ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

เชิญร่วมสร้างเส้นทางสร้างสรรค์กับมรดกพื้นถิ่นในขอนแก่นกับ KHON KAEN Creative City Route

เชิญร่วมเส้นทางสร้างสรรค์ ผสานกลิ่นไอท้องถิ่น บนความม่วนซื่นแห่งศิลปวัฒนธรรม กับกิจกรรมแห่เทียนพรรษาชุมชนบ้านศรีฐาน (KHON KAEN Creative City Route) | 20 และ 26 กรกฎาคม 61 ณ วัดจอมศรี บ้านศรีฐาน อ.เมือง จ.ขอนแก่น ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับชุมชนบ้านสีฐาน และเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม จัดกิจกรรมสืบสานและต่อยอดศิลปวัฒนธรรมสู่ความสร้างสรรค์อย่างร่วมสมัยในกิจกรรม “แห่เทียนพรรษาชุมชนบ้านศรีฐาน”  พบกับกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นผสานความร่วมสมัยมากมาย วันที่ 20 กรกฎาคม 2561 พบกับ “กิจกรรมทางหัตถกรรมพื้นถิ่น(การหล่อเทียนพรรษา) โดยชุมชน และประกอบพิธีเททองหล่อเทียนพรรษา” วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 พบกับ “กิจกรรมงานบุญประเพณีแห่เทียนพรรษา ขบวนแห่ทางวัฒนธรรม”

————————————–

กำหนดการในกิจกรรมแห่เทียนพรรษาชุมชน บ้านศรีฐาน กำหนดการในกิจกรรมแห่เทียนพรรษาชุมชน บ้านศรีฐาน  โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนวัฒนธรรมสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนขอนแก่นเมืองสร้างสรรค์

(KHON KAEN creative city Route)

วันพฤหัสบดี ที่ 26 กรกฎาคม 2561

เวลา 13.00-16.30 น.

ณ วัดจอมศรี บ้านศรีฐาน อ.เมือง จ.ขอนแก่น …………………………………………………………………

วัน ศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม 2561 กิจกรรมทางหัตถกรรมพื้นถิ่น(การหล่อเทียนพรรษา) โดยชุมชน

09.00 น. ประกอบพิธีเททองหล่อเทียนพรรษา

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2561 กิจกรรมงานบุญประเพณี แห่เทียนพรรษาเวลา

13.00 น.  เตรียมรูปแบบขบวนแห่และการแสดง

13.30 น.  เริ่มแสดงทางวัฒนธรรม ในขบวนแห่เทียนพรรษาเวลา

16.30 น.  ขบวนแห่ถึงวัดจอมศรี บ้านศรีฐานเวลา

17.00 น.  เดินทางกลับมหาวิทยาลัยขอนแก่น

—————————–

สำหรับ โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนศรีฐาน วัฒนธรรมสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนขอนแก่นเมืองสร้างสรรค์ KHON KAEN Creative City Route เป็นการต่อยอดการพัฒนาศักยภาพชุมชนวัฒนธรรมสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนขอนแก่นเมืองสร้างสรรค์ เพื่อสำรวจศักยภาพและความพร้อมของชุมชน 3 ชุมชน (ชุมชนสาวะถี ชุมชนบ้านศรีฐาน ชุมชนบ้านท่าพระ) ในจังหวัดขอนแก่นด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน พร้อมศึกษาหาแนวทางการจัดการพัฒนาศักยภาพชุมชน และจัดทำแผนการบริหารจัดการชุมชนสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนเมืองวัฒนธรรมสร้างสรรค์ โดยมุ่งประโยชน์ให้เกิดรูปแบบหรือแนวทางการจัดการชุมชนสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจะมีความเป็นไปได้สูงในการนำไปปฏิบัติ เนื่องจากเป็นผลงานที่ทุกภาคส่วนในชุมชนร่วมกันศึกษาและจัดทำ จึงมีความสอดคล้องกับบริบทและภูมิสังคมของชุมชน และอยู่บนศักยภาพของพื้นที่และความสามารถในการบริหารจัดการของท้องถิ่น พร้อมสร้างกระบวนการศึกษาอย่างเป็นระบบที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิชาการและภาคีทุกภาคส่วนในชุมชน จะทำให้ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ในการจัดการชุมชนสร้างสรรค์]]>