ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

ร่วมประชันลีลาเอกลักษณ์ในการประกวดวงดนตรีลูกทุ่ง “ดาวรุ่งลูกทุ่งมอดินแดง” ปี ๖๑ ชิงถ้วยพระราชทานพร้อมรางวัลกว่า ๒.๕ แสนบาท

เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ โดยส่งใบสมัครพร้อม VCD หรือ DVD ที่บันทึกภาพการแสดงสด สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ ๑๒๓ หมู่ ๑๖ ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ ๔๐๐๐๒ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๔๓๒๐ ๒๖๖๓ ประกาศรอบคัดเลือก ๕ วงสุดท้าย วันศุกร์ ที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ทาง http://cac.kku.ac.th และ http://www.kku.ac.th และรอบชิงชนะเลิศ วันอังคาร ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ เวทีกลางแจ้งหอศิลปวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในงานสีฐานเฟสติวัล ๒๕๖๑ (Sithan KKU Festival 2018)

คลิกดาวน์โหลด ใบสมัคร | หลักเกณฑ์การประกวด | โน๊ตเพลงบังคับ

 

สำหรับการประกวดวงดนตรีลูกทุ่ง “ดาวรุ่งลูกทุ่งมอดินแดง” เป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะการแสดงของไทย ทั้งยังเป็นการส่งเสริมเยาวชนให้เกิดความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรม โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ ๑. ประเภทของการประกวด ๑. ประเภทของการประกวดเป็นการประกวดวงดนตรีลูกทุ่ง ระดับมัธยมศึกษา ๒. คุณสมบัติ ๒.๑ สมาชิกในวงจะต้องเป็นนักเรียนกำลังศึกษาอยู่ และมีอายุไม่เกิน ๑๘ ปี (นับปีเกิด พ.ศ.๒๕๔๓) ๒.๒ ส่งประกวดในนามสถานศึกษาและนักแสดงต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาในสถานศึกษานั้นๆ ๓.หลักฐานการสมัคร ๓.๑ ใบสมัคร ๓.๒ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ๓.๓ ประวัติวงดนตรีลูกทุ่งและชุดการแสดงพอสังเขป จำนวน ๖ ชุด ๓.๔ รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว (ภาพสี ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน) ๔. กำหนดการประกวด ๔.๑ รอบคัดเลือก คณะกรรมการจะพิจารณาจาก VCD หรือ DVD (ทั้งนี้นักดนตรีและนักแสดงแต่งกายและจัดรูปแบบการแสดงเสมือนการแสดงจริง) ซึ่งจะคัดเลือกวงที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ จำนวน ๕ วง เพื่อทำการประกวดในรอบชิงชนะเลิศ ๔.๒ รอบชิงชนะเลิศ จะทำการประกวด ในวันอังคาร ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ เวทีกลางแจ้งหอศิลปวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวงลูกทุ่งที่เข้าประกวดต้องรายงานตัวก่อนเวลา ๑๔.๐๐ น. ในวันอังคาร ที่ ๒๐  พฤศจิกายน ๒๕๖๑ และทำการประชุมผู้ควบคุมวงและจับสลากลำดับการแข่งขัน  เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ เวทีกลางแจ้งหอศิลปวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๕. กติกาการประกวด ๕.๑  องค์ประกอบของวงดนตรีลูกทุ่งที่เข้าประกวด  ต้องประกอบด้วย ๕.๑.๑  นักดนตรี  ประกอบด้วย ๒  กลุ่มคือ – กลุ่มเครื่องลม (Horn Section) มี แซ็กโซโฟน  ทรอมโบน  ทรัมเป็ต  เป็นต้น – กลุ่มเครื่องจังหวะ (Rhythm Section) มี กีตาร์  กีตาร์เบส กลองชุด คีย์บอร์ด  เครื่องตี                               ประกอบจังหวะอื่นๆ เป็นต้น ๕.๑.๒  นักร้องนำ  ไม่เกิน ๓  คน ๕.๑.๓  นักแสดงประกอบหรือหางเครื่อง ๕.๑.๔  พิธีกร  ไม่เกิน ๒ คน ทั้งนี้  เมื่อรวมแล้วไม่เกิน ๕๐  คน ๕.๒ เพลงและการแสดงที่ใช้ในการประกวด ๕.๒.๑ เพลงช้า   ๑  เพลง ๕.๒.๒ เพลงเร็ว  ๑  เพลง ๕.๒.๓ การแสดงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ๑ ชุด ๕.๒.๔ เพลงประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น ๑ เพลง โดยเลือกเพลงใดเพลงหนึ่ง ดังนี้ เพลงขวัญมอดินแดง  เพลงนภาขอนแก่น และเพลงร่มกาลพฤกษ์ ๕.๓ การประกวดในรอบชิงชนะเลิศ ให้ใช้เวลาในการประกวด ๓๐ นาที โดยจะเริ่มจับเวลาตั้งแต่เริ่มการประกวดและหยุดเวลาเมื่อการประกวดจบ หากเวลาเกินกำหนดคณะกรรมการตัดสินจะตัดคะแนน นาทีละ ๑ คะแนน จากคะแนนทั้งหมด ทั้งนี้ การประกวดรอบชิงชนะเลิศ วงที่เข้าร่วมการประกวดจะมีเวลาในการเตรียมวง วงละไม่เกิน ๕ นาที และมีเวลาในการเก็บเครื่องดนตรี วงละไม่เกิน ๕ นาที โดยไม่นับรวมเวลาในการประกวด ๕.๔ การแต่งกาย ผู้เข้าร่วมการประกวดจะต้องแต่งกาย ให้สอดคล้องและเหมาะสม ๕.๕ วงที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ จะต้องเตรียมเครื่องดนตรีเพื่อใช้ในการประกวดมาเอง คณะกรรมการจัดการประกวดจะจัดเตรียมเฉพาะเครื่องเสียง ตู้แอมป์ กลองชุด และไมโครโฟน จำนวน ๑๒ ตัว ไว้ให้เท่านั้น ๕.๖ เกณฑ์การตัดสิน การประกวดมีคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน ซึ่งคณะกรรมการตัดสินจะพิจารณาจากองค์ประกอบดังนี้ ๕.๖.๑  ดนตรี ๓๕ คะแนน โดยพิจารณาจาก ความถูกต้องของจังหวะ ทำนอง เทคนิคการบรรเลง แนวการบรรเลง การเรียบเรียงเสียงประสาน และความไพเราะในภาพรวม ตลอดทั้งความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์กับชุดการแสดง ๕.๖.๒  การร้อง ๓๕ คะแนน โดยพิจารณาจาก น้ำเสียง อักขระ ทำนอง จังหวะและเทคนิคการร้อง บุคลิก ลีลาและอารมณ์ ๕.๖.๓  การแสดงหางเครื่อง ๓๐ คะแนน โดยพิจารณาจาก ทักษะการเต้น กระบวนการท่าเต้น/ท่ารำ ความพร้อมเพรียง ลีลาและอารมณ์ ความเหมาะสมของเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ประกอบการแสดง ทั้งนี้เชื่อมโยงกับชุดการแสดง  ความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงประกอบบทเพลง ๕.๗  วงดนตรีลูกทุ่งที่ผ่านการคัดเลือกเข้าประกวดในรอบชิงชนะเลิศจะได้รับเงินสนับสนุนการเดินทาง ทีมละ ๕,๐๐๐  บาท ๕.๘ ทั้งนี้การตัดสินของคณะกรรมการตัดสินการประกวด ให้ถือเป็นที่สิ้นสุด ๖. รางวัลสำหรับการประกวด ๖.๑ รางวัลชนะเลิศ จำนวน ๑ รางวัล ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  พร้อมทุนสนับสนุน เงินรางวัล ๑๐๐,๐๐๐ บาท ๖.๒ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ จำนวน ๑ รางวัล ถ้วยรางวัล พร้อมทุนสนับสนุน เงินรางวัล ๖๐,๐๐๐ บาท ๖.๓ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ จำนวน ๑ รางวัล ถ้วยรางวัล พร้อมทุนสนับสนุน เงินรางวัล ๔๐,๐๐๐ บาท ๖.๔ รางวัลชมเชย จำนวน ๒ รางวัล ถ้วยรางวัล พร้อมทุนสนับสนุน เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท ๖.๕ รางวัลบรรเลงดนตรียอดเยี่ยม ถ้วยรางวัล พร้อมทุนสนับสนุน เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท ๖.๖ รางวัลหางเครื่องยอดเยี่ยม ถ้วยรางวัล พร้อมทุนสนับสนุน เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท ๖.๗ รางวัลนักร้องยอดเยี่ยม ถ้วยรางวัล พร้อมทุนสนับสนุน เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท [gallery td_select_gallery_slide="slide" td_gallery_title_input="บรรยากาศการประกวด ปี ๒๕๖๐" ids="5603,5604,5605,5607"] ๗. การสมัครเข้าประกวด ๗.๑ โดยสามารถส่งใบสมัครพร้อม VCD หรือ DVD ที่บันทึกภาพการแสดงสด ได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันพุธ ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ ในวันและเวลาราชการ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ที่ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือส่งทางไปรษณีย์ได้ที่ ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ ๑๒๓ หมู่ ๑๖ ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ ๔๐๐๐๒ โดยถือเอาวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ http://cac.kku.ac.th และ http://www.kku.ac.th ๗.๒ คณะกรรมการจะดำเนินการคัดเลือกวงดนตรีลูกทุ่งที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศและแจ้งผลการคัดเลือกให้กับสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมการประกวดรับทราบ ภายในวันศุกร์ ที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ โดยสามารถตรวจสอบผลการคัดเลือก ได้ที่ http://cac.kku.ac.th และ http://www.kku.ac.th ๗.๓ ติดต่อขอทราบรายละเอียดการประกวดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทรศัพท์/โทรสาร ๐ ๔๓๒๐ ๒๖๖๓  ๗.๔ เมื่อพ้นกำหนดการรับสมัคร หากหลักฐานการสมัครไม่ครบ ถือว่าวงดนตรีลูกทุ่งที่ส่งเข้าร่วมการประกวด ได้สละสิทธิ์ คณะกรรมการรับสมัคร นางสาวคณิตตา คลังทอง เจ้าหน้าที่บริหารงานวิจัย โทรศัพท์ ๐๘ ๑๗๒๙ ๐๘๑๖ นายณัฐวุฒิ จารุวงศ์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา โทรศัพท์ ๐๘ ๔๙๖๐ ๐๒๖๑]]>