ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

พุทธศาสนิกชนตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศลโอกาสวันพ่อแห่งชาติในกิจกรรม "ตักบาตรนุ่งซิ่นวันศีลวันพระ ครั้งที่ ๒๔"

จังหวัดขอนแก่น และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น บุคลากร นักศึกษา ตลอดจนพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมในพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์และรับศีลรับพรเพื่อความเป็นสิริมงคล ทั้งนี้ได้ผนวกเข้ากับพิธีบุญคูนลาน เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสาน อีกด้วย [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="4352,4353,4351,4354,4355,4357,4358,4361,4360,4364,4359,4363,4362"] กิจกรรม “ตักบาตรนุ่งซิ่นวันศีลวันพระ” จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน ในวันพระแรกของเดือน รวมถึงโอกาสสำคัญทางพระพุทธศาสนาและมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชน ชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีโอกาสประกอบกุศลในวันศีลวันพระ พร้อมรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทยนุ่งซิ่น ที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น ในวันศีลวันพระอันแสดงออกถึงความดีงาม สร้างโอกาสทำบุญหรือปฏิบัติกิจทางศาสนา ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีอันดีงามของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทย ที่สำคัญเป็นการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม (Culture and Care Community) ซึ่งมีพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่นใส่ผ้าไทยนุ่งซิ่น ที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น ในวันศีลวันพระอีกด้วย ทั้งนี้บุญลูนลาน หรือ บุญคูนข้าว เป็นหนึ่งในประเพณีอีสาน “ฮีตสิบสอง” เป็นพิธีกรรมฉลองภายหลังจากเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านรู้สึกยินดี ที่ได้ผลผลิตมาก จึงต้องการทำบุญโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ในลานข้าว และในบางแห่ง จะมีการสู่ขวัญข้าวเพื่อฉลองความอุดมสมบูรณ์ กล่าวขอบคุณ แม่โพสพและขอโทษที่ได้เหยียบย่ำ พื้นแผ่นดินในระหว่างการทำนา เพื่อความเป็นสิริมงคลและให้ผลผลิตเป็นทวีคูณในปีต่อไป โดยมีที่มาจากชาวนาเมื่อมีการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จจะหาบฟ่อนข้าวมารวมกันเป็น “ลอนข้าว” ไว้ที่นาของตน ถ้าลอมข้าวของใครสูงใหญ่ก็แสดงให้ผู้คนที่ผ่านไปมารู้ว่านาทุ่งนั้นเป็นนาดี ผู้เป็นเจ้าของก็ดีใจเพื่อเป็นกุศลส่งให้ในปีต่อไปจะได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นอีกเรียกว่า “คูนให้ใหญ่ให้สูงขึ้น” เพราะคำว่า “คูณ” นี้มาจาก “ค้ำคูณ” หมายถึงอุดหนุนให้ดีขึ้น ช่วยให้เจริญขึ้น โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเกษตรศาสตร์ และสำนักวัฒนธรรม เล็งเห็นความสำคัญในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ประเพณีพื้นถิ่นของชาวอีสานให้เกิดขึ้นกับนักศึกษาและเยาวชนตระหนักถึงคุณค่าของเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักและอาชีพดั้งเดิมของชาวอีสานและชาวไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทร. ๐ ๔๓๓๓ ๒๗๖๐ ภายใน ๔๒๓๐๑]]>