ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

มข.จัดแสดงละครหุ่นร่วมสมัยสินไซเชื่อมใจสองฝั่งโขง

“การแสดงหุ่นร่วมสมัยสินไซสองฝั่งโขง” เพื่อเผยแพร่ศิลปะการแสดงหุ่นร่วมสมัยเรื่อง “สินไซรู้ใจตน” ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของอาจารย์และนักศึกษาสาขาดนตรีและการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พรรัตน์ ดำรุง เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และภาคีราชบัณฑิต สาขานาฏยกรรม เข้าร่วมเผยแพร่โครงการ ณ นครหลวงเวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 16-18 กันยายน 2561

อาจารย์พชญ อัคพราหมณ์ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า การแสดงหุ่นร่วมสมัยสินไซสองฝั่งโขง เป็นการเผยแพร่ศิลปะการแสดงหุ่นร่วมสมัยเรื่อง “สินไซรู้ใจตน” โดยเป็นผลงานสร้างสรรค์ของอาจารย์และนักศึกษาสาขาดนตรีและการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ใน สปป.ลาว อาทิ ศูนย์วัฒนธรรมเด็ก นครหลวงเวียงจันทน์ คณะละครหุ่นจำปาลาว สมาคมพัฒนาไวหนุ่มผู้ด้อยโอกาส และภาควิชาภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว     [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="5804,5823,5822,5821,5820,5819,5817,5816,5815,5813,5812,5811,5810,5809,5808,5807,5806"] หัวหน้าโครงการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า จุดเริ่มต้นของโครงการเริ่มตั้งแต่การศึกษาและทำการแสดงเกี่ยวกับเรื่อง “สินไซ” มีความคิดในนำการแสดงเรื่องสินไซกลับไปแสดงที่ สปป. ลาว ซึ่งเป็นต้นทางของวรรณกรรมเรื่องสังข์ศิลป์ชัย และละครหุ่นชุดนี้ก็สามารถสานฝันให้สำเร็จได้ การแสดงสินไซจากอีสานได้เดินทางกลับไปยังแผ่นดินลาว ให้เยาวชนและพี่น้องชาวลาวได้รับชม ได้ข้อคิด และสนุกสนาน เรื่องนี้มีการตีความและเล่าเรื่องใหม่ที่แตกต่างจากหลายๆฉบับ จัดแสดงหลายที่ในประเทศไทยทั้งในชุมชนและเวทีระดับนานาชาติ สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทยมาแล้วมากมาย จึงอยากให้หุ่นชุดนี้ได้สร้างแรงบันดาลใจและความสนุกสนานกับเยาวชนชาวลาวด้วยเช่นเดียวกัน

ด้าน ศาสตราจารย์พรรัตน์ ดำรุง เมธีวิจัยอาวุโส กล่าวว่า การแสดงหุ่นสินไซรู้ใจตนเป็นผลงานสร้างสรรค์จากงานวิจัยของอาจารย์พชญที่ได้นำนักศึกษาการละคร คณะศิลปกรรมศาสตร์ ไปฝึกฝนทักษะการแสดงและสร้างสรรค์หุ่นจากศิลปินในชุมชน มีการพัฒนาทั้งในส่วนตัวบทและวิธีนำเสนออย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 2 ปี การนำผลงานไปจัดแสดงให้เยาวชนชาวลาวได้ชมครั้งนี้จึงเป็นโอกาสที่นักศึกษาการละครและดนตรีพื้นบ้าน ม.ขอนแก่น ได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะตนเอง สร้างประสบการณ์ทางศิลปะในประเทศลาว และเยาวชนในประเทศลาวก็ได้เล่นหุ่นและรู้จักดนตรีอีสานด้วย

ผศ.ธรณัส หินอ่อน รองผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า สำหรับ โครงการ “การแสดงหุ่นร่วมสมัยสินไซสองฝั่งโขง” ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมการแสดงทั้งเด็ก เยาวชน นักศึกษา คณาจารย์ และประชาชนในนครหลวงเวียงจันทน์ นอกจากการนำเสนอผลงานการแสดงละครหุ่นเรื่องสินไซรู้ใจตนแล้ว ยังมีกิจกรรมการสร้างสรรค์หุ่นจากเศษวัสดุ และการทำงานแสดงร่วมกับศิลปินละครหุ่นคณะจำปาลาวในฉากการสู้รบระหว่างสินไซ สังข์ทอง สีโห กับยักษ์กุมภัณฑ์ เป็นการแลกเปลี่ยนและสร้างเสริมประสบการณ์ทำงานศิลปะการแสดงหุ่นระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นกับศิลปินในประเทศลาว เป็นการเชื่อมใจของชาวอีสานกับชาวลาวผ่านการแสดงหุ่นร่วมสมัย “สินไซรู้ใจตน” ได้อย่างงดงาม พร้อมเป็นการสร้างเครือข่ายในระดับภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย ภาพโดย อาจารย์พชญ อัคพราหมณ์]]>