณงานสีฐานเฟสติวัล ประจำปี 2561 (Sithan KKU Festival 2018) ต่อไป]]>