ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

ศูนย์วัฒนธรรมร่วมเผยแพร่องค์ความรู้พระพุทธรูปไม้อีสาน

ศูนย์วัฒนธรรม (ชื่อเดิม สำนักวัฒนธรรม) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมเผยแพร่ “องค์ความรู้พระพุทธรูปไม้หนึ่งในพุทธศิลป์อีสานในการประชุมวิชาการระดับชาติ “โลกกับธรรม: ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน”

ศูนย์วัฒนธรรม (ชื่อเดิม สำนักวัฒนธรรม) มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดยนายบัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม พร้อมด้วยนายวิทยา วุฒิไธสง นักวิชาการวัฒนธรรม ร่วมเผยแพร่องค์ความรู้อีสานในเรื่อง “พระพุทธรูปไม้อีสาน ฝีไม้ลายมือ บรรพชนคนไท- อีสาน” ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “โลกกับธรรม: ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน” ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561 [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="4732,4739,4737,4736,4731,4733,4730"] “พระพุทธรูปไม้อีสาน ฝีไม้ลายมือ บรรพชนคนไท- อีสาน” เป็นการนำเสนอแนวคิดและองค์ความรู้ของพระพุทธรูปไม้อีสานเป็นสมบัติของบรรพบุรุษที่ได้จงใจจำหลักแกะเกลาตามความสามารถที่มีอยู่ ด้วยศรัทธาอันแรงกล้าต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์และต่อพระสงฆ์และพระสาวก อันเป็นเนื้อนาบุญ แรงศรัทธาได้แสดงออกมาด้วยงานพุทธศิลป์ ที่เรียกว่าพระไม้ อันทรงคุณค่า โดยการแกะสลักไม้ให้เป็นพระพุทธเจ้าของชาวอีสานนั้น เป็นผลจากความเพียรพยายามจากแรงศรัทธาของบรรพบุรุษ ที่ได้สร้างสรรค์ด้วยความเรียบง่าย มุ่งหมายต่อประโยชน์ที่เกิดจากความพอเหมาะพอดีตามสภาพที่พึงมี ก่อให้เกิดความสงบผาสุก ร่มเย็น เป็นผลแห่งศิลปะอันล้ำค่าหาที่เปรียบมิได้ ควรค่าแก่การเก็บรักษา เคารพ กราบไหว้ ภาคภูมิใจตราบชั่วกาลนานเพราะพระไม้เกิดจากลายมือของบรรพชนไทอีสาน สำหรับการประชุมวิชาการระดับชาติ “โลกกับธรรม: ภูมิปัญญาความรู้ในงานพุทธศิลป์อีสาน” ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.เกรียงไกร กิจกเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิด ร่วมด้วยคณะผู้บริหาร นักวิชาการ นักศึกษา รวมทั้งผู้สนใจในองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมของอีสาน โดยการประชุมวิชาการดังกล่าวเป็นความร่วมมือกันของโครงการวิวัฒน์ไทยศึกษานานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคมไทย : ENITS สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สาขาวิชาภาษาไทย และ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในห้นักวิชาการด้านมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิด องค์ความรู้ และการศึกษาค้นคว้าในแง่มมุมของพระพุทธศาสนา และองค์ความรู้ที่เกี่ยวของกับพุทธศิลป์ในอีสาน พร้อมเปิดโอกาสให้นักวิชาการร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและการค้นคว้าในแง่มุมของศาสนาพุทธ ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม และศิลปะพื้นถิ่นในภาคอีสาน รวมถึงการผนวกรวมเข้ากับแนวคิดในภูมิภาคอื่นๆ และแนวคิดร่วมสมัย ขอขอบคุณภาพจาก นายบัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม และนายวิทยา วุฒิไธสง นักวิชาการวัฒนธรรม]]>